สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในหลวงรัชกาลที่ 10) โปรดเกล้าฯ ให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร, วันพ่อแห่งชาติ และวันชาติ (ประเทศไทย) ทั้งนี้ทางด้านคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติให้เป็นวันหยุดราชการด้วยเช่นกัน
5 ธันวาคม วันสำคัญของไทย
วันพ่อแห่งชาติ
ซึ่งหากเราย้อนกลับไป “วันพ่อแห่งชาติ” ได้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจาก “พ่อ” เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็น “วันพ่อแห่งชาติ”
โดยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ของเดียวกันนั่นเอง ก็ได้มีการประกาศจากรัฐบาลของประเทศไทยว่า “วันพ่อแห่งชาติ” ของประเทศไทย จะยังคงไว้ ให้เป็นวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีต่อไปตามเดิม
วันชาติ (ประเทศไทย)
วันชาติในประเทศไทย เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ซึ่งแต่เดิมได้กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันชาติ แต่ในเวลาต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงเปลี่ยนไปเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทย ตามอย่างประเทศราชาธิปไตยอื่นๆ โดยในปัจจุบันตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี โดยในวันชาติได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้น ได้แก่ การกล่าวสุนทรพจน์ การจัดขบวนพาเหรดเฉลิมฉลอง การจุดพลุดอกไม้ไฟเพื่อเฉลิมฉลอง รวมไปถึงการแสดงมหรสพต่างๆ อีกด้วย
ดังนั้น จึงทำให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของประเทศไทย เพราะเป็นทั้งวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร, วันพ่อแห่งชาติ และวันชาติ (ประเทศไทย) ซึ่งนอกจากนี้ในวันที่ 5 ธันวาคม ยังได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นและยังเป็นวันสำคัญสำคัญของโลกอีกด้วย โดยประกอบด้วยดังนี้…
เหตุการณ์สำคัญ
– พ.ศ. 1903 (ค.ศ. 1360) ริเริ่มหน่วยเงินตราฟรังก์ฝรั่งเศส
– พ.ศ. 2035 (ค.ศ. 1492) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางถึงเกาะฮิสปันโยลา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเฮติและสาธารณรัฐโดมินิกัน)
– พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท ถึงแก่กรรมขณะประพันธ์เพลง Requiem Mass in D minor อันเป็นผลงานสุดท้ายของเขา
– พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) รัฐธรรมนูญโซเวียต ค.ศ. 1936 หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “รัฐธรรมนูญสตาลิน” มีผลใช้บังคับ
– พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดในเที่ยวบินที่ 19 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา สูญหายไปในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ขณะฝึกบินนอกชายฝั่งฟลอริดา
– พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาหรือโครงการรถไฟฟ้าธนายง ระบบรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย เปิดทำการจริงเป็นวันแรก
– พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ตอลิบานประกาศเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นขบวนการทางการเมือง ประกาศรับสมาชิกที่ต่อต้านพันธมิตรฝ่ายเหนือ
– พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) เกิดแผ่นดินไหวทะเลสาบแทนกันยีกา ทำให้เกิดความเสียหายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม)
– พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) เกิดเหตุมือปืนกราดยิงปืนกลกึ่งอัตโนมัติที่ศูนย์การค้าในเมืองโอมาฮา รัฐเนแบรสกา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คนก่อนคนร้ายยิงตัวตาย
วันเกิดของบุคคลสำคัญ/คนดัง
– พ.ศ. 1986 (ค.ศ. 1443) สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 (สิ้นพระชนม์ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2056)
– พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) จอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ นายพลชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 25 มิถุนายน พ.ศ. 2419)
– พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) อลิซ บราวน์ นักเขียนชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 21 มิถุนายน พ.ศ. 2491)
– พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519)
– พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) วอลต์ ดิสนีย์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 15 ธันวาคม พ.ศ. 2509)
– พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) เตียง ศิริขันธ์ นักการเมือง (ถึงแก่กรรม 13 ธันวาคม พ.ศ. 2495)
– พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี (สวรรคต 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
– พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) ลิตเทิล ริชาร์ด นักร้องชาวอเมริกัน
– พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) โอฬาร ไชยประวัติ นักการเมืองไทย
– พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) สุพรรษา เนื่องภิรมย์ นักแสดงหญิงชาวไทย
– พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) สามารถ พยัคฆ์อรุณ นักแสดงและนักมวยไทย
– พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) รอนนี่ โอซุลลิแวน นักสนุกเกอร์อาชีพ
– พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) พัชราภา ไชยเชื้อ นักแสดงและนางแบบหญิงที่มีชื่อเสียงชาวไทย
– พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เคอรี ฮิลสัน นักร้องชาวอเมริกัน
– พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ธันวา เสรีสุภากร มือกีต้าร์วงหมูหวาน, นวพล ลำพูน นักแสดงและนายแบบชาวไทย (ลูกชายเพียงคนเดียวของ มาช่า วัฒนพานิช และ อำพล ลำพูน)
– พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ควอน ยูริ นักร้องชาวเกาหลี
– พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ฉัตรดาว สิทธิผล นักแสดงชาวไทย
วันถึงแก่กรรมของบุคคลสำคัญ/คนดัง
– พ.ศ. 2103 (ค.ศ. 1560) พระเจ้าฟรองซัวที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (เกิด 19 มกราคม ค.ศ. 1544)
– พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท นักประพันธ์ดนตรีคลาสสิก (เกิด 27 มกราคม ค.ศ. 1756)
– พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) โกลด มอแน จิตรกรชาวฝรั่งเศส (เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383)
– พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (ประสูติ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464)
– พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) หวังเหว่ย นักแสดงชาวฮ่องกง (เกิด พ.ศ. 2484)
– พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) เนลสัน มันเดลา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้คนที่ 1, ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (เกิด 18 กรกฎาคมพ.ศ. 2461)
– พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) สมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม (พระราชสมภพ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2471)
– พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา (เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2462)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
– ประเทศไทย วันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ
– วันดินโลก (World Soil Day)
– วันอาสาสมัครสากล (International Volunteer Day)
VDO : เรื่องเล่าถึง “พ่อ” ตอน ของขวัญจากพ่อ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติของประเทศไทย | สัญลักษณ์คือดอกพุทธรักษา
- 5 ธันวาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพในหลวงรัชกาลที่ 9
ขอบคุณภาพจาก Facebook : วิชาการ, http://sapparot.co