[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

                                
 
 

  

บทความทั่วไป
ประวัติอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

อังคาร ที่ 11 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2556

คะแนน vote : 130  

อำเภอกันตัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
อำเภอกันตัง
แผนที่จังหวัดตรัง เน้นอำเภอกันตัง
กันตังเมืองสะอาด ธรรมชาติริมฝั่งน้ำ
สง่างามตำหนักจันทน์ พิพิธภัณฑ์
พระยารัษฎา ท่าเทียบเรือต่างประเทศ
เขตกำเนิดยางพารา
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอกันตัง
อักษรโรมัน Amphoe Kantang
จังหวัด ตรัง
รหัสทางภูมิศาสตร์ 9202
รหัสไปรษณีย์ 92110
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 612.7 ตร.กม.
ประชากร 86,326 คน (พ.ศ. 2555)
ความหนาแน่น 140.89 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอกันตัง ถนนตรังคภูมิ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 92110
พิกัด 7°24′20″N 99°30′55″E / 7.40556°N 99.51528°E / 7.40556; 99.51528
หมายเลขโทรศัพท์ 0 7525 1996
หมายเลขโทรสาร 0 7526 1001

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอกันตัง เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง คำว่า "กันตัง" สันนิษฐานว่าเป็นคำในภาษามาเลย์

เนื้อหา

[ซ่อน]

ประวัติ

 
ภาพถ่ายเก่า ท่าเทียบเรือกันตังในอดีต

 
 
ภาพถ่ายเก่า เรือขนถ่าน

 
 
ตัวอำเภอกันตัง ภาพถ่ายจากบริเวณ ท่าเรือกันตัง ซึ่งเป็นท่าที่ใช้ขนถ่ายสินค้าไปต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณ

 
 
ตัวอำเภอกันตัง ภาพถ่ายเรือลากจูงประเภท Freeder ให้บริการเส้นทางกันตัง-ปีนัง-กันตัง สัปดาห์ละสองเที่ยว

กันตัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตรัง ห่างจากตัวเมืองตรังเพียง 24 กิโลเมตร ในอดีตกันตังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำสำคัญมาแต่โบราณ เมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดีมารับตำแหน่งใน พ.ศ. 2433 ได้ดำเนินการพัฒนาเมืองตรัง (กันตัง) ทุกด้าน โดยมีจุดมุ่งหมายจะทำให้เป็นเมืองค้าขาย เริ่มจากการย้ายเมืองจากตำบลควนธานีไปตั้งที่ตำบลกันตัง และสร้างความเจริญแก่เมืองตรัง (กันตัง) อย่างมาก การพัฒนาในสมัยพระยารัษฎาฯ ที่จะนำไปสู่ความเป็นเมืองท่าค้าขายมีอยู่หลายด้าน เริ่มจากการแก้ปัญหาความไม่สงบเรื่องโจรผู้ร้ายและการส่งเสริมอาชีพพื้นฐานคือการเกษตร เริ่มต้นจากเกษตรยังชีพในครัวเรือน และขยายเป็นเกษตรเพื่อการค้า โดยใช้กุศโลบายต่าง ๆ และระบบกลไกของรัฐ เช่น การยกเว้นเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์แรงงานแก่ผู้บุกเบิกทำนา จนสามารถส่งข้าวขายปีนังได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ชาวเมืองขาดแคลนข้าว ต้องซื้อจากปีนังอยู่เสมอ การสร้างถนนและสะพานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าในท้องถิ่น และส่งขายต่างประเทศทางท่าเรือกันตัง พระยารัษฎาฯ ส่งเสริมบริษัทตัวแทนซื้อขายสินค้าที่ท่าเรือกันตัง สินค้าสำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ เป็ด ไก่ สุกร โค กระบือ พริกไทย ข้าว ตับจาก ไม้เคี่ยม ไม้โปรง เป็นต้น

