[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

  

บทความทั่วไป
พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พุธ ที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2558

คะแนน vote : 150  

 สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก

 

   เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวฑฺฒนมหาเถรเป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรีมีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่  ตุลาคม .๒๔๕๖  เวลาประมาณ ๐๔.๐๐ เศษ (นับอย่างปัจจุบันเป็นวันที่  ตุลาคมตรงกับวันศุกร์ ขึ้น  ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู  ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พระชนกชื่อ นายน้อยคชวัตร พระชนนีชื่อ นางกิมน้อย คชวัตร

        บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จ  มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ เพราะมาจาก  ทิศทาง กล่าวคือ พระชนกมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง ส่วนพระชนนีมี เชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่ง จากจีนทางหนึ่ง

        นายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่หลานย่าของหลวงพิพิธภักดีและนางจีน หลวงพิพิธภักดีนั้นเป็นชาวกรุงเก่าเข้ามารับราชการในกรุงเทพ  ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยาคราวหนึ่ง และเป็นผู้หนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า  ให้ไปคุมเชลยศึก ที่เมืองพระตะบอง คราวหนึ่ง หลวงพิพิธภักดีได้ภรรยาเป็นชาวไชยา คนชื่อทับคนหนึ่ง ชื่อนุ่นคนหนึ่ง และได้ภรรยาเป็นชาวพุมเรียงอีกคนหนึ่งชื่อแต้ม ต่อมา เมื่อครั้งพวกแขกยกเข้าตีเมืองตรัง เมืองสงขลาของไทย เมื่อ .๒๓๘๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า  ให้พระยาศรีพิพัฒน์(ทัด ซึ่งต่อมาได้เป็นที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ในรัชกาลที่ เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบปราม หลวงพิพิธภักดีได้ไปในราชการทัพครั้งนั้นด้วย และไปได้ภรรยาอีกหนึ่งชื่อจีน ซึ่งเป็นธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง (สนเป็นหลานสาวของพระตะกั่วทุ่ง หรือพระยาโลหภูมิพิสัย (ขุนดำ ชาวเมืองนครศรีธรรมราชต่อมาหลวงพิพิธภักดี ได้พาภรรยาชื่อจีนมาตั้งครอบครัวอยู่ในกรุงเทพ  และได้รับภรรยาเดิมชื่อแต้ม จากพุมเรียงมาอยู่ด้วย (ส่วนภรรยาอีก  คนได้ถึงแก่กรรมไปก่อน)

        เวลานั้น พี่ชายของหลวงพิพิธภักดี คือพระยาพิชัยสงคราม เป็นเจ้าเมืองศรีสวัสดิ์กาญจนบุรี และมีอาชื่อ พระยาประสิทธิสงคราม (ขำเป็นเจ้าเมืองกาญจนบุรี ต่อมาหลวงพิพิธภักดีลาออก จากราชการและได้พาภรรยาทั้ง  คนมาตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี

        กล่าวกันว่า หลวงพิพิธภักดีนั้นเป็นคนดุ เมื่อเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยา เคยเฆี่ยนนักโทษตายทั้งคา เป็นเหตุให้หลวงพิพิธภักดีเกิดสลดใจลาออกจากราชการ แต่บางคนเล่าว่า เหตุที่ทำให้หลวงพิพิธภักดีต้องลาออกจากราชการนั้น ก็เพราะเกิดความเรื่องที่ได้ธิดา พระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ชื่อจีนมาเป็นภรรยานั่นเอง

        เมื่อพี่ชายคือพระพิชัยสงคราม ทราบว่าหลวงพิพิธภักดีอพยพครอบครัวมาอยู่ที่เมือง กาญจนบุรี ก็ได้ชักชวนให้ เข้ารับราชการอีก แต่หลวงพิพิธภักดีไม่สมัครใจ และ ได้ทำนาเลี้ยงชีพต่อมา

