วันอุตุนิยมวิทยาโลก ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันก่อตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2416 จึงถือวันดังกล่าวเป็น วันอุตุนิยมวิทยาโลก เพื่อให้สมาชิกแต่ละประเทศร่วมระลึกถึงการก่อตั้งองค์การ
ปัจจุบันโลกเราประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อน หรืออากาศไม่เป็นไปตามฤดูกาล พายุต่าง ๆ อุทกภัย หรือแม้กระทั่งแผ่นดินไหว ซึ่งถาโถมสู่ทุกอาณาบริเวณหลายพื้นที่ในโลก ด้วยเหตุนี้ทางสหประชาชาติได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การหนึ่งที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสภาพอากาศทั่วโลก เก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงสภาวะทางภูมิอากาศของทุกพื้นที่และให้คำทำนายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศของทุกพื้นที่ ภายใต้ชื่อว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก WMO - WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เดิมมีชื่อว่า International Meteorological Organization หรือ IMO ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1873 (พ.ศ. 2416) และมีการกำหนดให้ทุกวันที่ 23 มีนาคม ของทุก ๆ ปี เป็นวันอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Day) ซึ่ง International Meteorological Organization หรือ IMO ได้เปลี่ยนชื่อเป็น WMO - WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION เมื่อปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) และในปีเดียวกันนั้นเอง ประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกองค์การ WMO
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เดิมมีชื่อว่า International Meteorological Organization หรือ IMO ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1873 (พ.ศ. 2416) และมีการกำหนดให้ทุกวันที่ 23 มีนาคม ของทุก ๆ ปี เป็นวันอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Day) ซึ่ง International Meteorological Organization หรือ IMO ได้เปลี่ยนชื่อเป็น WMO - WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION เมื่อปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) และในปีเดียวกันนั้นเอง ประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกองค์การ WMO
สำหรับองค์การอุตุนิยมวิทยา มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิก 189 ประเทศ ภารกิจหลัก ๆ คือทำหน้าที่ตรวจเฝ้าติดตามสภาพดินฟ้าอากาศพร้อมกันทุกแห่งทั่วโลก มีหน้าที่ป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ ที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นพิภพ ตลอดจนสำรวจสภาพชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมโลกมนุษย์ การให้บริการด้านการพยากรณ์เพื่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน การขนส่งทางทะเล การเกษตรกรรม การจัดสรรทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ตลอดจนทำข้อตกลงเกี่ยวกับเวลา, หน่วยตรวจวัด, รหัสอุตุนิยมวิทยา อีกทั้งวิธีการต่าง ๆ ในการรวบรวมข้อมูลและกระจายข่าวสารออกไป รวมไปถึงการค้นคว้าเทคนิคใหม่ ๆ ร่วมกันกับสมาชิก
และทุก ๆ วันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี จะมีการจัดเฉลิมฉลอง "วันอุตุนิยมวิทยาโลก" เพื่อให้สมาชิกแต่ละประเทศร่วมระลึกถึงการก่อตั้งองค์การสำคัญดังกล่าว และจัดกิจกรรม พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการอุตุนิยมวิทยา ภายใต้หัวข้อที่ชื่อว่า "การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ" เนื่องจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศและน้ำโดยตรง ซึ่งทาง WMO และหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ จะหาวิธีช่วยกันเตรียมป้องกัน และบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งภัยอื่น ๆ ที่เกิดอย่างฉุกเฉินอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงในรอบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ
ทั้งนี้ปัญหาสภาพอากาศที่สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมาก็คือ ปัญหาโลกร้อนอันเนื่องมาจากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่เรามักได้ยินข่าวว่า หลายประเทศในโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นทุก ๆ ปี
ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จาก NOAA พบว่าอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเฉลี่ยในปี 2559 ที่บันทึกมาตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 ถึง 2.07 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 1.50 องศาเซลเซียส ร้อนที่สุดนับตั้งแต่ปี 2423 ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยเหนือน้ำทะเลในปี 2559 ก็สูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน นี่จึงเป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนให้ทุกคนบนโลกใบนี้ตระหนักถึงสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้นเหตุส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของคนนี่เอง
ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จาก NOAA พบว่าอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเฉลี่ยในปี 2559 ที่บันทึกมาตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 ถึง 2.07 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 1.50 องศาเซลเซียส ร้อนที่สุดนับตั้งแต่ปี 2423 ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยเหนือน้ำทะเลในปี 2559 ก็สูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน นี่จึงเป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนให้ทุกคนบนโลกใบนี้ตระหนักถึงสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้นเหตุส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของคนนี่เอง