2. นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2563
สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ข้อ 1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
ข้อที่ 1.1 พัฒนาและเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ โดยปลูกฝังและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ รณรงค์เสริมสร้างความรักและความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและชาติไทย น้อมนำและเผยแพร่ศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐ์กิจพอเพียงรวมถึงแนวทางพระราชดำริต่างๆ
ข้อที่ 1.2 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และการมีส่วนร่วมอย่างถูกต้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในบริบทของไทย มีความเป็นพลเมืองดี ยอมรับและเคารพความหลากหลายทางความคิดและอุดมการณ์
ข้อที่ 1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ทั้งยาเสพติด การค้ามนุษย์ ภัยจากไซเบอร์ ภัยพิบัติจากธรรมชาติ โรคอุบัติใหม่ ฯลฯ
ข้อที่ 1.4 ยกระดับคุณภาพการศึกษาและเสริมสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษา การพัฒนาทักษะ การสร้างอาชีพ และการใช้ชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ชายแดนอื่นๆ
ข้อที่ 1.5 สร้างความรู้ ความเข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านยอมรับและเคารพในประเพณี วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และชาวต่างชาติที่มีความหลากหลายในลักษณะพหุสังคมที่อยู่ร่วมกัน
ข้อ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร
3.8 เตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้ประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักถึงการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ( Aging Society ) มีความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัย รวมทั้งเรียนรู้และมีการส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน
2) พัฒนาจัดบริหารการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับประชาชนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
3) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุภายใต้แนวคิด “Active Aging “การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาทักษะ ให้สามารถดูแลตนเองทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต และรู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
4) สร้างความตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ และให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านต่างๆ ในชุมชน เช่น ด้านอาชีพ กีฬา ศาสนาและวัฒนธรรม
5) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
สอดคล้องกับมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายใน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ
การศึกษาต่อเนื่อง
1.4 ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพ
1.5 ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.6 ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
การศึกษาตามอัธยาศัย
1.7 ผู้รับบริการได้รับความรู้และ/หรือประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการการศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ
การศึกษาต่อเนื่อง
2.5 คุณภาพวิทยากรการศึกษาต่อเนื่อง
2.6 คุณภาพของหลักสูตรและสื่อการศึกษาต่อเนื่อง
2.7 คุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่อง
มาตรฐานที่ 3 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษา
3.1 การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล
3.2 การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของภาคีเครือข่าย
3.3 การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา
3.4 การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
3. หลักการและเหตุผล
ตามนโยบายและจุดเน้น ของสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กลุ่มเป้าหมายให้กับผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ภายใต้แนวคิด “Active Aging “การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาทักษะ ให้สามารถดูแลตนเองทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต และรู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี การสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ และให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านต่างๆ ในชุมชน เช่น ด้านอาชีพ กีฬา ศาสนาและวัฒนธรรมและจัดการศึกษาอาชีพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
กศน.ตำบลสุโสะ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะเหลียน ได้สำรวจข้อมูลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับผู้สูงอายุได้เรียนรู้ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาบริหารจัดการชีวิตตนเองได้ 4.วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงตามวัยรวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัย ตลอดจนมีสุนทรียภาพที่ดี
4.2 เพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้มีความคิดสร้างสรรค์ และมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นที่ดี
5. เป้าหมาย
5.1 เป้าหมายด้านปริมาณ กลุ่มเป้าหมายได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 22 คน
5.2 เป้าหมายด้านคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพร่างกายตนเองให้แข็งแรงตามวัย ตลอดจนมีสุนทรียภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นดีกว่าเดิม