รูปแบบของการทำงานในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนแปลงไป หลังจากที่ผู้คนเริ่มมีอุปกรณ์เคลื่อนที่ใช้งานส่วนตัวกันมากขึ้น ซึ่งองค์กรต่างๆ ต้องหันมาตระหนักว่า การเปิดกว้างให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย สำหรับประเทศไทย รายงานเรื่องสถานที่ทำงานแห่งอนาคตของซิทริกซ์ บริษัทต่างๆ ในไทย ยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ ในโลก ในแง่ของการรับเอาโมบายล์เวิร์กสไตล์เข้ามาใช้งาน แต่ก็มีทิศทางแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปอย่างช้าๆ โดยคาดว่าราวกลางปี 2557 จะมีประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรภายในไทย ที่หันมาใช้โซลูชั่นด้านโมบายล์รูปแบบการทำงานแบบใหม่ ที่เรียกว่า "เวิร์กชิฟติ้ง" จึงเกิดขึ้น เวิร์กชิฟติ้ง ก็คือการยินยอมให้คนในที่ทำงานสามารถเลือกเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ในการทำงานที่เหมาะสมที่สุดตามต้องการ ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวกำลังเข้าไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กรสมัยใหม่ และยังกลายเป็นเป้าหมายที่สำคัญทางธุรกิจทั้งนี้ จากดัชนีของ Citrix Global Workshifting พบว่า 93 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอทีได้ระบุอย่างชัดเจนว่ามีความตั้งใจที่จะสร้างสภาพแวดล้อมทางการทำงานที่ยืดหยุ่นในราวปี 2556 โดยมีปัจจัยด้านการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ และการเพิ่มความสามารถในการใช้พื้นที่ทำงานด้วยการแบ่งพื้นที่ทำงานตามปกติ กับพื้นที่ทำงานผ่านระบบเครือข่าย (logical workspace) ที่ชาญฉลาดเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ กลยุทธ์พื้นที่ทำงานแบบทางเลือกสามารถขจัดข้อจำกัดรูปแบบการทำงานในออฟฟิศแบบเดิมๆ ได้อีกด้วยขณะที่ดัชนีข้อมูลของ Citrix Global Security Index องค์กรมากกว่า 90% ต่างเห็นพ้องว่าเดสก์ท็อป เวอร์ชวลไลเซชั่นคือ หนึ่งในพื้นฐานที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องด้วยความปลอดภัย ตัวเทคโนโลยีช่วยสร้างรากฐานความเป็นส่วนตัว และความสอดคล้องต่อการปฏิบัติตามกฎ และข้อบังคับซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรที่กำลังอยู่ระหว่างการนำกลยุทธ์ "เวิร์กชิฟติ้ง" มาใช้จำเป็นต้องมีและทั้งหมดนี้ยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มพนักงานที่เชื่อมต่อเข้าระบบแบบระยะไกลจากบ้าน และจากเครือข่ายที่ไม่มีความปลอดภัย ซึ่งหากอุปกรณ์ที่ใช้ไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ การทำเวอร์ชวลไลเซชั่นจะช่วยลดความเสี่ยงขององค์กรลงเนื่องจากข้อมูลจะไม่ถูกจัดเก็บไว้ที่ปลายทาง เทคโนโลยีเดสก์ท็อป เวอร์ชวลไลเซชั่นสามารถช่วยให้ผู้ที่ต้องติดต่อประสานงานเชื่อมต่อในขอบเขตที่จำกัดเพื่อเข้าถึงข้อมูล และแอพพลิเคชั่นขององค์กร ในขณะที่ช่วยปกป้ององค์กรจากการคุมคามจากภายนอกด้วยการทำให้การทำงานสามารถเป็นไปได้จากทุกพื้นที่ รวมถึงการทำลายข้อจำกัดของสถานที่ตั้ง กลยุทธ์เวิร์กชิฟติ้งสามารถกลายมาเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขยายศูนย์รวมแรงงานให้กว้างขวางเพิ่มมากขึ้น องค์กรสามารถเฟ้นหากลุ่มคนที่มีความสามารถพิเศษในระดับต้นๆ อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงศูนย์รวมแรงงานที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าในเชิงกลยุทธ์เพื่อการลดค่าใช้จ่ายต่อไปในอนาคต ความจริงแล้ว ครึ่งหนึ่งขององค์กรในดัชนี "เวิร์กชิฟติ้ง" ตระหนักรู้ถึงความได้เปรียบที่จะได้รับจากกลยุทธ์ในการสร้างแรงดึงดูดใจในการทำงาน และการรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้กับองค์กรการทำงานแบบโมบายล์ยังช่วยให้พนักงานสามารถทำงานในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพวกเขา รวมถึงปริมาณงานที่ต่างได้รับมอบหมายด้วย การทำงานในรูปแบบดังกล่าวช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับพนักงานที่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานสูงสุด รวมถึงความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันในการทำงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มขอบเขตของเวลาในการทำงาน ยังมอบความยืดหยุ่นที่พวกเขาต้องการในการรักษาสมดุลชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัวได้อีกด้วย ผลที่ได้คือ ความพึงพอใจของพนักงาน และความสามารถขององค์กรในการเก็บรักษาพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรม ที่มีทักษะในการงานที่ดีเอาไว้ได้ รวมทั้งยังได้รับผลผลิตในการทำงานที่ดีของพนักงานอีกด้วย ในดัชนีของเวิร์กชิฟติ้ง จำนวน 64% ของผู้ที่ถูกตั้งคำถามต่างมีเป้าหมายเดียวกันคือ การเพิ่มปริมาณผลิตผลในการทำงานเป็นสำคัญนั่นเอง
|