[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
๖ เมษายน ๒๕๕๗ วันจักรี

อาทิตย์ ที่ 6 เดือน เมษายน พ.ศ.2557




ประวัติความเป็นมาของวันจักรี

วันจักรี Chakri Day ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี
เป็นวันที่ระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์

ประวัติการตั้งชื่อวันจักรีมีว่า เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย มาจนทุกวันนี้
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ( ร.1-4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น
ในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง 4 (ร.1-4) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5? พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรด ฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่า วันจักรี

ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่างๆ

ราชวงศ์จักรี

ตราราชวงศ์จักรี

ตราประจำรัชกาลที่ ๑

“มหาอุณาโลม” เป็นตรางา
ลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ “อุ” อยู่ตรงกลาง
(“อุ” มีลักษณะ เป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า “ด้วง”)
ตรามหาอุณาโลมนี้ หมายถึงตาที่สามของพระอิศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ ล้อมด้วยกลีบบัว ซึ่งเป็นพฤกษชาติที่เป็นสิริมงคล
ทางพระพุทธศาสนา

ตราประจำรัชกาลที่ ๒

“ครุฑจับนาค” เป็นตรางา
ลักษณะกลม รูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ฉิม” ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ

ตราประจำรัชกาลที่ ๓

“มหาปราสาท” เป็นตรางา
ลักษณะกลม รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ทับ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระลัญจกรเป็นรูปปราสาท

ตราประจำรัชกาลที่ ๔

“พระมหาพิชัยมงกุฎ” เป็นตรางา ลักษณะกลมรี รูปพระมหามงกุฎ (ตามพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ) อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือ เพชรข้างหนึ่ง (พระแว่นสุริยกานต์ หรือ เพชร หมายถึง พระฉายา เมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาณ)
อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา (หมายถึง ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์ และดาราศาสตร์)

ตราประจำรัชกาลที่ ๕

“พระจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว” เป็นตรางา
ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. มีรูปพระเกี้ยวยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น (หมายถึงพระเกี้ยวเจ้าฟ้าในคราวโสกัณฑ์) เคียงด้วยฉัตรปริวาร ๒ ข้าง ที่ริมขอบทั้ง ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง
อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา(เป็นการเจริญรอยจำลอง พระราชลัญจกร ของรัชกาลที่ ๔)

ตราประจำรัชกาลที่ ๖

“มหาวชิราวุธ” เป็นตรางา
ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. รูปวชิราวุธ มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น ตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง (รูปตรานี้ใช้ตามพระนามของพระองค์ คือ วชิราวุธ ซึ่งหมายความถึงศัตราวุธของพระอินทร์)
ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

ตราประจำรัชกาลที่ ๗

“พระไตรศร” เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๔ ซม. ยาว ๖.๗ ซม. รูปราวพาดพระแสงศร ๓ องค์
คือ พระแสงศรพรหมศาสตร์, พระแสงศรอัคนีวาต และพระแสงศรประลัยวาต
(เป็นศรของพระพรหม, พระนารายณ์ และของพระอิศวร ซึ่งใช้ตามความหมายของพระนามเดิมคือ “ประชาธิปกศักดิเดชน์” คำว่า “เดชน์” แปลว่า “ลูกศร”)
 เบื้องบนมีรูปพระแสงจักรและพระแสงตรีศูร อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ มีบังแทรกตั้งอยู่ ๒ ข้าง มีลายกนกแทรกอยู่ระหว่างพื้น
ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

ตราประจำรัชกาลที่ ๘

“รูปพระโพธิสัตว์” เป็นตรางา
ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง ๗ ซ.ม. รูปพระโพธิสัตว์ประทับบน
บัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วด้านหลังแท่นรัศมี มีแท่น
รองรับตั้งฉัตร บริวาร ๒ ข้าง (รูปพระโพธิสัตว์นี้เดิมเป็นตราประจำในพระราชวังดุสิต) เป็นสัญลักษณ์ปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล แปลความหมายว่า
เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน
ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

ตราประจำรัชกาลที่ ๙

“พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์” เป็นตรางา ลักษณะรูปไข่ กว้าง ๕ ซ.ม. สูง ๖.๗ ซ.ม.
รูปพระที่นั่งอัฎทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ “อุ” รอบๆ มีรัศมี
(วันบรมราชาภิเษกได้เสด็จได้เสด็จประทับที่นั่งอัฎทิศ)
แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน
ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นเมื่อวันบรมราชาภิเษก สำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน


พระราชประวัติพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2327 – 2352)