การพัฒนาของพระยารัษฎาฯ สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในส่วนกลางที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูประบบราชการ และนำพาชาติเข้าสู่การพัฒนาให้เทียบทันอารยประเทศ การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ที่กำหนดให้มีทางแยกจากทุ่งสงมุ่งสู่ท่าเรือกันตังเริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2444 ส่วนในสายแยกตั้งแต่ทุ่งสงถึงกันตัง เปิดการโดยสารระหว่างกันตัง-ห้วยยอด วันที่ 1 เมษายนพ.ศ. 2456 และต่อมา เปิดการโดยสารระหว่างห้วยยอด-ทุ่งสง ในวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2446 (นับปีแบบเก่า ขึ้นศักราชใหม่เดือนเมษายน เดือนมกราคมเป็นเดือนที่ 10 ของปี) เส้นทางรถไฟนี้ส่งเสริมนโยบายเมืองท่าค้าขายของพระยารัษฎาฯ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ พระยารัษฎาฯ ยังได้มองการณ์ไกล ที่จะทำให้กันตังเป็นท่าเรือค้ากับต่างประเทศได้เต็มศักยภาพ โดยเสนอทางรัฐบาลจัดสร้างท่าเรือน้ำลึก แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนใน พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากระทรวงมหาดไทย และเริ่มการปกครองระบบมณฑลขึ้นเป็นครั้งแรก หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกเดิมเปลี่ยนเป็นมณฑลภูเก็ต เมืองตรังเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภูเก็ต

ในปี พ.ศ. 2434 ทางการได้ยุบเมืองปะเหลียนรวมกับเมืองตรัง ต่อมามีประกาศข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.115 (พ.ศ. 2439) แบ่งท้องที่การปกครองเป็นอำเภอ จังหวัดตรังมี 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (กันตัง) อำเภอบางรัก อำเภอเขาขาว (ห้วยยอด) อำเภอสิเกา และอำเภอปะเหลียน มีตำบลรวม 109 ตำบล

ต่อมา พ.ศ. 2444 พระยารัษฎาฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต มีผู้ว่าราชการเมืองตรังต่อจากพระยารัษฎาฯ 5 คน พอถึง พ.ศ. 2458 สมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (สิน เทพหัสดินฯ) เป็นผู้ว่าราชการเมือง มหาอำมาตย์โท พระยาสุรินทรราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ฯ) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เห็นว่าเมืองที่กันตังอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม เนื่องจากตอนสงครามโลกครั้งที่ 1 เรือดำน้ำของเยอรมันชื่อเอ็มเด็น ได้ลอยลำยิงถล่มปีนัง หากมีสงครามเกิดขึ้นอีก เมืองตรังอาจจะถูกยิงเช่นปีนัง รวมทั้งพื้นที่ลุ่ม และมีโรคระบาด หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เมืองตรัง พ.ศ. 2458 แล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตย้ายเมืองไปตั้งที่อำเภอบางรัก และได้ย้ายไปเมื่อวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2458

ปัจจุบันกันตังยังคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญของจังหวัดตรัง โดยมีการส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเทียบเรือกันตังโดยใช้เรือลากจูง ให้บริการระหว่างเส้นทางกันตัง-ปีนัง-กันตัง สัปดาห์ละ 2 เที่ยว โดยสินค้าที่ส่งผ่านท่าเรือกันตังจะเป็นยางพาราและไม้ยางพาราแปรรูป นอกจากนี้แล้วยังมีสินค้าเทกองประเภทแร่ยิปซัมและถ่านหิน

ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอกันตังตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประชากร ชาวกันตังเป็นอำเภอที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์แห่งหนึ่ง โดยมีทั้งชาวไทยถิ่นใต้ ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายมลายู ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันมายาวนานด้วยกันอย่างสันติสุข และแต่ละเชื้อชาติก็จะมีมีประเพณีที่สำคัญแตกต่างกันไป

  • ศาสนา ชาวกันตังส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 70.46 ศาสนาอิสลามร้อยละ 28.64 ส่วนที่เหลือนับถือศาสนาอื่นๆ โดยที่กันตังไม่มีความขัดแย้งทางศาสนา

การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอกันตังแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14
ตำบล 83 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กันตัง       (Kantang)       -             8. คลองลุ       (Khlong Lu)       7 หมู่บ้าน  
2. ควนธานี       (Khuan Thani)       6 หมู่บ้าน             9. ย่านซื่อ       (Yan Sue)       4 หมู่บ้าน  
3. บางหมาก       (Bang Mak)       6 หมู่บ้าน             10. บ่อน้ำร้อน       (Bo Nam Ron)       9 หมู่บ้าน  
4. บางเป้า       (Bang Pao)       7 หมู่บ้าน             11. บางสัก       (Bang Sak)       6 หมู่บ้าน  
5. วังวน       (Wang Won)       5 หมู่บ้าน             12. นาเกลือ       (Na Kluea)       6 หมู่บ้าน  
6. กันตังใต้       (Kantang Tai)       6 หมู่บ้าน             13. เกาะลิบง       (Ko Libong)       8 หมู่บ้าน  
7. โคกยาง       (Khok Yang)       8 หมู่บ้าน             14. คลองชีล้อม       (Khlong Chi Lom)       5 หมู่บ้าน  
แผนที่ตำบล

การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอกันตังประกอบด้วย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองกันตัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันตังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนธานี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนธานีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหมากทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเป้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเป้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันตังใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองลุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองลุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านซื่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อน้ำร้อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสักทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกลือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเกลือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลิบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะลิบงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองชีล้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองชีล้อมทั้งตำบล

สถานที่น่าสนใจ

อำเภอกันตังเป็นอีกหนึ่งอำเภอที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน จึงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจดังนี้

  • สวนสาธารณะควนตำหนักจันทร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่บริเวณถนนป่าไม้ อันเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติควนกันตัง สถานที่นี้ถือกำเนิดชื่อมาจากการเป็นตำหนักเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นบนเนินเขาเตี้ย ๆ (ควน) ในการรับเสร็จรัชการที่ 6 ครั้งเสร็จประพาสเมืองกันตังเมื่อ ปี 2452 เมื่อครั้งยังทรงพระอริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอราธิราชสยาม
  • มกุฎราชกุมาร ต่อมาภายหลังใช้เป็นเรือนรับรองสโมสรข้าราชการ
  •  
    สนามเพลาะสมัยสงครามโลกครั้งที่2

ในสมันสงครามโลกครั้งที่ 2 ควนตำหนักจันทร์ได้ใช้เป็นที่ตั้งทัพของกองกำลังทหารญี่ปุ่น หลังจากสิ้นสุดสงครามอาคารต่าง ๆ ได้ถูกรื้อถอนจนไม่เหลือร่องรอย ต่อมาได้ใช้พื้นที่นี้ส่วนหนึ่งสร้างดรงเรียนกันตังพิทยา ส่วนเนินเขาถูกปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นที่ออกกำลังกายของชาวเมืองกันตัง มีไม้ดอกไม้พันธ์หลายชนิด บนยอดสามารถมองเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองกันตังและแม่น้ำกันตังได้อย่างชัดเจน

  • สถานีรถไฟกันตัง ตามบันทึกการรถไฟ สถานีรถไฟกันตัง ตั้งอยู่ใกล้กับตึกแถวเก่าแบบจีน-โปรตุเกสในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งเดิมกันตังเคยเป็นเมืองสำคัญที่พระยารัษฏานุประดิษฐ์ต้องการให้เป็นเมืองท่าค้าขาย มีการสร้างทางรถไฟเพื่อรับส่งสินค้าถึงท่าเรือกันตัง เพื่อรับส่งสินค้าจากสิงคโปร์และมลายู จึงได้สร้างและเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการจากสถานีรถไฟทุ่งสง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 โดยตัวอาคารเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา มาด้วยสีเหลืองมัสตาร์ด ด้านหน้ามีมุขยื่น ตกแต่งมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ ประตูเป็นประตูไม้บานเฟี้ยมแบบเก่า
  • ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย

นอกจากนี้แล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น

  • อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
  • บ่อน้ำพุร้อนควนแดง
  • หาดยาว
  • หาดหยงหลิง
  • หาดปากเมง
  • เกาะมุก
  • ถ้ำมรกต
  • เกาะกระดาน
  • เกาะเชือก
  • เกาะลิบง

