[x] ?????????????
 




 

1. โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กศน.ตำบลสุโสะ   
ปีงบประมาณ  2562 (ไตรมาส 1-2)
 

 2. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

ข้อที่ 1.1 ปลูกฝังคุณธรรม สร้างวินัย การมีจิตอาสาและอุดมการณ์ความยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ

-สร้างความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยความเป็นพลเมืองดี

-ปลูกฝังคุณธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะและยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติและการมีจิต

สาธารณะ

ข้อที่ 1.2 ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน

-บูรณาการขับเคลื่อนการทำงานตามแนวทางประชารัฐ ดำเนินโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่ทั้งใน

ระดับตำบลและหมู่บ้าน อำเภอสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนในพื้นที่ทุกระดับ อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน

ข้อที่ 1.3 ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านสังคม การเมือง

-ให้ประชาชนคิดเป็น วิเคราะห์ได้ ติดสนใจภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้อง เช่นความรู้เรื่องการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อันเป็นประมุข/การเลือกตั้ง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ

ข้อที่ 2.1 ยกทักษะอาชีพของประชาชนสู่ฝีมืออาชีพ

-จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน

ข้อที่ 2.2 ใช้เทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

-การทำช่องทางเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนให้เป็นระบบครบวงจร

-สนับสนุนการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ่านศูนย์จำหน่ายสินค้า OOCC ของ กศน.

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

          ข้อที่ 1 พัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพระยะสั้น

                    -ให้มีความหลากหลาย ทันสมัย เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ

สอดคล้องกับมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายใน

     มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ

                   1.2 ผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานมีทักษะกระบวนการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้เรียนรู้อย่าง

ต่อเนื่อง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตการศึกษาต่อเนื่อง

                   1.4 ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพ

                   1.5 ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                   1.6 ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมการศึกษาตามอัธยาศัย

                   1.7 ผู้รับบริการได้รับความรู้และ/หรือประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการการศึกษาตามอัธยาศัย

   มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษาและการให้บริการ

          การศึกษาขั้นพื้นฐาน                   2.1 คุณภาพครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน                   2.2 คุณภาพของหลักสูตรสถานศึกษา 

                   2.3 คุณภาพสื่อตามหลักสูตรสถานศึกษา  2.4 คุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา

          การศึกษาต่อเนื่อง  2.5 คุณภาพวิทยากรการศึกษาต่อเนื่อง  2.6 คุณภาพของหลักสูตรและสื่อการศึกษาต่อเนื่อง 
          2.7 คุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่อง

          การศึกษาตามอัธยาศัย

                   2.8 คุณภาพผู้จัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย      2.9 คุณภาพกระบวนการจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย

    มาตรฐานที่ 3 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษา

                    3.1 การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล

                    3.2 การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของภาคีเครือข่าย

                          3.3 การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา

                    3.4 การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 3หลักการและเหตุผล

          การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมากเพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มบุคคลเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชนโดยใช้แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมทั้งขยายการนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพจาก 3 ทุนได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน นำมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการ เกื้อกูลกัน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้คนในสังคมมีคุณภาพ ก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งแผนการศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการได้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้และสงเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและมีเป้าหมายให้คนไทยเป็นคนดี  เก่ง  มีความสุข มีความรู้เชิงวิชาการ และมีสมรรถนะทางวิชาชีพ  มีคุณธรรมจริยธรรมใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  โดยสำนักงาน กศน.ได้กำหนดหลักการในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำไว้ว่าต้องการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่นด้านหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลใน 5 กลุ่มอาชีพ ได้แก่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พานิชกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงกลุ่มจัดการและการบริการโดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านพัฒนาคุณภาพต่างๆโดยมุ่งพัฒนาคนไทยได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียมกัน สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง

            
 
 
 

 

 

 

 


จากการสำรวจความต้องการ การเรียนรู้ในด้านการประกอบอาชีพ ของกลุ่มเป้าหมายในตำบลสุโสะ จึงได้จัดทำโครงการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถ มีอาชีพ และสร้างอาชีพของผู้เรียนและชุมชนและเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติต่อไป  กศน.ตำบลสุโสะ จึงได้จัดทำโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนขึ้น

4.  วัตถุประสงค์

           4.1 เพื่อให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพและนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัวได้อย่างยั่งยื

4.2 เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป

5.  เป้าหมาย

              5.1 เป้าหมายด้านปริมาณ กลุ่มเป้าหมายได้รับการศึกษาต่อเนื่อง จำนวน  36  คน  

 5.2 เป้าหมายด้านคุณภาพ

 

      5.2.1 ร้อยละ 90 ของผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ

      5.2.2 ร้อยละ 90 กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ ทักษะ และเทคโนโลยีไปใช้ประกอบอาชีพ

และทักษะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์สร้างอาชีพของผู้เรียนและชุมชนที่ครบวงจรในพื้นที่และสร้างรายได้อย่างยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม                                                                         

                                                                      


                   



เข้าชม : 855
 
 
กศน.ตำบลสุโสะ ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านท่าเทศ ม.9 ต.สุโสะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง
สังกัด  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะเหลียน


Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05