[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

ความรู้เกี่ยวกับ IT
10 มารยาทบนสังคมออนไลน์ที่ควรทราบ

จันทร์ ที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

คะแนน vote : 132  

   
10 มารยาทบนสังคมออนไลน์ที่ควรทราบ  

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมทุกวันนี้อาจดูแหว่งวิ่นไปบ้าง คนออฟฟิศเดียวกัน ยืนอยู่ใกล้ๆ กันอาจไม่ได้คุยกัน พ่อแม่ลูกอยู่บ้านเดียวกันก็อาจไม่ได้คุยกัน ฯลฯ ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพราะส่วนหนึ่งของเวลาที่เรามีถูกย้ายไปทำการอยู่บนสังคมออนไลน์ ผ่านเครือข่าย


  เมื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น วันนี้เราจึงนำมารยาท และสิ่งที่ไม่ควรกระทำบนสังคมออนไลน์มาฝากกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยค่ะ
       
       1.ไม่ควรโพสต์ภาพอาหารยั่วยวนใจบ่อยๆ
       
       คนเล่นเฟซบุ๊กหลายคนอาจปฏิเสธว่าไม่จริง เราออกจะชอบดูภาพอาหาร ยิ่งหน้าตาชวนกินยิ่งชอบ แถมถ้าบอกร้านมาด้วยจะตามไปชิมเมนูที่โพสต์แน่ๆ แต่ก็อย่าลืมว่าในจำนวนเพื่อนในเฟซบุ๊กนั้นอาจมีคนที่กำลังลดน้ำหนัก เป็นเบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ หรือถูกสั่งห้ามกินอาหารหน้าตาอร่อยๆ แบบที่คุณกำลังโพสต์ และภาพเหล่านั้นก็จะยิ่งบาดตาบาดใจพวกเขาจนพากันกด Like ให้ภาพของคุณไม่ได้
       
       2.ไม่ควรกด Like พร่ำเพรื่อ
       
       เพราะเพื่อนในเฟซบุ๊กมีหลายประเภท ทั้งเพื่อนที่ทำงาน เพื่อนชาวต่างชาติ เพื่อนสมัยเรียนประถม ที่จากกันไปนาน และเพิ่งมีโอกาสได้เจอกันอีกครั้ง หรือเพื่อนห่างๆ ที่แอดไว้ตั้งนานนมแล้วแต่ไม่ได้สานสัมพันธ์ใดๆ กันต่อ ดังนั้น การคลิก Like ไปทั่วกระทั่งในเรื่อง - ภาพของเพื่อนที่เราห่างเหินมานาน ไม่รู้ตื้นลึกหนาบางใดๆ ในชีวิตเขาในตอนนี้ ก็อาจถูกตีความว่าเราเสแสร้ง ไม่จริงใจได้
       
       3.ไม่โพสต์เรื่องส่วนตัวบนวอลล์คนอื่น
       
       มีช่องทางอีกมากสำหรับคนสองคนที่ต้องการจะสื่อสารเรื่องส่วนตัวของกันและกัน ส่งแมสเซจก็ได้ ส่งเมลก็ได้ ส่ง SMS ก็ได้ คุยทาง MSN ก็ได้ แต่ไม่ใช่การมาโพสต์บนหน้าวอลล์ส่วนตัว เพราะเพื่อนๆ ของเจ้าของวอลล์คนนั้นจะร่วมรับรู้รับทราบทั้งหมด ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ควรจะต้องมารู้ด้วยเลย และนั่นอาจไม่ดีต่อตัวคุณในที่สุดที่ดูเป็นคนไม่มีมารยาท
       
       4.ไม่โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับเซ็กซ์
       
       ถ้าไม่นับแก๊งของหนุ่มๆ ในออฟฟิศบางแห่งที่นิยมแชร์ภาพสาวสวยกันแล้ว การที่คนเราจะโพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับเซ็กซ์ลงบนสังคมออนไลน์ก็อาจทำให้เพื่อนๆ คนอื่นของคุณกระอักกระอ่วนใจได้ ยิ่งหากเป็นกิจกรรมทางเพศของตัวคุณเองด้วยแล้วยิ่งไม่เหมาะสมอย่างมาก
       
