บทความเรื่อง “ห้องสมุดออนไลด์(ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) E-Library”
แหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญของคนเรา นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ห้องสมุด เนื่องห้องสมุดเป็นแหล่ง รวบรวมสารสนเทศทุกรูปแบบ ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าตอบสนองตามความต้องการ ด้วยสภาพปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิต ในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้าน การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ความรู้ต่างๆ ถูกนำเข้าสู่ระบบดิจิตอลมากขึ้นด้วยห้องสมุดซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะต้องให้บริการทางด้านสารสนเทศอยู่แล้ว จึงจำเป็นอย่างที่สุดที่จะต้องมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีศักยภาพแห่งการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการนำข้อมูลนั้นมาใช้ ก่อให้เกิดการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ได้ครบถ้วน รวดเร็ว จากเหตุผลดังกล่าว ห้องสมุดส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จึงได้มีการปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น
ความหมายของ E-Library
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2545 ;3) ได้ให้ความหมายของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า E-Library มาจากคำว่า Electronic Library หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง แหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในลักษณะผสมผสานการทำงานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดดิจิตอลและห้องสมุดเสมือน
ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2545 :9) ได้กล่าวถึงลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ว่า ลักษณะการทำงานของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการใช้เทคโนโลยีในห้องสมุด ประกอบด้วย
1. การคัดเลือกเพื่อพัฒนาทรัพยากร ( Selection to create a collection)
2. การจัดการหรือจัดหมวดหมู่เพื่อพัฒนาทรัพยากร( Organization to enable access)
3. การอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อความต่อเนื่องในการใช้งานในอนาคต ( Preservation for ongoing use )
4. การบริการข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ ( Information services for users,need)
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มีการทำงานของระบบต่างๆ ดังนี้
1. ห้องสมุดดิจิตอล
องค์ประกอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ( Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากร (Staff) และทรัพยากรที่จัดเก็บในรูปดิจิตอล (Collection) ซึ่งทำให้การจัดทำระบบสารสนเทศห้องสมุด มีลักษณะดังต่อไปนี้
- มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปดิจิตอลเรียกว่า digital objects ได้แก่ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว (Language –based , Image –based , Sound-based , Motion-based) จัดเก็บไว้ในแหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repository) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้จัดเก็บข้อมูล (Server)
- มีการบริหารจัดการในลักษณะขององค์กร เช่นเดียวกับการจัดการห้องสมุดโดยมีการคัดเลือก การจัดการ การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้
- มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย
- มีการบริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน (fair use)
- มีการแนะนำการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และการอ้างถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- มีวัฏจักรของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ การสร้างข้อมูลดิจิตอล (Creation) การเผยแพร่ข้อมูล (Dissemination) การใช้ข้อมูล (Use) และการอนุรักษ์ข้อมูล (Preservation)
2. ห้องสมุดเสมือน
คำว่า virtual ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลในหัวข้อหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากที่ต่างๆมาไว้ที่หน้าจอเดียวกัน ได้มีผู้ให้คำจำกัดความของห้องสมุดเสมือน ในหลายความหมายได้แก่
-ห้องสมุดเสมือนเป็นกลุ่มของข้อมูลที่เชื่อมโยงกันในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย( Server) เพื่อให้บริการการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
-ห้องสมุดเสมือนไม่ได้เป็นโครงสร้างหรืออาคารห้องสมุดแห่งใดแห่งหนึ่งที่มี การบริการจัดการโดยเอกเทศ แต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงทรัพยากร บุคคล เป้าหมาย และความสนใจของกลุ่มบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว
-ห้องสมุดเสมือนไม่ได้มีข้อมูลในห้องสมุดแห่งใดแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการรวมข้อมูลจากหลายแห่งโดยที่ผู้ใช้ที่อยู่ไกลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
-ห้องสมุดเสมือนจึงเป็นห้องสมุดในจิตนาการที่มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรมและเอกสารจำนวนมากไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาเชื่อมโยงกันผ่านระบบเครือข่าย
ลักษณะเด่น ของห้องสมุดเสมือน คือ ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ( Accessibility) ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
ข้อจำกัด ของห้องสมุดเสมือน คือ ต้องใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากและต้องมีโปรแกรมการสืบค้นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีความสามารถในการบันทึกข้อมูลทุกรูปแบบ โดยมีลักษณะของข้อมูลที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย
3. ห้องสมุดอัตโนมัติ
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นการจัดระบบสารสนเทศในห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วยส่วนของการทำงานใน 6 โมดูลหลักๆ ได้แก่
· ระบบงานจัดหา ( Acquisition)
· ระบบงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการ ( Cataloging)
· ระบบงานวรสารและเอกสาร ( Serial Control )
· ระบบงานบริการยืม - คืน ( Circulation)
· ระบบงานสืบค้นรายการทรัพยากร ( Online Public Access Catalogy) และ
· การควบคุมระบบ ( Library system administrator)
จากที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปได้ว่าแนวโน้มของห้องสมุดในอนาคตจะเป็นศูนย์รวมความรู้หรือจุดเชื่อมโยงความรู้ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ( Server ) มีการบริการข้อมูลในลักษณะ One-stop-shop of information เป็นการกระจายข้อมูลที่อยู่ตามแหล่งต่างๆ เชื่อมโยงมาที่หน้าจอเดียวที่ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการค้นหา โดยห้องสมุดยุคใหม่เน้นการจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานห้องสมุด และมีการเข้าถึงเนื้อหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
แหล่งอ้างอิง
“แนวโน้มของ E – Learning” [online]. เข้าถึงได้จาก: http//www.nstal.net/watya. (2551, พฤศจิกายน 21)
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/224418
เข้าชม : 1092
|