[x] ?????????????
 




 

 

 


   


1. ชื่อโครงการจัดกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กศน.ตำบลสุโสะ ไตรมาส 1-2  ปีงบประมาณ 2562 

2. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

ข้อที่ 1.1 ปลูกฝังคุณธรรม สร้างวินัย การมีจิตอาสาและอุดมการณ์ความยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ

สร้างความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยความเป็นพลเมืองดี ปลูกฝังคุณธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะและยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติและการมีจิตสาธารณะ

ข้อที่ 1.2 ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน บูรณาการขับเคลื่อนการทำงานตามแนวทางประชารัฐ ดำเนินโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่ทั้งในระดับตำบลและหมู่บ้าน อำเภอสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนในพื้นที่ทุกระดับ อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน

ข้อที่ 1.3 ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านสังคม การเมือง

ให้ประชาชนคิดเป็น วิเคราะห์ได้ ติดสนใจภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้อง เช่นความรู้เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อันเป็นประมุข/การเลือกตั้ง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ข้อที่ 5.1 ให้ความรู้กับประชาชน การป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ

ภัยพิบัติธรรมชาติ ส่งเสริมให้สถานศึกษาใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลดการใช้ทรัพยากรที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสังคมสีเขียว ส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับการคัดแยก การแปรรูป และการกำจัดขยะรวมทั้งการจัดการมลพิษในชุมชน

ภารกิจต่อเนื่อง ข้อ 1 ด้านการจัดการศึกษาและเรียนรู้

  การศึกษาต่อเนื่อง

ข้อที่ 4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่างๆให้กับประชาชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ตามทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลย์ยั่งยืน

3.สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลโครงการไทยนิยมยั่งยืน  ด้านเศรษฐกิจและสังคม

                    -คนไทยไม่ทิ้งกัน                    -ชุมชนอยู่ดีมีสุข                    -วิถีไทยวิถีพอเพียง

สอดคล้องกับมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายใน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ

                   1.2 ผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานมีทักษะกระบวนการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้เรียนรู้อย่าง

ต่อเนื่อง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตการศึกษาต่อเนื่อง

                   1.4 ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพ

                   1.5 ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                   1.6 ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมการศึกษาตามอัธยาศัย

                   1.7 ผู้รับบริการได้รับความรู้และ/หรือประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ

การศึกษาตามอัธยาศัย

 

มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษาและการให้บริการ

                    การศึกษาขั้นพื้นฐาน

                   2.1 คุณภาพครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                   2.2 คุณภาพของหลักสูตรสถานศึกษา

                   2.3 คุณภาพสื่อตามหลักสูตรสถานศึกษา

                   2.4 คุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา

                    การศึกษาต่อเนื่อง

                   2.5 คุณภาพวิทยากรการศึกษาต่อเนื่อง

                   2.6 คุณภาพของหลักสูตรและสื่อการศึกษาต่อเนื่อง

                   2.7 คุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่อง

                    การศึกษาตามอัธยาศัย

                   2.8 คุณภาพผู้จัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย

                   2.9 คุณภาพกระบวนการจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย

มาตรฐานที่ 3 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษา

                    3.1 การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล

                    3.2 การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของภาคีเครือข่าย

                    3.3 การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา

                   3.4 การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 


เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางการดำรงวิถีชีวิต  ความเป็นอยู่  และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ  ตั้งแต่ระดับครอบครัว  ชุมชน  สังคม  จนถึงระดับรัฐบาลในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกในยุคโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในด้านต่าง ๆ
3. หลักการ และเหตุผล

สำนักงาน กศน.  ได้น้อมรับกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว  มากำหนดเป็นนโยบายสู่ชุมชน  ในการปฏิบัติด้วยวิธีทางการศึกษา  เพื่อให้ชุมชนมีความเข้าใจ  เข้าถึงและพัฒนาในการดำเนินชีวิต  ตามวิถีประชาธิปไตย  โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนเป็นฐานควบคู่กับการปฏิบัติจริง  เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ยั่งยืนและเป็นรูปธรรม

กศน.ตำบลสุโสะ กศน.อำเภอปะเหลียน  ได้สนองนโยบายดังกล่าว  โดยจัดทำโครงการจัดการกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขึ้น  เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรม  เข้มแข็ง  และยั่งยืนต่อไป

4. วัตถุประสงค์

1. เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ชุมชน โดยการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติจริง        

2.เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการประกอบอาชีพ  การดำเนินชีวิต  แบบพออยู่พอกิน  ลดรายจ่าย  เพิ่ม

รายได้และมีความเอื้ออาทรต่อกัน มีศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน


 

          
เป้าหมายเชิงปริมาณ 
5. เป้าหมาย

-  ประชาชนในตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน   จำนวน  9  คน

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

          -  กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัวและสังคมได้


 
             

                                                                                                                                                           


 
                           
                

 

         

 



เข้าชม : 718
 
 
กศน.ตำบลสุโสะ ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านท่าเทศ ม.9 ต.สุโสะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง
สังกัด  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะเหลียน


Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05