น้อมรำลึก 9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล
9 มิถุนายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งคือ “วันอานันทมหิดล” ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ผู้ที่เป็นผู้ให้กำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหวิทยาลัย ซึ่งวันนี้เราจะมาศึกษาและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านกัน
วันอานันทมหิดล
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลุ ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอร์มัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ได้ทรงศึกษาจากต่างประเทศและได้เสด็จนิวัตเมืองไทยบ้าง เพราะเนื่องจากอยู่ในระหว่างการศึกษา
ภายหลังการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงละราชสมบัติ จึงมีการลงมติเห็นชอบอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองคเจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สทบราชสันติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ซึ่งคณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เท่านั้น จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ
วันอานันทมหิดล
ในระหว่างการศึกษาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็จะเสด็จนิวัตกลับเมืองไทย เพื่อกลับมาดูแลทุกข์สุขของประชาราชฏรษ์ จนพระองค์พระชนมายุได้ 21 พรรษา ได้เสด็จกลับนิวัตเมืองไทยอีกครั้ง เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่เพียง 1 เดือนเท่านั้น แต่เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายในฐานะประมุขของประเทศ พระองค์ทรงเลื่อนเวลาเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไป
ในระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จนิวัตกลับเมืองไทยครั้งที่ 2 พระองค์เสด็จสวรรคต เนื่องจากถูกพระแสงปืน ณ ห้องบรรทมในพระที่นั้งบรมพิมาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากเสวยราชสมบัติเพียง 12 ปี เท่านั้น
ในฐานะเราปวงชนชาวไทย จึงควรรำลึกถึงพระเมตตาธิคุณและมหากรุณาธิคุณ อันเป็นอเนกประการ จึงร่วมใจ ถือเอาวันที่ 9 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันอานันทมหิดล” ในปี พ.ศ. 2528 สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้รวบรวมทุนบริจาค จากทุกรุ่นมาจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นไว้หน้าตึกอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงบันดาลให้เกิดคณะแพทย์ศาสตร์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ประชาชนได้รำลึกถึงพระองค์ท่านสืบไปอีกด้วย