สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลควนธานี
สภาพทั่วไป
1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
กศน.ตำบลควนธานี (องค์การบริหารส่วนตำบลควนธานี) ตั้งอยู่เลขที่ 121/1 หมู่ที่ 2 ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ห่างจากที่ว่าการอำเภอกันตังไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลโคกยาง ตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง
- เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลควนธานี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11.016 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,885 ไร่
- ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปมีสภาพเป็นที่ราบลุ่ม ๆ ดอนๆ คล้ายลูกคลื่น ซึ่งกระจายไปทั่วทั้งตำบล พื้นที่ส่วนใหญ่จึงใช้เพื่อทำการเกษตร
1.2 เขตการปกครอง
ตำบลควนธานี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน มีชื่อเรียกดังนี้
หมู่ที่ 1 ชื่อบ้านเกาะยาว
หมู่ที่ 2 ชื่อบ้านควนธานี
หมู่ที่ 3 ชื่อบ้านบ่อหลาโอน
หมู่ที่ 4 ชื่อบ้านนาใน
หมู่ที่ 5 ชื่อบ้านบินหยี
หมู่ที่ 6 ชื่อบ้านบางหมากน้อย
ประวัติตำบลควนธานี
จากอดีตย้อนไปในปี 2354 ปรากฏหลักฐานพอคะเนได้ว่า ในช่วงรัชกาลที่ 2 (สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า- นภาลัย) ตั้งหลวงอุไภยธานีเป็นผู้พยาบาล เมืองตรัง หลวงอุไภยธานีเป็นบุตรเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ในปี พ.ศ.2345 ปรากฏจากทำเนียบกรมการเมืองตรังว่า หลวงอุไภยธานีได้เป็น พระอุไภยธานี โดยมีตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรังเป็นคนแรก และได้สร้างหลักเมืองตรัง ที่ตำบลควนธานี (ปัจจุบันศาลหลักเมืองตรัง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ) หลวงอุไภยธานี ได้จัดให้สร้างศาลหลักเมืองตรังขึ้น ซึ่งในอดีตศาลหลักเมืองเป็นเพียงเพิงสังกะสีเล็กๆ สภาพชำรุดมองไม่เห็นเสาหลักเมืองเพราะมีปลวกขึ้นมาแทนที่ เมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรังแล้วได้พิจารณาเห็นว่าที่ตั้งเมืองตรัง ที่ตำบลควนธานีนั้นอยู่ห่างจากฝั่งทะเล มากไม่เหมาะกับการขยาย ความเจริญของบ้านเมือง จึงได้กราบบังคมทูลขอย้ายที่ตั้งเมืองจากตำบลควนธานีไปตั้งที่ตำบลกันตัง ปี พ.ศ. 2436 ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
ในปี พ.ศ.2535 ได้มีการจัดบูรณะครั้งใหญ่ เนื่องจากเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จังหวัดตรังได้บูรณะศาลหลักเมืองให้อยู่ในสภาพที่สง่างามเป็นสัญลักษณ์ว่า ณ ควนธานีแห่งนี้ คือที่ตั้งเมืองตรังในอดีต มีการประกอบพิธีนำต้นราชพฤกษ์ไปเป็นเสาหลักเมืองตรัง พ.ศ.2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมและทรงสุหร่ายยอดเสาหลักเมืองตรัง ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้อันเชิญยอดเสาหลักเมืองตรังกลับจังหวัดตรังและในปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เปิดศาลหลักเมืองตรัง จวบจนในปี พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา จังหวัดตรังร่วมกันหน่วยงานต่างๆ จัดบูรณะศาลหลักเมืองตรังและจัดพิธีสมโภชเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชครบ 60 พรรษา |
ห้องสมุดชุมชน/มุมหนังสือประจำหมู่บ้าน/ชุมชน
๑) ชื่อห้องสมุดชุมชน/มุมหนังสือ มุมหนังสือภายในบ้าน
สถานที่ตั้ง ม.๑ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ผู้รับผิดชอบ นางสาวบุญลอด แก้วผาสุข
๒) ชื่อห้องสมุดชุมชน/มุมหนังสือ มุมหนังสือภายในบ้าน
สถานที่ตั้ง ๕๐ ม.๑ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ผู้รับผิดชอบ นางสาวเยาวเรช จำปา
๓) ชื่อห้องสมุดชุมชน/มุมหนังสือ มุมหนังสือภายในบ้าน
สถานที่ตั้ง ม.๔ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ผู้รับผิดชอบ นางสาวสุกัญญา โชติกมาศ
๔) ชื่อห้องสมุดชุมชน/มุมหนังสือ มุมหนังสือภายในบ้าน
สถานที่ตั้ง ๕๔ ม.๔ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ผู้รับผิดชอบ นางเพียงจิตร บุญคุ้ม
๕) ชื่อห้องสมุดชุมชน/มุมหนังสือ มุมหนังสือภายในบ้าน
สถานที่ตั้ง ศาลาเอนกประสงค์บ้านบางหมากน้อย ม.๖ ตำบลควนธานี
อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ผู้รับผิดชอบ นางอารีย์ มณีรัตน์
|
|