วันสุขภาพจิตโลก ริเริ่มโดย สหพันธ์สุขภาพจิตโลก ( World Federation for Mental Health : WFMH) ซึ่งร่วมกันทำงานกับสมาคมนานาชาติเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย (International Assosiation for Suiside Prevention : IASP) และองค์กรอื่นๆร่วมสนับสนุนโดยองค์อนามัยโลก (WHO )
เกี่ยวกับวันสุขภาพจิตโลก
เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 10 ตุลาคม 1992 โดยรองเลขาธิการ(ในขณะนั้น) ริชาร์ด ฮันเตอร์ ( Richard Hunter ) ในนามสมาพันธ์ และใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี
ในช่วงแรกของการเริ่มต้น ไม่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะที่ชัดเจนมีจุดประสงค์เพียงต้องการส่งเสริมเครือข่ายสุขภาพจิตและให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตในประเด็นต่างไต่อสาธารณะ
ในปี 1994 โดยคำแนะนำของนายยูจีน โบดี้ ( Eugene Brody ) เลขาธิการของสมาพันธ์ จึงได้มีการกำหนดประเด็นหัวข้อขึ้นมาเป็นครั้งแรก คือ “ พัฒนาคุณภาพการบริการด้านสุขภาพจิตพร้อมกันทั่วโลก” ( Improveing the Quality of Mental Health Services throughout the World ) ได้รับการตอบรับอย่างดีใน 27 ประเทศทั่วโลก ภายใน 3 ปี วันสำคัญนี้ กลายเป็นช่วงเวลาที่มีค่ายิ่ง สำหรับหน่วยงานภาครัฐ องค์กร และคณะบุคคลต่างๆ ให้ความสำคัญในการจัดโครงการ เพื่อเป้าหมายในการดูแลงานด้านสุขภาพจิต เพื่อให้ดำเนินการไปได้อย่างดียิ่ง
จากนั้นได้มีการวางแผนจัดเตรียมสื่อต่างๆ ในทุกปี ซึ่งมีประเด็นหัวข้อแต่ละปี ที่หลากหลายเช่น
1996 ผู้หญิงกับสุขภาพจิต
1997 เด็กกับสุขภาพจิต
1998 สุขภาพจิตและสิทธิมนุษยชน
1999 สุขภาพจิตและผู้สูงอายุ
2000 สุขภาพจิตและการทำงาน
2001 สุขภาพจิตและการทำงาน
2002 ผลกระทบจาการบาดเจ็บและความรุนแรงในเด็กและวัยรุ่น
2003 ความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่น
2004 ความสัมพันธ์ระหว่างกาย-จิต ในโรคต่างๆที่ร่วมกัน
2005 สุขภาพจิตสุขภาพกายตลอดช่วงอายุขัย
2006 สร้างความตระหนักและลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยทางจิตและการฆ่าตัวตาย
โดยผู้จัดไม่ได้หวังว่า เพียง 1 วัน ที่มีการจัดงานนี้จะทำได้โดยง่ายแต่การตระเตรียมงานเป็นเดือนๆ ก่อนวันดังกล่าวนี้ จะเป็นความพยายามที่แท้จริงในการให้ความรู้อย่างยั่งยืน สำหรับบางประเทศ จัดโครงการต่อเนื่องหลายวันจนถึงสัปดาห์ ตลอดจนถึง 1 เดือนก็มี และมีบางแห่งจัดเตรียมสำหรับปีต่อไปที่จะเริ่มขึ้น เมื่องานปีนี้สิ้นสุดลงในทันที
องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจาการฆ่าตัวตายทั้งโลกประมาณ 1ล้านคน เท่ากับ 1.4 % ของภาวะการสูญเสียที่เกิดจากโรคทุกโรค( total global burden of discase ) และประมาณว่าครึ่งหนึ่งของปีที่เสียชีวิตจาการฆ่าตัวตาย มีโรคทางจิตอย่างน้อย 1 โรค ที่ไม่ได้รับการตรวจรักษา หรือไม่ก็มีปัญหาการใช้สุราหรือยาเสพติด
ในปี 2006 โครงการรณรงค์ เกิดขึ้นเพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญในเชิงลึกของปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตกับเรื่องการฆ่าตัวตาย เป็นการยกระดับความเข้าใจจากเดิมที่คิดว่า ปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตเป็นเรื่องรองในด้านสุขภาพ ซึ่งอาจจะถูกจัดการอย่างล่าช้าไม่ทันการ การไม่ตระหนักถึงปัญหา ไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษาโรคทางจิตอาจทำให้ถึง แก่ชีวิตได้ ในปีนี้ จึงกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม เพื่อหวังให้สังคมได้ตระหนัก ลดอคติ ( reducing sytigma and discrimination ) และการแบ่งแยกและส่งเสริมให้มีการบริการและสนับสนุนเครือข่ายต่างๆ เพื่อต่อสู้กับปัญหา การฆ่าตัวตายที่เกี่ยวข้องมาจากการเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งเป็นภาระโรคที่สำคัญของโลกใบนี้
กรมสุขภาพจิตสนับสนุนให้ทุกคน องค์กรและสถาบัน นำความรู้สื่อด้านสุขภาพจิตต่างๆที่มี โดยขอรับได้ที่กรมสุขภาพจิต หรือ Dowload ได้จาก web site กรมสุขภาพจิต เพื่อมาลดความเข้าใจผิด ลดอคติ ในปัญหาที่เกี่ยวกับโรคทางจิตและการฆ่าตัวตาย เพื่อทำลายกำแพงกั้นระหว่างผู้คนทีทุกข์ทรมานจาการเจ็บป่วยทางจิตได้อย่งถูกต้องเหมาะสม ไม่ให้เกิดปัญหาการสูญเสียอันใหญ่หลวงตามมา
โดย นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
เรียบเรียงจาก
1. World Mental Health Day
2. World Federation for Mental Health : World Mental Health Day
ที่มา http://www.kumlungjai.com/index.php?option=com_content&task=view&id=63&Itemid=45