วันปีใหม่ของไทย
ความหมายของ วันปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ในอดีต วันปีใหม่ ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้ง
- ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็น วันปีใหม่ ซึ่ง ตรงกับ เดือนมกราคม
- ครั้งที่ 2 กำหนดให้ วันปีใหม่ ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับ เดือนเมษายน
**การกำหนด วันปีใหม่ ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก
**ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน
- โดยครั้งที่ 3 วันที่ 1 เมษายน เป็น วันปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอา วันสงกรานต์ เป็น วันปีใหม่ อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่า วันปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงาน วันปีใหม่ ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยน วันปีใหม่ อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยน
- ครั้งที่ 4 วันปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้ วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันปีใหม่ เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยน วันปีใหม่ จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
เข้าชม : 935
|