      พระนามเดิม ทองด้วง เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระอักษรสุนทรทองดี) ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2378 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ ได้สมรสกับธิดาคหบดีบ้านอัมพวา ตำบลบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในพ.ศ. 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ได้กู้อิสรภาพและสร้างกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้เข้ารับราชการกับ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงพระปรีชาสามารถในการรบจนเป็นที่โปรดปราน นับเป็นขุนพลคู่พระทัยฝ่ายขวา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพในสงครามครั้งสำคัญหลายครั้ง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ใน พ.ศ. 2319  พ.ศ. 2325 เกิดจลาจลขึ้นในบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงปราบปรามจนราบคาบ ข้าราชการทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันอัญเชิญขึ้นปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ต่อมาโปรดให้สร้างราชธานีใหม่ขึ้น ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานคร ทรงย้ายมาประทับในพระนครใหม่ใน พ.ศ. 2327 พระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ในรัชกาลได้แก่การสงครามเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุด คือ สงครามเก้าทัพ ในปี พ.ศ. 2327 การปกครองประเทศทรงจัดแบ่งตามแบบกรุงศรีอยุธยา และโปรดให้ ชำระกฎหมายบทต่างๆ ให้ถูกต้องและจารลงสมุดไว้เป็นหลักฐาน 3 ฉบับ
ทางด้านศาสนา โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. 2331 และจารฉบับทองประดิษฐานไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามและพระพุทธรูปต่างๆ เป็นอันมาก
ทางด้านวรรณคดีและศิลปกรรม ทรงฟื้นฟูวรรณคดีไทยซึ่งเสื่อมโทรมตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกให้ กลับคืนดีอีกวาระหนื่ง ทรงส่งเสริมและอุปถัมภ์กวีในราชสำนัก บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ เช่น บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น งานทางด้านศิลปกรรมนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้าง พระอารามเป็นจำนวนมาก เป็นการเปิดโอกาสให้ช่างฝีมือด้านต่างๆ มีงานทำและได้ผลิตงานฝีมือชิ้นเอกไว้
ปัจจุบันมีวันที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือ วันที่ระลึกมหาจักรี ได้แก่วันที่ 6 เมษายนของทุกปี จะมีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า


 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2310 – 2367)

     มีพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระโอรสพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอม รินทราบรมราชินี ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เมื่อยังทรง พระเยาว์ ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยในสำนักสมเด็จพระวนรัต (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ ด้านวิชาการรบ สำหรับขัตติยราชกุมารนั้น พระองค์ได้ทรงศึกษาจากประสบการณ์ที่เป็นจริง กล่าวคือได้ทรงตามเสด็จ พระบรมชนกนาถไปในราชการสงครามทุกครั้ง ซึ่งพระปรีชาสามารถและความจัดเจนนี้ย่อมเป็นที่ ประจักษ์ จนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ท่านขึ้นเป็นกรมพรราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชแทน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระ องค์ที่ 2 แห่งพระราชวงศ์จักรี เมื่อ พ.ศ. 2352
พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงเริ่มทำเร่งด่วนครั้งแรกคือ การรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายกันอยู่ตั้งแต่ครั้ง กรุงแตกให้อยู่ตั้งมั่นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของประเทศ โดยออกพระราชกำหนดสักเลข และ ทำทะเบียนราษฎรอย่างจริงจัง และได้ทรงผ่อนผันการเข้าเดือนเหลือเพียงปีละ 3 เดือน คือ เข้าเดือนออก สามเดือน นอกจากนี้ยังได้ทรงออกกฎหมายฉบับสำคัญอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า พระราชกำหนดเรื่องห้าม สูบฝิ่น ขายฝิ่น  ในการทำนุบำรุงความเจริญของบ้านเมืองก็มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ และได้มีการแต่ง สำเภาไปค้าขายยังเมืองต่างๆ และเมืองจีนมากขึ้น ทำให้การเศรษฐกิจของชาติดีขึ้นมาก และเหตุที่มีการ แต่งเรือสำเภาไปค้าขายต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เกิดการใช้ธงประจำชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำสัญญลักษณ์ช้างเผือกสำคัญที่ได้มาสู่พระบารมี 3 เชือก ประทับลงบนธงสีแดง ธงประจำชาติไทยจึงมีขึ้นเป็นครั้งแรก  ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุง ตลอดจนทรงเป็นกษัตริย์ศิลปินโดยแท้จริง
 

 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 – 2394)

      มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2330 ต่อมาได้รับ สถาปนาพระอิสริยยศ เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระองค์ทรงเริ่มปฏิบัติราชการมาตั้งแต่ ่สมเด็จพระบรมชนกนาถ ยังดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัตพระราชกรณียกิจ ต่างพระเนตรพระกรรณหลายประการ พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงบำเพ็ญในรัชกาลที่ 2 ได้แก่ ราชการในกรมท่าซึ่งมีหน้าที่ด้านการค้าและสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เงินผลประโยชน์ จากการค้าสำเภาของพระองค์ครั้งนี้ ต่อมาได้นำมาใช้ในภาวะคับขันของบ้านเมือง ด้านการป้องกันพระนคร ได้ทรงเป็นแม่กองอำนวยการสร้างป้อมปราการ ด้านชายทะเลตะวันออก และเป็นแม่ทัพยกไปตีขัดตาทัพพม่า ที่ตำบลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลา 1 ปี  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัติใน พ.ศ. 2367 ทรงทำนุบำรุง ประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ โปรดให้ปรับปรุงการค้าขายกับต่างประเทศ และ ระเบียบวิธีการเก็บภาษีอากรต่างๆ ด้านความมั่นคง โปรดให้สร้างป้อมปราการตามหัวเมืองสำคัญและ ตามชายฝั่งทะเล ตลอดจนต่อเรือรบเรือกำปั่นไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการปราบปราม ผู้ก่อความไม่สงบต่อแผ่นดินอย่างเด็ดขาด เป็นต้นว่า การปราบปรามเวียงจันทน์ ญวน และหัวเมืองปักษ์ ใต้ ทั้งยังทรงยกฐานะหมู่บ้านต่างๆ ขึ้นเป็นเมืองเพื่อขยายความเจริญในการปกครอง ด้านศาสนา ทรง บำเพ็ญพระราชกุศลเป็นนิจ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการสอนพระ ปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ และโปรดให้จารึกสรรพตำราต่างๆ 8 หมวดบนแผ่นศิลา ประดับไว้ ณ ศาลาราย ในวัดพระเชตุพนฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน เสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ด้าน วรรณกรรมนั้นทรงเป็นกวีด้วยพระองค์เอง และทรงส่งเสริมผู้มีความรู้ด้านนี้ ส่วนงานด้านศิลปกรรมนับ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสร้าง บูรณะปฏิสังขรณ์พระอาราม มีผู้กล่าวว่า ลักษณะศิลปกรรมในรัชกาลที่ 3 เป็นแบบที่งดงามยิ่ง เพราะหลังจากนี้ศิลปกรรมไทยรับอิทธิพลศิลปตะวันตกมากเกินไป   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงสิริราชสมบัติได้ 26 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระชนมายุ 63 พรรษา


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 – 2411)

ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สอง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เมื่อพระชน มายุ 13 พรรษา ประกอบพระราชพิธีโสกันต์อย่างใหญ่ หลังจากนั้นทรงผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยศอย่างมาก เมื่อพระชนม์ครบอุปสมบททรงผนวชอีกครั้ง และการทรงผนวชครั้งนี้ ต้องทรงผนวชอยู่นานตลอดรัชกาลที่ 3 ระหว่างทรงผนวช จำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส ได้ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างชำนิชำนาญ เช่น วิชาการ โหราศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ตลอดจนทรงแตกฉานในพรไตรปิฎกเป็นอย่างมาก ขณะทรงผนวชทรงพิจารณาเห็นการปฏิบัติสงฆ์หย่อนยาน จึงทรงตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่สงฆ์ที่เคร่งครัดการปฏิบัติต่อไป   ใน พ.ศ. 2344 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จสวรรคต บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งปวง ได้พร้อมกันอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งบรมราชจักรีวงศ์
หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ผู้เริ่มศักราชการติดต่อกับนานาอารยประเทศทั้งปวงอย่างจริงจัง ดังจะเห็นได้จากการ ที่ประเทศต่างๆ ส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และติดต่อค้าขาย และพระองค์ได้ทรงแต่งคณะทูต ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีตอบแทนหลายครั้ง เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส เดน มาร์ค ฯลฯ ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาศิลปวิทยาการใหม่ๆ เช่น วิชาการต่อเรือใบ เรือกลไฟ เรือรบ การฝึกทหารอย่างยุโรป การยกเลิกธรรมเนียมที่ล้าสมัยบางประการ เช่น ประเพณีการเข้าเฝ้าให้ใส่เสื้อเข้าเฝ้า การให้ประชาชนเฝ้าแหนรับเสด็จตลอดระยะรายทางเสด็จได้ ฯลฯ พระปรีชาสามารถส่วนพระ องค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ วิชาการด้านโหราศาสตร์ และดาราศาสตร์ ทรงสามารถคำนวณระยะเวลา การเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ดังได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระราชอาคันตุกะทั้งปวง ไปชม สุริยุปราคาที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2411  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเสวยสวรรยราชสมบัติอยู่ 18 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือนสิบเอ็ด ขึ้น 15 ค่ำ จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411) สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา
 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 – 2453)

      ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งด้านอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี วิชาการสงคราม และการปกครอง ทั้งยังทรงใฝ่พระทัยศึกษาพระธรรมวินัย ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2409 และเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะทรงมี พระชนมพรรษาเพียง 16 ปี โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราช การแทนพระองค์ จนทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2416 เสด็จ ครองราชย์นานถึง 42 ปี สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นนักปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศ จากแบบเก่ามาสู่แบบใหม่ ทรงเป็นผู้นำในการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบสังคม และ ระบอบการปกครองของไทยให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เช่น ทรงยกเลิกประเพณีการเฝ้าแหนแบบโบราณ มาเป็นการยืนถวายบังคมแบบตะวันตก ทรงยกเลิกการไต่สวนพิจารณาคดีแบบจารีต นครบาลมาเป็นการไต่สวนพิจารณาคดีในศาลแบบปัจจุบัน ทรงยกเลิกระบบทาสได้อย่างละมุนละม่อม ทรงจัดการศึกษาแผนใหม่ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นทั้งในพระบรมมหาราชวังและตามวัดต่างๆ โปรดให้ ปรับปรุงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น การประปา การรถไฟ และการไปรษณีย์-โทรเลข ทางด้านศาสนา ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทรงปรับปรุงระบอบการปกครองโดย เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้าน มีชวา สิงคโปร์ และอินเดีย เพื่อทรงศึกษาการปกครองแบบตะวันตกที่ นำมาประยุกต์ใช้ในประเทศตะวันออก แล้วทรงปรับปรุงการปกครองของไทยให้ทันสมัย โดยทรงแบ่ง ส่วนราชการการบริหารราชการส่วนกลางเป็น 12 กระทรวง และแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นมณฑล พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงดำเนินวิเทโศบายอย่างสุขุม คัมภีรภาพ ทรงผ่อนปรน ยอมสูญเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ประเทศมหาอำนาจที่แสวงหาอาณานิคมอยู่ในขณะนั้น เพื่อรักษาเอกราชของประเทศไว้ ทรงเป็นที่รักของประชาชนทุกชั้น จนทรงได้รับพระสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิย มหาราช
ทรงเลิกทาส   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชหฤทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิ คุณแก่พสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงเห็นการณ์ไกล และตระหนักในความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข ของบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะเป็นผลสำเร็จได้ต้องทำให้คนไทยได้เป็นไท ไม่มีทาสอีกต่อไป พระองค์จึงได้ทรงดำเนินการเลิกทาสโดยมิให้กระทบกระเทือนถึงเจ้าของทาสและทาส ด้วยพระราช หฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะอย่างยิ่งเป็นเวลาถึง ๓๐ ปี ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จลงตามพระราช ปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้ การเสด็จประพาสต้นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระทัยในทุกข์สุข ของอาณาประชาราษฎร์คือ การเสด็จประพาสต้น เป็นการเสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างง่ายๆ โดยไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองจัดทำที่ประทับแรม เมื่อพอพระราชหฤทัยจะประทับที่ใดก็ประทับที่นั้น บางครั้งก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จโดยสารรถไฟไป โดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ ทำให้ได้ประทับปะปนในหมู่ ราษฎร ทรงทราบทุกข์สุขของราษฎรจากปากราษฎรโดยตรง ทำให้ได้ทรงแก้ไขปัดเป่าความทุกข์ยากให้ ราษฎรของพระองค์ได้ผลโดยตรง

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 – 2468)

      ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ทรงศึกษาภาษาไทยอย่างแตกฉาน แล้วจึงเสด็จไปศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2436 ขณะทรงมีพระชนม์พรรษาเพียง 14 ปี ต่อมาทรงเข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (Oxford) เสด็จนิวัติคืนสู่ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2445 รวมเวลาประทับ ณ ประเทศอังกฤษถึง 9 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จครองราชย์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สวรรคต เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมสิริราชสมบัติ 16 ปี