        นายน้อย คชวัตร ได้เรียนหนังสือตลอดจนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ  พรรษาอยู่ในสำนักของ พระครูสิงคบุรคณาจารย์(สุดเจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านพระครูสิงคบุรคณาจารย์ นั้น เป็นบุตรคนเล็กของหลวงพิพิธภักดีกับนางจีน เป็นอาคนเล็กของนายน้อย เมื่อลาสิกขาแล้ว นายน้อยได้เข้ารับราชการ เป็นเสมียนสังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่เมืองกาญจนบุรี และได้แต่งงานกับนางกิมน้อยในเวลาต่อมา

        นางกิมน้อย มาจากบรรพชนสายญวนและจีน บรรพชนสายญวนนั้นได้อพยพเข้ามา เมืองไทยในสมัยรัชกาลที่  เมื่อครั้งเจ้าพระยาบดินเดชา (สิงห์ ต้นตระกูลสิงหเสนียกทัพ ไปปราบจราจลเมืองญวน ได้ครอบครัวญวนส่งเข้ามาถวาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า  ให้พวกญวนที่นับถือพระพุทธศาสนาไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ กาญจนบุรี เมื่อปลายปี .๒๓๗๒  เพื่อทำหน้าที่รักษาป้อมเมือง ส่วนพวกญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ให้ไป ตั้งบ้านเรือน อยู่กับพวกญวนเข้ารีดที่เมืองสามเสนในกรุงเทพ  บรรพชนสายญวนของนางกิมน้อย เป็นพวกญวนที่เรียกว่า ญวนครัว

        ส่วนบรรพชนสายจีนนั้น ได้โดยสารสำเภามาจากเมืองจีน และได้ไปตั้งถิ่นฐานทำการค้า อยู่ที่กาญจนบุรี

        นางกิมน้อยเป็นบุตรีนายทองคำ (สายญวนกับนางเฮงเล็ก แซ่ตัน (สายจีนเกิดที่ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง กาญจนบุรี เมื่อแต่งงานกับนายน้อยแล้ว ได้ใช้ชื่อว่าแดงแก้ว แต่ต่อมาก็กลับไปใช้ชื่อเดิม คือกิมน้อย หรือน้อยตลอดมา

        นายน้อย คชวัตร เริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียน แล้วเลื่อนขึ้นเป็นผู้รั้งปลัดขวาแต่ต้องออก จากราชการเสียคราวหนึ่งเพราะป่วยหนัก หลังจากหายป่วยแล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่ เป็นปลัดขวาอำเภอวังขนาย กาญจนบุรี ต่อมาได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายงอก จึงกลับมารักษาตัวที่ บ้านกาญจนบุรีและได้ถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุเพียง ๓๘ ปี ได้ทิ้งบุตรน้อย  ให้ภรรยาเลี้ยงดู  คน คือ

        .  เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ คชวัตร)

        .  นายจำเนียร คชวัตร

        .  นายสมุทร คชวัตร (ถึงแก่กรรมแล้ว)

        สำหรับเจ้าพระคุณสมเด็จ  นั้น ป้าเฮง ผู้เป็นที่สาวของนางกิมน้อย ได้ขอมาเลี้ยงตั้งแต่ ยังทรงพระเยาว์ และทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของป้าเฮงมาตลอดจนกระทั่ง ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ป้าเฮ้งได้เลี้ยงดูเจ้าพระคุณสมเด็จ  ด้วยความถนุถนอมเอาใจเป็นอย่างยิ่งจนพากันเป็นห่วงว่า จะทำให้เสียเด็ก เพราะเลี้ยงแบบตามใจเกินไป

        ชีวิตในปฐมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ  นับว่าเป็นสุขและอบอุ่น เพราะมีป้าคอยดูแล เอาใจใส่อย่างถนุถนอม ส่วนที่นับว่าเป็นทุกข์ของชีวิตในวัยนี้ก็คือ ความเจ็บป่วยออดแอดของร่างกาย ในเยาว์วัยเจ้าพระคุณสมเด็จ  ทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ จนคราวหนึ่งทรงป่วยหนักถึงกับ        ญาติ  พากันคิดว่าคงจะไม่รอดและบนว่าถ้า หายป่วยจะให้บวชแก้บน เรื่องนี้นับเป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จ  ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา

        พระนิสัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ  เมื่อเยาว์วัยนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นบุพพนิมิตหรือเป็นสิ่ง แสดงถึงวิถีชีวิต ในอนาคตของพระองค์ได้อย่างหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อทรงพระเยาว์พระนิสัยที่ทรงแสดง ออกอยู่เสมอได้แก่การชอบเล่นเป็นพระ หรือเล่นเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เล่นสร้างถ้ำก่อเจดีย์ เล่นทอดผ้าป่าทอดกฐิน เล่นทิ้งกระจาด แม้ของเล่นก็ชอบทำของเล่นที่เกี่ยวกับพระ เช่น ทำคัมภีร์เทศน์เล็ก  ตาลปัตรเล็ก  (คือพัดยศเล็ก )

        พระนิสัยที่แปลกอีกอย่างหนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จ  เมื่อเยาว์วัยคือ ทรงชอบเล่นเทียน เนื่องจาก ป้าต้องออกไปทำงานตั้งแต่ยังไม่สว่าง เจ้าพระคุณสมเด็จ  จึงต้องพลอยตื่นแต่ดึกตาม ป้าด้วยแล้วไม่ยอมนอนต่อ ป้าจึงต้องหาของให้เล่น คือหาเทียนไว้ให้จุดเล่น เจ้าพระคุณสมเด็จ  ก็จะจุดเทียนเล่นและนั่งดูเทียนเล่นอยู่คนเดียวจนสว่าง

        พระนิสัยในทางไม่ดีก็ทรงมีบ้างเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป ดังที่ทรงเคยเล่าว่าเมื่อเยาว์วัยก็ทรงชอบเลี้ยงปลากัด ชนไก่ และบางครั้งก็ทรงหัดดื่มสุรา ดื่มกระแช่ไปตามเพื่อน แต่พระนิสัยในทางนี้มีไม่มากถึงกับจะทำให้กลายเป็นเด็กเกเร

        เมื่อพระชนมายุได้  ขวบ เจ้าพระคุณสมเด็จ  จึงเริ่มเข้าโรงเรียน คือโรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม ซึ่งใช้ศาลาวัดเป็นโรงเรียน จนจบชั้นประถม เท่ากับจบชั้นประถม ศึกษาในครั้งนั้น หากจะเรียนต่อชั้นมัธยมจะต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียน มัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด สุดท้ายทรงตัดสินพระทัย เรียนต่อชั้นประถม  ซึ่งจะเปิดสอนต่อไปที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามนั้น แล้วก็จะเปิดชั้นประถม  ต่อไปด้วย (เทียบเท่า . และ . แต่ไม่มีเรียนภาษาอังกฤษในระหว่างเป็นนักเรียน ทรงสมัครเป็นอนุกาชาดและลูกเสือ ทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอก ทรงจบการศึกษาชั้นประถม  เมื่อ .๒๔๖๘  พระชนมายุ ๑๒ พรรษา

        หลังจากจบชั้นประถม  แล้ว ทรงรู้สึกว่ามาถึงทางตัน ไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่า จะไปเรียนที่ไหน เพราะขาดผู้นำครอบครัวที่จะเป็นผู้ช่วยคิดช่วยแนะนำตัดสินใจทรงเล่าว่า เมื่อเยาว์วัยทรงมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสิน พระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

บรรพชาอุปสมบท

        ในปีรุ่งขึ้นคือ .๒๔๖๙  น้าชาย  คนจะบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆาราม พระชนนีและป้าจึงชักชวน เจ้าพระคุณสมเด็จ  ซึ่งขณะนั้นพระชนมายุย่าง ๑๔ พรรษา ให้บวช เป็นสามเณรแก้บนที่ค้างมาหลายปีแล้วให้เสร็จเสียที เจ้าพระคุณสมเด็จ  จึงตกลงพระทัย บวชเป็นสามเณรที่วัด         ทวสังฆารามในปีนั้น  โดยพระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทธโชติเจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม  ซึ่งเรียกกันว่า  หลวงพ่อวัดเหนือ เป็นพระอุปัชณาย์ (สุดท้าย ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษีพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณณโชติเจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม ซึ่งเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดหนองบัว เป็นพระอาจารย์ ให้สรณะและศีล

        ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณร เจ้าพระคุณสมเด็จ  ไม่เคยอยู่วัดมาก่อน เพียงแต่ไปเรียนหนังสือที่วัด จึงไม่ทรงคุ้นเคยกับพระรูปใดในวัด แม้หลวงพ่อวัดเหนือผู้เป็น พระอุปัชณาย์ของพระองค์ก็ไม่ทรงคุ้นเคยมาก่อน ความรู้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องวัด ก็ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกันนอกจากการไปวัดในงานเทศกาล การไปทำบุญที่วัดกับป้า และเป็น เพื่อนป้าไปฟังเทศน์เวลากลางคืนในเทศกาลเข้าพรรษาซึ่งที่วัดเหนือมีเทศน์ทุกคืนตลอด พรรษา ทรงเล่าว่า ถ้าพระเทศน์เรื่องชาดก ก็รู้สึกฟังสนุก เมื่อถึงเวลาเทศน์ก็มักจะเร่งป้าให้รีบไปฟัง แต่ถ้าพระเทศน์ธรรมะก็ทรงรู้สึกว่าไม่รู้เรื่อง และเร่งป้าให้กลับบ้าน กล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ  เมื่อทรงพระเยาว์นั้นแทบจะไม่เคยห่างจากอกของป้าเลย ยกเว้นการไปแรมคืนในเวลา เป็นลูกเสือบ้างเท่านั้น ในคืนวันสุดท้ายก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ป้าพูดว่า คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะหลังจากทรงบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ไม่ทรงมีโอกาส กลับไปอยู่ในอ้อมอกของป้าอีกเลยจนกระทั่งป้าเฮง ถึงแก่ กรรมเมื่อ .๒๕๐๗ 
      
กล่าวได้ว่า ชีวิตพรหมจรรย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นเริ่มต้นจากการบวชแก้บน เมื่อทรงบรรพชาแล้ว ก็ทรง อยู่ในความปกครองของหลวงพ่อวัดเหนือ และทรงเริ่มคุ้นเคย กับหลวงพ่อมากขึ้นเป็นลำดับ

      พรรษาแรกแห่งชีวิตพรหมจรรย์  วัดเทวสังฆาราม เจ้าพระคุณสมเด็จ   ยังไม่ได้เล่าเรียนอะไร มีแต่ท่อง สามเณรสิกขา (คือข้อ พึงปฏิบัติสำหรับสามเณรและ ท่องบททำวัตรสวดมนต์เท่านั้น ส่วนกิจวัตร ก็คือการปฏิบัติรับ ใช้หลวงพ่อ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ มีสิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อสอน ในระหว่างที่ทำ อุปัชฌาย์วัตร (คือการปฏิบัติรับ ใช้พระอุปัชฌาย์ก็คือ การต่อเทศน์แบบที่เรียกกันว่า ต่อหนังสือค่ำ อันเป็นวิธีการ เรียนการสอนอย่างหนึ่งในสมัยโบราณ กล่าวคือ เมื่อเข้าไปทำอุปัชฌาย์วัตรในตอนค่ำ มีการบีบนวดเป็นต้น หลวงพ่อก็จะอ่าน เทศน์ให้ฟังคืนละตอน แล้วท่องจำตามคำ อ่านของท่าน ทำต่อเนื่องกันไปทุกคืนจนจำได้ทั้งกัณฑ์กัณฑ์เทศน์ที่หลวงพ่อ ต่อให้คือ เรื่องอริยทรัพย์ ๗ ประการ เมื่อทรงจำได้คล่องแล้ว หลวงพ่อก็ให้ขึ้นเทศน์ปากเปล่า ให้ญาติโยมฟัง ในโบสถ์คืนวัน พระวันหนึ่งในพรรษานั้น หลังจากเทศน์ ให้ญาติโยมฟังแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จ  ยังทรงบันทึกเทศน์ กัณฑ์นี้ ไว้ในสมุดบันทึกส่วนพระองค์ด้วย

