วันที่ 14 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันผู้บริจาคโลหิตโลก เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ชาวออสเตรีย ผู้ค้นพบหมู่โลหิตระบบเอบีโอ โดยท่านผู้นี้มีความสำคัญยิ่งต่องานบริการ โลหิตของโลกและยังเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์อีกด้วย องค์การอนามัยโลก (WHO) สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) สหพันธ์ผู้บริจาคโลหิตระหว่างประเทศ (FIODS) และสมาคมบริการโลหิตระหว่างประเทศ(ISBT) จึงได้เชิญชวนให้สภากาชาดทั่วโลกจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อขอบคุณผู้บริจาคโลหิต
ทุกคนควรทราบหมู่โลหิต (กรุ๊ปเลือด) ของตนเอง
การ ทราบว่าตนเองมีหมู่โลหิตอะไร เพราะจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการรับโลหิตและการบริจาคโลหิตในกรณีเร่งด่วน ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญที่ทุกคน ควรทราบ ได้แก่ หมู่โลหิตระบบ ABO และระบบ Rh ค่ะตัวบ่งบอก หมู่โลหิตระบบ Rhจะมี 2 หมู่ แบ่งตามสารโปรตีนที่ฉาบอยู่บนผิวของเม็ดโลหิตแดง ซึ่งเรียกว่า สารโปรตีน ดี (Antigen-D) ถ้ามีสารโปรตีน ดีอยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง เราเรียก Rh+ ถ้าไม่มี เรียกว่า Rh- สำหรับในประเทศไทย คนไทยเรามากกว่า 99% มีหมู่โลหิตแบบ Rh+ และมีแค่ไม่ถึง 1% ที่เป็นแบบ Rh- (Club25of Thailand.com, 2012)
มีสถิติที่น่าสนใจ คือ
· ทุก ๆ ปี มีการบริจาคโลหิตถึง 107 ล้านครั้งต่อปี
· ร้อยละ 65 ของการถ่ายโลหิตในประเทศรายได้ต่ำ ถูกใช้ไปกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
· เป้าหมายขององค์การอนามัยโลก คือ ในปี ค.ศ. 2020 จะเป็นปีเป้าหมายสำหรับทุก ๆ ประเทศ เพื่อให้ได้รับโลหิตเต็มร้อยละ 100 จากอาสาสมัครบริจาคโลหิต