สถานศึกษาในอำเภอกันตัง

  1. วิทยาลัยการอาชีพกันตัง (ปวช 1-3, ปวส 1-2)
  2. โรงเรียนกันตังพิทยากร (ม.1-ม.6)
  3. โรงเรียนกันตังรัษฎาศึกษา (ม.1-ม.6)
  4. โรงเรียนจุ๋งฮัวโซะเซียว (อ.1-ม.6)
  5. โรงเรียนทุ่งเจริญวิทยาคาร (กำลังก่อสร้าง = ม.1-ม.6)
  6. โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี (ท.๒) (อ.1-ม.3)
  7. โรงเรียนประชาวิทยา (อ.1-ม.3)
  8. โรงเรียนบ้านโคกยาง ( อ.1-ม.3)
  9. โรงเรียนบ้านบางเป้า (อ.1-ม.3)
  10. โรงเรียนบ้านหนองเสม็ด (อ.1-ม.3)
  11. โรงเรียนบ้านนาเกลือ (อ.1-ม.3)
  12. โรงเรียนบ้านบางหมาก (อ.1-ม.3)
  13. โรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ (อ.1-ม.3)
  14. โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม (อ.1-ม.3)
  15. โรงเรียนบ้านเกาะมุกต์ (อ.1-ม.3)
  16. โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส (ท.๑) (อ.1-ป.6)
  17. โรงเรียนวิเศษกาญจน์ (อ.1-ป.6)
  18. โรงเรียนอนุบาลกันตังศึกษา (อ.1-ป.6)
  19. โรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า (อ.1-ป.6)
  20. โรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธา (อ.1-ป.6)
  21. โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่ (อ.1-ป.6)
  22. โรงเรียนบ้านป่าเตียว(อ.1-ป.6)
  23. โรงเรียนบ้านปาเต (อ.1-ป.6)
  24. โรงเรียนบ้านแหลม (อ.1-ป.6)
  25. โรงเรียนบ้านจุปะ (อ.1-ป.6)
  26. โรงเรียนบ้านแตะหรำ (อ.1-ป.6)
  27. โรงเรียนบ้านน้ำฉา (อ.1-ป.6)
  28. โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ (อ.1-ป.6)
  29. โรงเรียนบ้านบางหมากน้อย (อ.1-ป.6)
  30. โรงเรียนบ้านบางเตา (อ.1-ป.6)
  31. โรงเรียนบ้านนาเหนือ (อ.1-ป.6)
  32. โรงเรียนบ้านย่านซื่อ (อ.1-ป.6)
  33. โรงเรียนบ้านท่าส้ม (อ.1-ป.6)
  34. โรงเรียนบ้านท่าปาบ (อ.1-ป.6)
  35. โรงเรียนบ้านบางสัก (อ.1-ป.6)
  36. โรงเรียนบ้านควนตุ้งกู (อ.1-ป.6)
  37. โรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆ (อ.1-ป.6)
  38. โรงเรียนบ้านมดตะนอย (อ.1-ป.6)
  39. โรงเรียนบ้านหาดยาว (อ.1-ป.6)
  40. โรงเรียนวัดวารีวง (อ.1-ป.6)
  41. โรงเรียนบ้านกันตังใต้ (อ.1-ป.6)
  42. โรงเรียนบ้านคลองชีล้อม (อ.1-ป.6)
  43. โรงเรียนบ้านควนธานี (อ.1-ป.6)
  44. โรงเรียนบ้านน้ำราบ (อ.1-ป.6)
  45. โรงเรียนบ้านพระม่วง (อ.1-ป.6)
  46. โรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ สาขาบ้านหลังเขา (อ.1-ป.6)

งานเทศกาลประจำปี

  • งานประเพณีลอยกระทง กันตังจะจัดอย่างยิ่งใหญ่10วัน10คืน เนื่องจากกันตังเป็นอำเภอปากแม่น้ำตรังจึงเหมาะแก่การลอยกระทงที่สุด คนอำเภอใกล้เคียงจะแห่มาเที่ยวกันอย่างหนาแน่นทุกปี
  • งานประเพณีชักพระ มีการประกวดเรือพระวัดในอำเภอจะตกแต่งเรือพระและลากมาจากวัดของตนมาประชันกันในงาน
  • งานประเพณีสารทเดือนสิบ ชาวบ้านเรียก"ชิงเปรต"มีการจัดสำรับขนมเดือนสิบหรือที่เรียกว่า"หมรับ=หอ-มรอ-อะ-บอ-หมรับ-"มาถวายแด่วัดที่อยู่ใกล้บ้าน
  • งานของดีเมืองกันตัง ในงานจะมีของดีแต่ละชุมชนมาออกร้านกันมากมาย

การเดินทาง[แก้]

การเดินทางจากอำเภอกันตังไปอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดตรังวัดเป็นระยะทางโดยประมาณดังนี้

อ้างอิง

พิกัดภูมิศาสตร์: 7°23′57″N 99°28′23″E / 7.39929°N 99.47296°E / 7.39929; 99.47296


 



เข้าชม : 3669


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      6 เรื่องน่ารู้ของการปลูกดาวเรือง 18 / มิ.ย. / 2561
      ดอกอัญชัญ ดอกไม้สีสวย ปลูกง่าย แถมประโยชน์เพียบ 18 / มิ.ย. / 2561
      ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำรัชกาลที่ 10 18 / มิ.ย. / 2561
      นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 12 / มิ.ย. / 2561
      ประวัติพระยารัษฎานุประดิษฐ์ 12 / มิ.ย. / 2561