บทความทั่วไป การยอมรับผิดไม่ใช่ความพ่ายแพ้
พุธ ที่ 14 เดือน กันยายน พ.ศ.2554
|
|
ผลเสียประการที่สำคัญอย่างหนึ่งของการถือตัว คือความรู้สึกเสียหน้า ไม่อยากให้คนอื่นรู้ในการกระทำผิดพลาดของตน เป็นเหตุให้ตนเองคิดหาวิธีการหลบเลี่ยงหรือปิดบังหรือทำอะไรกลบเกลื่อนเอาไว้ มีความรู้สึกว่าถ้าคนอื่นรู้ในการกระทำผิดของตนจะทำให้ตเองเสียความน่าเชื่อถือ ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุผู้มีอำนาจในทางสังคม มากกว่าเกิดกับผู้มีความอาวุโสน้อยหรือผู้มีอำนาจทางสังคมน้อย
ความถือตัวก่อให้เกิดความละอายในสิ่งที่ไม่ควรละอาย เช่นละอายในความผิดปกติผิดธรรมชาติของร่างกาย ซึ่งผู้เขียนได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วว่าฟันด้านหน้าหักก็ปล่อยมันหักไป เพราะนี่มันเป็นธรรมชาติไม่มีผลต่อสุขภาพร่างกายก็ปล่อยมันไปแบบนั้น และไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย เช่นละอายในการกระทำผิดของตนจนกระทั่งไม่อยากให้คนอื่นรู้ ทั้ง ๆ ที่สิ่งนั้นตนเองเป็นคนก่อขึ้น เมื่อกระทำไปแล้วอะไรที่ทำไปแล้วก็คือทำไปแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้ ถ้าไม่อยากละอายในการกระทำผิดของตนก็อย่าได้ไปกระทำสิ่งนั้น สิ่งที่จะต้องละอายมากกว่าสิ่งที่ทำผ่านไปแล้ว คือสิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคตข้างหน้าต่างหาก เพราะสิ่งที่เราจะทำต่อไปในอีก 1 หน้าที่ข้างหน้าคือสิ่งที่เรายังไม่ได้ลงมือทำ แต่สิ่งที่ทำไปเมื่อนาทีที่แล้วมันก็ผ่านไปแล้ว ผ่านแล้วก็ให้สำนึก สำนึกแล้วก็ให้มันผ่านไป มีอะไรที่เกิดจากการกระทำผิดของเราเป็นเรื่องที่กำลังเกิดในขณะปัจจุบันต่อเนื่องไปในอนาคต
สำหรับผู้อ่านที่ติดตามการเขียนของผู้เขียนตลอดมา ผู้เขียนได้นำประสบการณ์ในชีวิตที่ผ่านมา ทั้งที่ทำดีและทั้งที่ทำไม่ดีเอาไว้ ไม่เคยละอายในสิ่งที่ทำไปแล้ว ในความหมายนี้คือไม่ละละอายในการจะเล่าให้ผู้อื่นฟัง ส่วนละอายในการกระทำมันก็ผ่านไปแล้วจะให้ละอายค้างไว้เป็นปีก็มิใช่เรื่อง เนื่องจากผู้เขียนไม่มีอาจารย์ที่เป็นมนุษย์ ได้รับการฝึกจากเทพผ่านทางอธิวจนะโดยตรง เวลาฝึกเรื่องพวกนี้ ผู้เขียนเรีกพระศิวะว่าหลวงปู่ หลวงปู่ก็จะมีอะไรให้ผู้เขียนทำบ้าง ทำไปแล้วผิดบ้างถูกบ้าง ผู้เขียนก็ตั้งหน้าตั้งตาทำตามคำบอก แล้วมีหลายเรื่องที่ผู้เขียนไม่ได้ทำตามที่หลวงปู่บอก เมื่อไม่ทำตามนั้นมักจะมีความซวยปรากฏกับผู้เขียนเสมอ แรก ๆ ผู้เขียนก็น้อยใจ เหมือนกับตนกำลังได้รับการดูถูกเยาะเย้ยประมาณนั้น แต่พอชินผู้เขียนก็คิดว่านี่เป็นประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้รับแล้วถ้ามีโอกาสจะได้ถ่ายทอดต่อ ความรู้สึกเช่นนี้เองทำให้ผู้เขียนสามารถลดความถือตัวของผู้เขียนลงได้ หลัง ๆ หลวงปู่บอกอะไรมาผู้เขียนทำหมด แรก ๆ จะทำยากหลัง ๆ พอเริ่มชินก็เริ่มมีความสนุกกับการได้ทำตามที่หลวงปู่บอก เมื่อทำได้ตามที่หลวงปู่บอก ผู้เขียนก็ไม่รู้ตัวว่าผู้เขียนถูกหล่อหลอมความอดทนขึ้นมาได้ตั้งแต่เมื่อไร
แล้วความอดทนนี่เองทำให้เขียนมีความกล้าหาญในการที่จะเล่าความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับตน ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่าย คือผู้เขียนกล้าประจานตนเองให้ผู้อืนรู้ แท้จริงแล้วสำหรับผู้เขียนไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะเป็นสิ่งที่เกิดมาแล้ว ถึงแม้จะเป็นอดีตของชาติปัจจุบันก็ทำไปแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้เป็นอุทาหรณ์แก่ผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการแก้สิ่งที่เกิดขึ้นกับตน หรือผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในบางแง่มุมอาจจะได้แนวคิดนำไปใช้แก้สิ่งที่เกิดขึ้นในชฃีวิตก็ได้ นี่คือสิ่งที่เราควรรู้สึกต่อการกระทำผิดของตนที่ผ่านมา มิใช่ปกปิดกลัวแพ้ เพราะยิ่งปกปิดกลัวแพ้ก็จะยิ่งแพ้ เป็นไปตามสัจธรรม ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายไปแล้วว่า เราอยากได้สิ่งใดมักได้ในสิ่งตรงกันข้ามเสมอนั่นเอง
สิ่งที่ผู้เขียนเล่ามาก็เป็นวิธีการฝึกของผู้เขียน ฝึกโดยไม่ตั้งใจ แต่ถ้าจะให้ตั้งใจต้องใช้คุณธรรม 2 อย่าง ฝึกความอดทนให้ได้ก่อน เมื่ออดทนได้กล้าหาญตามมา ความอดทนและกล้าหาญถ้าใช้ในสิ่งที่ถูกที่ควร จะเป็นเครื่องช่วยในการการทำลายความลังเลสงสัย ซึ่งความลังเลสงสัยนี้เป็นนิวรณ์ 1 ใน 5 ซึ่งเป็นเครื่องกั้นกางการตรัสรู้ธรรมของทุกคนนั่นเอง
ที่มา : www.google.co.th
เข้าชม : 1105
|
|
บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด
บทความการอ่าน 4 / พ.ค. / 2559
บทความดีๆมีมาฝากค่ะ 29 / ก.พ. / 2559
ความสำคัญของการอ่าน 15 / ธ.ค. / 2558
การอ่าน
กับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน 20 / พ.ค. / 2558
บทความน่าอ่าน 12 / พ.ค. / 2558
|