ครั้นออกพรรษาแล้ว ก็ยังเพลินอยู่ในชีวิตพรหมจรรย์ หลวงพ่อจึงชักชวนให้ไปเรียนภาษาบาลี คือเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดเสน่หา ในจังหวัดนครปฐม หลวงพ่อบอกว่า เพื่อว่าต่อไปจะ ได้กลับมาสอนที่วัดเทวสังฆาราม และจะสร้างโรงเรียน พระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ เมื่อสามเณร และญาติโยมยินยอม หลวงพ่อจึงได้พาเจ้าพระคุณสมเด็จ  ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ)เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมือวันที่ ๒๐ มิถุนายน ..๒๔๗๐  เจ้าพระคุณสมเด็จ  จึงได้เริ่มเรียนบาลี ไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา ในพรรษาศกนั้น โดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพ  ไปเป็นอาจารย์สอน เมื่อออกพรรษาแล้ว อาจารย์สอนภาษาบาลีที่วัดเสน่หาเห็นแววของเจ้าพระคุณสมเด็จ  ว่าจะเจริญก้าวหน้าในทางการศึกษาต่อไป จึงชักชวนให้เจ้าพระคุณสมเด็จ  ไปอยู่วัดมกุฎกษัตริยาราม เพื่อจักได้เล่าเรียนได้สูง  ยิ่งขึ้นไป และอาจารย์ท่านนั้นก็ได้ติดต่อทางวัดมกุฎกษัตริย์ไว้ให้เรียบร้อยแล้วด้วย แต่เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จ  นำเรื่องนี้ไปปรึกษาหลวงพ่อที่วัดเหนือ หลวงพ่อไม่เห็นด้วย เพราะหลวงพ่อคิดไว้ว่าจะพา เจ้าพระคุณสมเด็จ  ไปฝากไว้ที่วัด บวรนิเวศวิหารอยู่แล้ว จึงเป็นอันยกเลิกที่จะไปอยู่วัดมกุฎกษัตริย์ เจ้าพระคุณสมเด็จ  จึงอยู่ จำพรรษาเรียนบาลีต่อไปที่วัดเสน่หาอีกหนึ่งพรรษา

        ..๒๔๗๒ หลังออกพรรษาแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จ  ได้กลับไปพัก  วัดเทวสังฆาราม ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเตรียมตัวเข้าไปอยู่กรุงเทพ 

        วันที่  มิถุนายน ..๒๔๗๒  หลวงพ่อวัดเหนือได้พาเจ้าพระคุณสมเด็จ โดยสารรถไฟ จากกาญจนบุรี มากรุงเทพ  แล้วพาไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วนำเจ้าพระคุณสมเด็จ  ขึ้นเฝ้าถวาย ตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จ พระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศ วิหารต่อไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า  ได้ทรงพระเมตตารับไว้ และทรงมอบให้อยู่ในความปกครองของพระครูพุทธมนต์ปรีชา (เฉลิม  โรจนศิริ ภายหลังลาสิกขาหลังจากทรงเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ไม่นาน ทรงปฏิบัติตามกฎกติกาของวัดครบถ้วนแล้ว ก็ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราช    เจ้า  ว่า สุวฑฒโน ซึ่งมีความหมายว่า ผู้เจริญดี

