โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
เมล็ดฟักทองมีสารชื่อ คิวเคอร์บิติน (cucurbitine) มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวตืดได้ เตรียมได้จากเมล็ดฟักทองประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตก ผสมกับน้ำตาล นม และน้ำเติมลงไปจนได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร
แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมง หลังจากให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมงให้รับประทานยาระบายน้ำมันละหุ่ง 2 ช้อนโต๊ะ ส่วนเนื้อฟักทองมีแป้งและน้ำตาลประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ เส้นใย 1 เปอร์เซ็นต์ และมีวิตามินซีในปริมาณสูง นอกจากนั้นยังมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่สูงมากเช่นกัน
ฟักทองเป็นพืชตระกูลมะระ จัดเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยตามดิน ยาว 5-12 เมตร เถา ก้านใบ แผ่นใบ ก้านดอก กลีบเลี้ยง และผลอ่อนมีขนยาว ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เว้าเป็นหยัก ดอกเดี่ยว ดอกตัวผู้กับตัวเมีย แยกกันแต่อยู่ในเถาเดียวกัน ผิวผลเมื่อยังอ่อนออกสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวสลับเหลือง ผิวขรุขระ เปลือกแข็ง เนื้อในสีเหลือง ไส้เส้นใยสีเหลืองนิ่ม มีเมล็ดสีขาวแบน ๆ ติดอยู่จำนวนมาก
แนะนำส่วนผสมของน้ำฟักทอง
- ฟักทองนึ่งสุก 1 ถ้วย
- น้ำสะอาด 3 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 100 กรัม หรือน้ำเชื่อม 1 ถ้วยตวง
- เกลือป่น
วิธีทำ
ปอกเปลือกฟักทอง นึ่งให้สุก ใส่เครื่องปั่นเติมน้ำ ปั่นให้ละเอียด เทใส่ภาชนะนำไปตั้งไฟ เติมน้ำตาลทราย เกลือป่น ชิมรสตามใจชอบ กรองด้วยผ้าขาวบางใส่หม้อตั้งไฟพอเดือด ยกลง จะได้น้ำฟักทองสีเหลือง มีรสหวานมัน เทใส่ขวด นำไปแช่เย็น หรือนำฟักทองไปนึ่งให้สุก แล้วนำมาใส่เครื่องปั่น เติมน้ำ แล้วปั่นให้ละเอียด นำไปตั้งไฟต้มจนเดือด เติมน้ำเชื่อม และเกลือลงไป ชิมรส เมื่อได้รสชาติตามชอบแล้วยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง เราก็จะได้น้ำฟักทองสีเหลืองน่ารับประทาน
คุณค่าทางโภชนาการ
- เนื้อฟักทอง มีวิตามินเอสูงมาก มีฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง สารสีเหลืองและโปรตีน
- ใบอ่อน มีวิตามินเอสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ
- ดอก มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย
- เมล็ด มีน้ำมัน แป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน
สรรพคุณ
- เมล็ด ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ และบำรุงร่างกาย
- ราก บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถ่อนพิษของฝิ่น
- น้ำมันจากเมล็ด บำรุงประสาท
- เยื่อกลางผล พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
ในทางโหราศาสตร์ได้จัดแบ่งราศีเกิดของคนเราตามการหมุนของดวงอาทิตย์ไว้ 12 ราศี แต่ละราศีจะเป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตของแต่ละคน และมีผลต่อร่างกายของคนเรา ซึ่งประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ บุคคลแต่ละคนจะมีธาตุหนึ่งธาตุใดในร่างกายเด่นชัดออกมา และจะแสดงออกเป็นบุคลิก นิสิยใจคอ อารมณ์ รวมทั้งพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลได้
ธาตุดิน ได้แก่ผู้ที่เกิดราศีพฤษภ ราศีกันย์ และราศีธนู มักจะชอบดื่มน้ำผักและผลไม้ที่มีรสฝาด รสหวาน รสมัน และรสเค็ม
- รสฝาด เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะตูม น้ำกระท้อน น้ำมะกอก น้ำมะขามป้อม น้ำลูกหว้า
- รสหวาน เช่น น้ำแตงโม น้ำมะละกอ น้ำกล้วยหอม น้ำขนุน น้ำเงาะ น้ำน้อยหน่า
- น้ำละมุดฝรั่ง น้ำลำใย น้ำอ้อย
- รสมัน เช่น น้ำกระจับ น้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำแห้ว
- รสเค็ม เช่น เกลือ
ปัจจุบันกระแสนิยมน้ำสมุนไพร ซึ่งเป็นน้ำดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของพืช เช่น ผลไม้ หรือ ธัญพืชต่าง ๆ นำมาแปรรูปให้เหมาะสมตามฤดูกาล การเตรียมน้ำสมุนไพรไว้ดื่มเองนั้น ราคาจะย่อมเยา สะอาด ปราศจากสารพิษรสชาติจะถูกปากของแต่ละบุคคล นอกจากนี้คุณค่าและประโยชน์ของน้ำสมุนไพรยังเชื่อว่ามีมากมายหลายประการ โดยเฉพาะน้ำสมุนไพรให้คุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายโดยตรง มีผลต่อระบบการย่อยอาหาร เจริญอาหาร ให้พลังงาน ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ร่างกายกระชุ่มกระชวย และอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และยังช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยควบคุมไขมันส่วนที่เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสารอาหารในน้ำสมุนไพรช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกายทำให้สารอาหารชนิดอื่นได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ควรเลือกสมุนไพรสด เลือกที่สด ๆ เก็บจากต้นใหม่ ๆ ตามฤดูกาล สีสรรเป็นธรรมชาติตามชนิดของสมุนไพร ไม่มีรอยช้ำเน่าเสีย ความสดทำให้มีรสชาติดี มีคุณค่ามากกว่า หากใช้สมุนไพรแห้ง การซื้อควรดูที่ความสะอาด สีสรรไม่คล้ำมาก เช่น กระเจี๊ยบแห้ง ควรมีสีแดงคล้ำแต่ไม่ดำ มะตูมแห้งควรมีสีน้ำตาลออกแดง จะต้องไม่มีกลิ่นของปัสสาวะ หรือ อุจจาระสัตว์ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้รูป กลิ่น สี ของน้ำสมุนไพรเปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตาม น้ำสมุนไพรบางชนิดดื่มลำบากในช่วงแรก อาจทำให้รู้สึกอึดอัด เนื่องจากรสชาติไม่ค่อยตรงกับรสนิยมของผู้ดื่ม วิธการดื่มที่ดี ควรดื่มแบบจิบช้า ๆ และควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยามากกว่าปล่อยทิ้งไว้นานแล้วดื่ม เพราะทำให้คุณค่าลดลง นอกจากนี้การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียวกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกาย และพบว่าการดื่มน้ำสมุนไพรร้อน ๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไปทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และอาจทำให้มีการดูดซึมสารก่อมะเร็งหรือจุลินทรีย์ปนเปื้อนได้ง่าย
เข้าชม : 901
|