[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
โรคไข้หวัดใหญ่

ศุกร์ ที่ 4 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2557


 โรคไข้หวัดใหญ่




ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร

ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลม และปอด เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน

สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก

ในปี คศ.2003 ได้มีการแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ดังนี้

  1. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีน คือเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน(เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศเราจะฉีดก็น่าจะเป็นช่วงเดียวกัน) โดยเน้นไปที่ประชาชนที่มีอายุ 50 ปี,เด็กอายุ 6-23 เดือน,คนที่อายุ 2-49 ปีที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ให้ฉีดในเดือนตุลาคม ส่วนกลุ่มอื่น เช่นเด็ก เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ดูแลคนป่วย กลุ่มนี้ให้ฉีดเดือนพฤศจิกายน
  2. เด็กที่อายุ 6-23 เดือนควรจะฉีดทุกรายโดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย
  3. ชนิดของวัคซีนที่จะฉีดให้ใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของเชื้อ A/Moscow/10/99 (H3N2)-like, A/New Caledonia/20/99 (H1N1)-like, และ B/Hong Kong/330/2001
  4. ให้ลดปริมาณสาร thimerosal ซึ่งเป็นสารปรอท

เชื้อที่เป็นสาเหต

การติดต่อ

เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่

  • ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก
  • สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ
  • สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
  • อ่านรายละเอียด

อาการของโรค

อาการของไข้หวัดใหญ่จะเหมือนกับไข้หวัด แต่ไข้หวัดใหญ่จะเร็วกว่า ไข้สูงกว่า อาการทำสำคัญได้แก่

  1. ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน
  • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
  • ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา
  • ไข้สูง 39-40 องศาในเด็ก ผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา
  • เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล
  • ไอแห้งๆ ตาแดง
  • ในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์
  1. สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
  • อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ่มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
  • อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศรีษะ ซึมลง หมดสติ
  • ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวาย
  • โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์

ระยะติดต่อ

ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น

  • ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ
  • ห้าวันหลังจากมีอาการ
  • ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วันโรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
    1. ผู้ป่วยอาจจะมีอาการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่ เช่นหัวใจวาย หรือหายใจวาย
    2. มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ เช่น ปอดบวม ฝีในปอด
    3. เชื้ออาจจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
    4. หูอักเสบ

    การรักษา

    ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มากอาจจะดูแลเองที่บ้าน วิธีการดูแลมีดังนี้

    • ให้นอนพักไม่ควรจะออกกำลังกาย
    • ให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือดื่มน้ำผลไม้ ไม่ควรดื่มน้ำเปล่ามากเกินไปเพราะอาจจะขาดเกลือแร่ ดื่นจนปัสสาวะใส
    • รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุมน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลงให้รับประทาน paracetamol ไม่แนะนำให้ aspirinในคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปีเพราะอาจจะทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Reye syndrome การรับประทาน paracetamol ก็ต้องระวังจะทำให้ตับอักเสบ
    • ถ้าไอมากก็รับประทานยาแก้ไอ แต่ในเด็กเล็กไม่ควรซื้อยารับประทาน
    • สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจจะใช้น้ำ 1 แก้วผสมเกลือ 1 ช้อนกรวกคอ
    • อย่าสั่งน้ำมูกแรงๆเพราะอาจจะทำให้เชื้อลุกลาม
    • ในช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์สาธรณะ ลูกบิดประตู
    • เวลาไอหรือจามต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก
    • ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงสถามที่สาธารณะ

    ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เมื่อไร

    แม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะหายได้เอง แต่ผู้ป่วยบางรายมีโรคแทรกซ้อน ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์

    ผู้ป่วยเด็กควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

    • ไข้สูงและเป็นมานาน
    • ให้ยาลดไข้แล้วไข้ยังเกิน 38.5องศา
    • หายใจหอบหรือหายใจลำบาก
    • มีอาการมากกว่า 7 วัน
    • ผิวสีม่วง
    • เด็กดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารไม่พอ
    • เด็กซึม หรือไม่เล่น
    • เด็กไข้ลด แต่อาการไม่ดีขึ้น

    สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้พบแพทย์

    • ไข้สูงและเป็นมานาน
    • หายใจลำบาก หรือหายใจหอบ
    • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
    • หน้ามืดเป็นลม
    • สับสน
    • อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได

    กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่เสี่งต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ควรจะพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่

    • ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด โรคเบาหวาน
    • คนท้อง
    • คนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
    • เด็กเล็กหรือทารก
    • ผู้ป่วยโรคเอดส์
    • ผู้ที่พักในสถาพเลี้ยงคนชรา
    • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
    • เจ้าหน้าที่ที่ดูลแลผู้สูงอายุหรือดูแลคนป่วย

    หากท่านสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ท่านต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ

    ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้ควรจะรักษาในโรงพยาบาล

    • มีอาการขาดน้ำไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ
    • เสมหะมีเลือดปน
    • หายใจลำบาก หายใจหอบ
    • ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีม่วงเขียว
    • ไข้สูงมากเพ้อ
    • มีอาการไข้และไอหลังจากไข้หวัดหายแล้ว

    การรักษาในโรงพยาบาล

    • แพทย์จะให้น้ำเกลือสำหรับผู้ที่ดื่มน้ำไม่พอ
    • ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจะได้รับยา Amantadine หรือ rimantidine เพื่อให้หายเร็วและลดความรุนแรงของโรค ควรจะให้ใน 48 ชมหลังจากมีไข้ และให้ต่อ 5-7 วัน ยานี่ไม่ได้ลดโรคแทรกซ้อน
    • ให้ยาลดน้ำมูกหากมีน้ำมูก
    • ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนไม่ควรให้ยาปฎิชีวนะ

    ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะหายใน 2-3 วันไข้จะหายใน 7 วันอาการอ่อนเพลียอาจจะอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์

    การป้องกัน

    • ล้างมือบ่อยๆ
    • อย่าเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา
    • อย่าใช้ของส่วนตัว เช่นผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
    • ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย
    • เวลาไอจามใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
    • หลีกเลี่ยงที่ชุมชนเมื่อมีการระบาด

    การฉีดวัคซีน

    การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน ซึ่งทำจากเชื้อที่ตายแล้วโดยฉีดทีแขนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ภูมิจึงขึ้นสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดจะต้องเลือกผู้ป่วยดังต่อไปนี้

    • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
    • ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
    • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    • ผู้ป่วยโรคเอดส์
    • หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
    • ผู้ที่อาศัยในสถานเลี้ยงคนชรา
    • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง
    • นักเรียนที่อยู่รวมกัน
    • ผู้ที่จะไปเที่ยวยังที่ระบาดของไข้หวัดใหญ่
    • ผู้ที่ต้องการลดการติดเชื้อ

    การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อรักษา

    • Amantadine and Ramantadine เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาไวรัสไๆข้หวัดใหญ่ชนิด A ไม่ครอบคลุมชนิด B
    • Zanamivir Oseltamivir เป็นยาที่รักษาได้ทั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด A,B
    • การให้ยาภายใน 2 วันหลังเกิดอาการจะลดระยะเวลาเป็นโรค

    จะใช้ยารักษาไข้หวัดกับคนกลุ่มใด

    เราจะใช้ยากับคนกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคกลุ่มที่ควรจะได้รับยารักษาได้แก่

    • คนที่อายุมากกว่า 65 ปี
    • เด็กอายุ 6-23 เดือน
    • คนท้อง
    • คนที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ

    การให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่

    ยาที่่ได้รับการรับรองว่าใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้แก่ Amantadine Ramantadine Oseltamivir วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน แต่ก็มีบางกรณีที่จำเป็นต้องให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่

    • ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับวัคซีนไม่ทัน ทำให้ต้องได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
    • ผู้ที่ดูดแลกลุ่มเสี่ยงและไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ควรจะได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
    • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่นโรคเอดส์
    • กลุ่มคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่อยากเป็นโรค


























 


เข้าชม : 1481


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      โครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ ประจำจังหวัดตรัง 7 / พ.ย. / 2567
      พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 7 / พ.ย. / 2567
      การประชุมชี้แจงจุดเน้นการดำเนินงาน และขับเคลื่อนงานของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ 2568 7 / พ.ย. / 2567
      โครงการประชุมขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดตรัง 7 / พ.ย. / 2567
      สำรวจข้อมูลเด็กและเยาวชน ที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษาช่วงอายุระหว่าง 6-18 ปี กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ 7 / พ.ย. / 2567




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ถนนเพชรเกษม 16 หมู่ 7 ตำบลวังมะปรางเหนือ  อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โทรศัพท์ 075 - 291743 
โทรสาร 075-291743
nfe 14@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05