        เจ้าพระคุณสมเด็จ  ได้ทรงบันทึกเล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ของพระองค์ไว้อย่างน่าสนใจยิ่งบันทึกของพระองค์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พระองค์ประสบ ความสำเร็จในช่วงต้นของชีวิตพรหมจรรย์และการศึกษาก็เพราะทรงได้พระอาจารย์และผู้ปกครองที่ดี พระอาจารย์ของพระองค์ในช่วงนี้ก็คือ พระครูพุทธมนต์ปรีชา (เฉลิมส่วนผู้ปกครองของพระองค์ ในช่วงนี้ก็คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ดังที่ทรงกล่าวถึงท่านทั้งสองไว้ว่า พระครูพุทธมนต์ปรีชาเป็นผู้มีกิริยาวาจาอ่อนหวาน ใจแข็ง รู้จักกาละเทศะ รู้จักการควรไม่ควร มีเชาว์ไวไหวพริบ มีคารวะต่อผู้ใหญ่ ไม่ตีตัวเสมอแม้กับผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยเป็นกันเอง รู้จักพูดให้ผู้ใหญ่เชื่อ เมื่อถึงคราวต้องเป็นหัวหน้าจัดการงาน วางตนเป็นผู้ใหญ่เต็มที่สมแก่ฐานะมีความสามารถ ในการจัดการงานให้สำเร็จ ฉลาดในการปฏิสันถารในการทำงาน จะไม่ปล่อยให้ศิษย์ทำในสิ่งที่ ไม่แน่ใจว่าศิษย์จะทำได้ดีเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น กับศิษย์ของตน แนะนำสั่งสอน ศิษย์ให้รู้จักวางตัวให้พอเหมาะ ยกย่องศิษย์ให้เป็นที่ปรากฏในหมู่เพื่อนฝูง กล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นผู้มีน้ำใจและมีสัปปุริสธรรม ควรเอาเป็นแบบอย่างในทางดีได้

        ส่วนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า  นั้น ทรงมีพระเมตตาต่อภิกษุสามเณรทั่วไป โดยเฉพาะสามเณร ที่มาจากบ้านนอกดูจะมีพระเมตตาเป็นพิเศษ สามเณรทุกรูปจะต้องถูกจัดเวรอยู่ ปฏิบัติถวายงานสมเด็จพระสังฆราชเจ้า  สับเปลี่ยนกันไปทุกวัน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า  ทรงมีวิธีที่จะฝึกสอนสามเณรให้มีความรู้ความฉลาดในเรื่องต่าง  ด้วยพระเมตตาเสมอ เช่น ทรงฝึกให้สามเณรอ่านหนังสือพิมพ์ หากสามเณรรูปใดอ่านไม่คล่องหรือไม่ถูก ก็จะทรงอ่าน ให้ฟังเสียเอง ทรงฝึกให้สามเณรหัดคิด หัดสังเกต และหัดทำสิ่งต่าง ที่จะเป็นการฝึกความเฉลียวฉลาด หากสามเณรทำผิดหรือทำไม่ถูก พระองค์ก็จะทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เจ้าพระคุณสมเด็จ  ก็ทรงถูกฝึกในลักษณะดังกล่าวนี้อยู่บ่อย  เช่นทรง       เล่าว่า ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า  รับสั่งให้เอากระดาษทำลองข้างในขวด แต่เจ้าพระคุณ     สมเด็จ  ไม่เข้าพระทัย เอากระดาษไปรองก้นขวด พอทอดพระเนตรเห็นเข้าก็รับสั่งว่า เณรนี่ก็โง่เหมือนกัน แล้วก็ทรงทำให้ดู

        จากการแนะนำสั่งสอนและการปฏิบัติพระองค์และปฏิบัติตนให้เห็นเป็นตัวอย่างของพระอาจารย์ทั้งสองท่านดังกล่าวแล้ว ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จ  รู้จักคิดรู้จักสังเกตและจดจำ เอามาเป็นเยี่ยงอย่างในการพัฒนาพระองค์เอง
ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ เว็บไซต์วัดบวรนิเวศวิหาร 
http://www.watbowon.com/Monk/ja/06
กฤษฎา บิลเกษม ครูอาสาสมัครฯ กศน.อำเภอกันตัง รายงาน

บาคาร่า

เข้าชม : 1496


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      แหล่งท่องเที่ยวอันซีนแห่งใหม่ของจ.ตรังเป็น “สันหลังมังกร” 5 / ก.พ. / 2559
      พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 16 / ธ.ค. / 2558
      พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ 7 / ส.ค. / 2558
      พระราชประวัติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 / ก.พ. / 2558
      เลี้ยงไก่ไข่ด้วยอีแวป...ทำไบโอแก๊สลดค่าใช้จ่าย 3 / ธ.ค. / 2551


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง
ถนนตรังคภูมิ  ตำบลกันตัง  อำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง 92110 โทรศัพท์ 075-252726 โทรสาร 075-252755 

kantang nfe@gmail.com
สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05