       5.ไม่แท็กเรื่อยเปื่อย
       
       อย่าอัปโหลดทุกภาพที่มีในกล้อง และควรพิจารณาองค์ประกอบในภาพนั้นก่อนว่าดีพอหรือไม่ที่จะโพสต์ออกไป นอกจากนั้น สาวๆ หลายคนอาจเลิกคบกับคุณแน่ๆ ถ้าคุณแท็กภาพที่คุณดูดีสุดๆ แต่เพื่อนสาวที่อยู่ในภาพไม่ได้ดูดีเท่า ดังนั้น หากมีภาพดังกล่าวอยู่ ลองถามตัวเองว่า ถ้าคุณเป็นคนที่กำลังทำหน้าตลกๆ หรือนั่งพุงย้อย คุณจะยังโพสต์ภาพนั้นให้สังคมออนไลน์ร่วมรับรู้หรือไม่
       
       6.ไม่ใช้เฟซบุ๊กสะกดรอยคนอื่น
       
       คนบางคนก็ใช้เฟซบุ๊กในการสืบทราบข่าวคราวความเป็นไปของคนอื่่น เช่น อดีตแฟน สาวคนใหม่ของอดีตแฟน คนที่เราแอบชอบ คนที่เราเกลียด คนที่มายุ่งกับแฟนเรา ซึ่งขอบอกว่าการแอบล้วงข้อมูลเหล่านี้เป็นการกระทำที่เสียเวลาและเสียพลังงานมากทีเดียว
       
       7.ไม่โพสต์ข้อความกล่าวร้ายคนอื่น
       
       คนบางคนเลิกคบกันก็เพราะการโพสต์จิกกัดกันนี่เอง และควรจะเลิกคิดใช้เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความกล่าวร้ายคนอื่นโดยเด็ดขาด เพราะข้อความที่คุณโพสต์จะเห็นกันได้ทั่วไป และอาจผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งคู่กรณีอาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคุณได้ด้วย
       
       8.ไม่ควรโพสต์เรื่องทุกอย่างรอบตัว
       
       เพราะบางคนโพสต์ทุกเรื่องในชีวิตลงไปบนเฟซบุ๊ก ทั้งร้านอาหาร ครอบครัว เพื่อนฝูง จนเพื่อนๆ ในลิสต์รับทราบความเป็นไปของเธอตลอดเวลา แล้วแบบนี้จะเหลืออะไรไว้ให้คุยกันเมื่อยามพบหน้า ลองหยุดโพสต์ดูบ้างอาจทำให้ชีวิตของคุณน่าค้นหายิ่งขึ้น
       
       9.ไม่โพสต์ภาพตัวเองถูกทำร้าย
       
       ใครก็ตามที่กล้าโพสต์รูปตัวเองถูกทำร้ายลงบนโลกออนไลน์ รับรองว่า เป็นเรื่องกระหึ่มแน่นอน หรือแม้จะเป็นภาพอาการบาดเจ็บที่น่าหวาดเสียวก็เช่นเดียวกัน เช่น ภาพนิ้วถูกมีดบาดจะขาดมิขาดแหล่ ฯลฯ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะเห็นภาพนั้น แม้ว่าเขาเห็นแล้วจะรู้สึกเสียใจ สลดใจไปกับคุณด้วยก็ตาม
       
       10.ไม่โพสต์นินทาเจ้านายหรือที่ทำงาน
       
       เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรทำ หากต้องการโพสต์จริงๆ ก็ตั้งกลุ่มลับเฉพาะกันไป อย่าโพสต์ออกมาในที่สาธารณะและเพื่อนๆ ในลิสต์ทุกคนสามารถรับรู้ได้ เพราะมันจะไม่ดีต่อตัวคุณและต่อองค์กรที่ทำงานอยู่ รวมถึงเจ้านายในอนาคตของคุณด้วย เพราะเจ้านายเดี๋ยวนี้ก็เช็กประวัติคนที่จะรับเข้าทำงานจากเฟซบุ๊กกันบ้างแล้วเช่นกัน
       ทั้งหมดนี้จึงอาจเป็นรูปแบบการใช้งานที่ควรหลีกเลี่ยง หรือเลือกใช้ให้เหมาะสมสำหรับท่านที่ต้องการมีตัวตนอยู่บนสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยนั่นเอง

 เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก ivillege.co.uk

เข้าชม : 995


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      การอ่าน : การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ 5 / ต.ค. / 2557
      office 365 คืออะไร 8 / เม.ย. / 2557
      ทานอะไรดีไม่แก่แนะอาหารชะลอความแก่!! 4 / มิ.ย. / 2556
      10 มารยาทบนสังคมออนไลน์ที่ควรทราบ 11 / ก.พ. / 2556
      บทความดีๆน่ารู้ 7 / ม.ค. / 2556




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05