กำเนิดสวนยางพาราในประเทศไทย
ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน
ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลุกยางกันมีผลดีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง
แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น
จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมา
หุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือ
ส่วนตัวของพระสถลฯรีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที
ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตัง
จังหวัดตรังซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่น
แรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือ
ผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย
จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วน
แต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย
และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา”
ขณะนี้มีการปลูกยางพาราไปทั่วทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 9 ล้านไร่ มีผู้ถือครองประมาณ 5 แสน
ครอบครัวและจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ รองลงมาจากข้าว ทำรายได้ให้กับประเทศ ปีละนับหมื่นล้านบาท พระยา
รัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดีได้รับการยกย่องและให้เกียรติเป็นนบิดาแห่งยางพาราไทยด้วยเหตุฉะนี้
|
จากการที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นคนทำงานจริง เข้าถึงปัญหาของ
ชาวบ้าน กล้าลงโทษคนทำผิด ปูนบำเหน็จความดี ให้แก่คนทำดี พยายามนำสิ่งใหม่ ๆ
ที่ได้พบเห็นในต่างประเทศมาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างมากมาย
ทั้งยังใช้นโยบายให้คนต่างชาติมมาลงทุน และมีเงื่อนไขการแลกเปลี่ยน โดยไม่ให้
ส่วนรวมเสียเปรียบซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ไว้นี้ เป็นพื้นฐานอันส่งผลประโยชนน์
มหาศาล มากกระทั่งทุกวันนี้
อนุสาวรีย์ หล่อใหญ่กว่าตัวจริงของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี สร้างขึ้น
ที่ตำหนักผ่อนกาย ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรังและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน
พุทธศักราช 2494 หลังจากท่านถึงแก่อนิจกรรม 39 ปี นอกจากอนุสาวรีย์นี้แล้ว
ถนนสายต่าง ๆ ทั้งในภูเก็ต ตรัง กันตัง ก็ตั้งชื่อตามพระยารัษฎา เช่น ถนนรัษฎา
ถนนรัษฎานุสรณ์ เป็นต้นเพื่อเป็นสิ่งที่ระลึกถึงเกียรติคุณของท่าน ให้เยาวชนรุ่นหลัง
ระลึกถึงตลอดไป
|
เข้าชม : 1431
|