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินนโยบายการปกครองสืบต่อจาก สมเด็จพระบรมชนกนาถ ในรัชสมัยของพระองค์ การศึกษาของชาติเจริญก้าวหน้ามาก ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย การพระศาสนาเจริญสูงขึ้น ทรงทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และขยายการศึกษาของสงฆ์ให้กว้างขวาง การคมนาคม เช่น การรถไฟ สะดวกสบายขึ้นมาก ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศได้ อย่างถูกต้อง เห็นการณ์ไกล โดยทรงนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งทหารเข้าช่วยฝ่ายสัมพันธ มิตรรบในสมรภูมิยุโรป ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และยังทำให้ประเทศได้รับผลประโยชน์ ด้านต่างๆ ในฐานะประเทศชนะสงคราม พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงบำรุงกำลังรบและปลุกใจ พลเมืองให้รักชาติ ทรงวางระเบียบแบบแผนการทหารแบบยุโรป ทรงจัดตั้งกองทัพอากาศเพิ่มขึ้นอีก กองทัพหนึ่ง ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและกองลูกเสือเพื่อปลุกใจพลเมืองให้รักชาติ นอกจากจะทรงเป็นนักการปกครองที่เล็งเห็นการณ์ไกลแล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในเชิงอักษรศาสตร์ ดังจะเห็นได้ จากพระราชนิพนธ์คำประพันธ์ทุกชนิดในทุกด้าน เช่น ปลุกใจเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร โคลงสยามานุสติ เป็นต้น รวมเป็นพระราชนิพนธ์เกินกว่า 200 เรื่อง สมดังที่มหาชนชาวไทยถวายพระนามว่า พระมหาธีรราชเจ้า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบว่าราษฎรเบื่อหน่ายการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็โปรดให้สร้างบ้านเมืองจำลองขึ้นเรียกว่า ดุสิตธานี เพื่อเป็นโรงเรียนสอน เสนาบดีและอำมาตย์ราชบริพารให้รู้จักการปกครองแบบประชาธิปไตย ทรงโปรดให้กระทรวงมหาดไทย เตรียมร่างกฎหมายปกครองท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลอย่าง แท้จริง แต่เสนาบดีบางท่านเห็นว่ากฎหมายนี้ให้สิทธิแก่ราษฎรกว้างขวางเกินไป เรื่องจึงค้างพิจารณา จน กระทั่งเสด็จสวรรคต

 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 – 2477)

      ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ พระนามทั่วไปเรียกว่า ทูล กระหม่อมเอียดน้อย

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ

       เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ครั้นเจริญวัยทรงศึกษาวิชาการทหารม้าปืนใหญ่ แห่งกองทัพอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการในกองทัพบกไทย ต่อมาได้ไปศึกษาวิชา ฝ่ายเสนาธิการ ประเทศฝรั่งเศส ทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2460 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี เมื่อ พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งในกองทัพบก ในรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และผู้บังคับการพิเศษทหารปืน ใหญ่ที่ 2 ระยะนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมผู้ สืบราชสมบัติต่อ ซึ่งตกแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. 2467 ทรงได้ศึกษาวิชา การปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดิน ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมและหน้าที่ราชการของพระเจ้าแผ่น ดินจากหนังสือราชการที่สำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ได้ตระหนักว่า ประชาธิปไตยในประเทศไทย เกิดขึ้นอย่างแจ่มชัดมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เพียงแต่ยังมิได้เป็นทางการ เท่านั้น
       ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. 2468 พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ทรงมีพระราชกรณียกิจสรุปได้ดังนี้ เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลย์อย่างดีที่สุด โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน
       การศึกษา ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้
        การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ด้านการปกครอง ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราช ทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวใน โลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้ พระองค์จึงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รวมเวลาครองราชย์ 9 ปี พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา

 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 – 2489)

      ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี พระองค์ไม่เพียงแต่ทรงพระราชสมภพในต่างประเทศ เท่านั้น หากยังทรงต้องประทับอยู่ต่อมา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนก และพระราชชนนี เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชชนก ประทับทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่ในขณะนั้น ทรงศึกษาวิชาเบื้องต้นในประเทศไทย แล้วเสด็จไปทรงศึกษา ต่อ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ทรงขึ้นครองราชยสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 นั้น คณะรัฐบาลด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร จึงอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์สยามินทราธิราช ขณะทรงมีพระชนมายุ 9 พรรษา โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
      ระหว่างประทับทรงศึกษาอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันท มหิดลได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2481 และปี พ.ศ. 2488 ถึงแม้จะทรง เป็นยุวกษัตริย์ แต่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทยได้อย่างดียิ่ง ทรงโปรดที่จะ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง เพื่อทรง เยี่ยมประชาชนชาวจีนและอินเดียในบริเวณนั้น เป็นผลให้ความแตกแยกระหว่างประชาชนชาวไทยและจีน ซึ่งมีขึ้นก่อนหน้านั้นระงับไปได้ด้วยพระปรีชาอันสามารถ
      สวรรคต ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยครั้งที่ 2 นั้น โดยมิได้คาดฝันพระองค์เสด็จสวรรคต เพราะถูกพระแสงปืน ณ พระแท่นบรรทมในพระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากเสวยราชสมบัติอยู่เป็น เวลา 12 ปีเท่านั้น

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

ทรงพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสทท์ ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระอนุชาของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ทรงศึกษาวิชาสามัญชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี แล้วเสด็จไปประทับและศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ ในปี พ.ศ. 2481 พระองค์ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลนิวัติประเทศไทย ประมาณ 2 เดือน ก็เสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2488 จึง ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล กลับประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ จากนั้นทรงเสด็จกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับประเทศไทย พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 และทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 จากนั้นทรงเสด็จไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับ พ.ศ. 2494 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยาม มกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

แม้ว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จะลดลงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ยังคงพยายามปฏิบัติพระราชภารกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ใน ด้านต่างๆ คือ ทางด้านเศรษฐกิจ ทรงพยายามช่วยเหลือ โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม พระราช ทานความคิดในการประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไก ส่งเสริมการเลี้ยงไหม การประมง ป่าไม้ โครงการ เกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชักชวนให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น มาปลูกพืชผลและดอกไม้ ที่จะเป็นประโยชน์กว่า โครงการเกษตรกรรมที่หุบกระพง ประจวบคีรีขันธ์
ทางด้านสังคม เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ อย่างทั่วถึง ทรงก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน ทรง ตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน มูลนิธิพัฒนาอนามัย มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา ฯลฯ
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ทรงฟื้นฟูสืบทอดประเพณีหลายอย่างเพื่อเป็นขวัญ เช่น พระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น
ด้านศาสนา ทรงออกผนวชตามพระราชประเพณี เมื่อ พ.ศ. 2495 ทรงอุปถัมภ์การทำนุบำรุง ศาสนาทุกด้าน เช่น การสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า และการบำเพ็ญกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนาที่ประชาชนนับถือ ด้านการเมืองการปกครอง เนื่องจากฐานะของพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใตัรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีบทบาทโดยตรงทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติทรงเป็นประมุข ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการปกครอง ทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของประชาชน เวลาที่เกิดวิกฤตการณ์หรือ ความไม่มั่นใจในชาติ ดังเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยามที่เดือดร้อนที่สุด ประชาชนก็ไปขอ รับพระราชทานความร่มเย็นจากพระองค์ พระองค์ยังทรงเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนชาวไทยเสมอมา

image

วันจักรี (6 เมษายน)



 


เข้าชม : 625


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      ๓ มิถุนายน วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 14 / มิ.ย. / 2567
      กศน.ตำบลนาพละ เมืองตรัง รับสมัครนักศึกษาใหม่ ออนไลน์ ภาคเรียนที่ 1/2563 วันที่ 1-30 เมษายน 2563 สมัครเรียน ติดต่อคุณครู ปรียานุช สีทองเที่ยว 084-0509929 9 / เม.ย. / 2563
      การติดตั้งโปรแกรมบัญชีรายบุคคล SmartAcc สำหรับระบบปฏิบัติการ Android 10 / ธ.ค. / 2558
      นายพงศ์ศักดิ์ ปานศรี ครู กศน.ตำบลนาพละ เข้าอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพ ครู กศน. เพื่อขับเคลื่อนโครงการ TO BE NUMBER ONE 9 / ธ.ค. / 2558
      ครู และ นักศึกษา กศน.ตำบลนาพละ ร่วมวางพานพุ่มเงิน พานพุ่มทอง และจุดเทียนชัยถวายพระพร 5 / ธ.ค. / 2558


 
กศน.ตำบลนาพละ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตรัง
ที่อยู่ : กศน.ตำบลนาพละเลขที่ 28/1  หมู่ที่  2  บ้านหนองช้าง  ตำบลนาพละ  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง
เบอร์โทร  :   083-6909455
e-mail :preeyanuch.s1982@gmail.com


สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05