ประวัติวันตรุษจีน หรือวันปีใหม่จีนวันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
วันตรุษจีน ปี 2559 หรือ 2016 นี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559ประวัติวันตรุษจีน คำอวยพรวันตรุษจีน พร้อมคำแปล การ์ดตรุษจีนสวยๆ พร้อมส่ง รวมไว้แล้วที่นี่ค่ะ
วันตรุษจีน หรือเทศกาลตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองในวันปีใหม่ของชาวจีนประวัติวันตรุษจีน
เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศเกษตรกรรมมาแต่โบราณ เมื่อหมดหน้าหนาวที่ทำการเพาะปลูกไม่ได้ มาเข้าฤดูใบไม้ผลิที่อากาศดี จะได้เริ่มต้นทำนาทำสวน จึงมีการบวงสรวงต่อเทพยดา เซ่นไหว้บรรพบุรุษ อธิษฐานให้ได้พืชผลอุดมสมบูรณ์ ให้กิจการงานก้าวหน้า ตรงนี้น่าจะเป็นที่มาของตำนานการไหว้เจ้าในวันตรุษจีน ที่เรียกว่า “ ง่วงตั้งโจ่ย ” แต่เนื่องจากธรรมเนียมการไหว้วันตรุษจีนจะต่อเนื่องกันมาจากวันไหว้สิ้นปี และมีธรรมเนียมการทำความสะอาดบ้านก่อนหน้าอีกด้วย จึงขออธิบายเป็นเรื่องสืบเนื่องต่อกันว่า ฤดูวันทางจีนจะเป็นแบบจันทรคติ บางเดือนมี 29 วัน เรียกว่าเดือนสั้น หรือบางเดือนมี 30 วัน เรียกว่าเดือนยาวทำให้เดือน 12 ของแต่ละปี บางครั้งก็มี 29 วัน บางปีก็มี 30 วันกิจกรรมก่อนวันตรุษจีน ซื้อของมาใช้ในวันตรุษจีน
เทศกาลตรุษจีน
แต่คนไทยจะติดเป็นความเคยชินว่า วันสิ้นปีจะเป็นวันที่ 31 แต่ของจีนจะไม่ใช่ พอใกล้ ๆ จะสิ้นปี ชาวจีนจะนิยมทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ เรียกว่า ล้างบ้าน พานหยากไย่กันแทบทุกซอกมุม ครั้งพอถึงช่วงเทศกาล จะมีการหยุดงาน หยุดกิจการค้า เพื่อทำพิธีไหว้เจ้าที่ ต้องไหว้ 2 วันซ้อน ซึ่งมีไหว้กลางดึกด้วย นอกจากนี้ก็จะได้ใช้เวลาในช่วงนี้ไปเยี่ยมคารวะผู้ใหญ่ญาติมิตรที่เคารพนับถือ และเที่ยวพักผ่อน จึงมีสำนวนของวันตรุษจีน ว่า “วันจ่าย วันไหว้ วันถือ”
บรรยากาศช่วงเทศกาลวันตรุษจีน
วันจ่าย คือ วันก่อนสิ้นปี 1 วัน ใครจะต้องซื้อหาเตรียมของอะไรแล้วยังไม่เรียบร้อย ก็ให้ทำให้เสร็จในวันจ่ายก่อนที่ร้านค้าจะหยุดยาวในวันตรุษจีน
วันตรุษจีน หรือเทศกาลตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองในวันปีใหม่ของชาวจีน
วันถือ คือวันตรุษจีน โดยถือกันว่าในวันนี้ทุกคนจะพูดและทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล เช่น ไม่มีการพูดว่ากัน แต่จะกล่าวคำอวยพร “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้” แปลเป็นไทย คือ "ขอให้โชคดีปีใหม่" นั่นเอง การถืออื่น ๆที่นิยมว่าถือกัน เช่น ห้ามจับไม้กวาด หรือห้ามกวาดบ้าน เพราะอาจเป็นการกวาดสิ่งดี ๆ ในบ้านออกไป แล้วกวาดสิ่งไม่ดีเข้ามา วันถือนี้ บางคนก็เรียกวันเที่ยว ซึ่งคงมาจากธรรมเนียมการออกไปเที่ยวพักผ่อนกันทั้งครอบครัวในวันตรุษจีนชาวไทยเชื้อสายจีนหลายท่านนิยมทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าของวันตรุษจีน
วันตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณีและพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆ แล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วันการเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น
วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆ กัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
คำว่า อั่งเปา และ แต๊ะเอีย มีที่มาอย่างไร
อั่งเปา หมายถึง ห่อสีแดง โดย คำว่า "อั่ง" แปลว่า สีแดง ส่วนคำว่า "เปา" แปลว่า ซอง ห่อในอดีตใช้ผ้าห่อสีแดง ใส่ของมงคลมอบให้แก่กัน เช่น ส้ม กำไลหยกและเงิน เป็นต้น ในปัจจุบันใช้แทนซองสีแดงหรือสีชมพูใส่เงินที่ผู้ใหญ่มอบให้ลูกหลาน
แต๊ะเอีย หมายถึง ของที่มากดทับหรือผูกที่เอว โดยคำว่า "แต๊ะ" แปลว่า ทับ กดหรือผูก ส่วน "เอีย" แปลว่า เอว ในสมัยก่อน ชาวจีนมักจะนำเชือกสีแดง ร้อยด้วยเหรียญเงินเป็นพวงๆ นำมาผูกที่เอวเด็กในวันตรุษจีน เป็นการมอบเหรียญเงินให้แก่เด็ก และเนื่องจากเหรียญเงินเสียงดังกรุ๊งกริ๊ง ทำให้ทราบว่าเด็กวิ่งเล่นอยู่บริเวณใด ป้องกันการตกน้ำได้ด้วย
วันตรุษจีน อั่งเปาที่เด็กๆ รอคอยกันในวันตรุษจีน 2558 เทศกาลตรุษจีน
เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดงเป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" หรืออะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน
ดาวน์โหลดการ์ดตรุษจีน หรือส่งถึงผู้รับในพริบตา ฟรีทุกภาพ ที่นี่ ที่เดียว
บทความที่เกี่ยวข้องกับวันตรุษจีน
เพลงตรุษจีน