[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

                                
 
 

  

บทความทั่วไป
นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20

อังคาร ที่ 12 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2561

คะแนน vote : 149  

 

ชวน หลีกภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
 
Jump to navigationJump to search
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 20
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(2 ปี 292 วัน)
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รองนายกรัฐมนตรี บัญญัติ บรรทัดฐาน
อำนวย วีรวรรณ
บุญชู โรจนเสถียร
ศุภชัย พานิชภักดิ์
ชวลิต ยงใจยุทธ
สุขวิช รังสิตพล
จำลอง ศรีเมือง
อาทิตย์ กำลังเอก
ก่อนหน้า อานันท์ ปันยารชุน
ถัดไป บรรหาร ศิลปอาชา
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(3 ปี 92 วัน)
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รองนายกรัฐมนตรี พิชัย รัตตกุล
ศุภชัย พานิชภักดิ์
ปัญจะ เกสรทอง
สุวิทย์ คุณกิตติ
กร ทัพพะรังสี
สนั่น ขจรประศาสน์
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
บัญญัติ บรรทัดฐาน
บัญญัติ บรรทัดฐาน
สุทัศน์ เงินหมื่น
ก่อนหน้า ชวลิต ยงใจยุทธ
ถัดไป ทักษิณ ชินวัตร
ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
4 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 29 เมษายน พ.ศ. 2531
(1 ปี 268 วัน)
ก่อนหน้า อุทัย พิมพ์ใจชน
ถัดไป ปัญจะ เกสรทอง
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
26 มกราคม พ.ศ. 2534 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
(12 ปี 98 วัน)
ก่อนหน้า พิชัย รัตตกุล
ถัดไป บัญญัติ บรรทัดฐาน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 (79 ปี)
ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมืองตรังจังหวัดตรัง
พรรคการเมือง พรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรส ภักดิพร สุจริตกุล (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส)
ศาสนา พุทธ
ลายมือชื่อ

ชวน หลีกภัย (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 ดำรงตำแหน่งสองสมัย ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

 

 

ประวัติและครอบครัว

ชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลทับเที่ยง) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนิยม กับถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก ชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นคนรูปร่างเล็ก

มีบุตรชายกับภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ สุรบถ หลีกภัย[1]

การศึกษา และวุฒิกิตติมศักดิ์

การทำงาน

ชวน หลีกภัยเริ่มทำงานเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ใน พ.ศ. 2534 ชวนเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ใน พ.ศ. 2533 ชวน หลีกภัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาใน พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 สมัยที่ 2 ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้[ต้องการอ้างอิง]

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับรัฐมนตรีในพรรคประชาธิปัตย์อีก 2 คน คือ ดำรง ลัทธพิพัฒน์ และสุรินทร์ มาศดิตถ์

สรุปประวัติทางการเมือง

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) พ.ศ. 2512
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สอง) พ.ศ. 2518
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2518
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สาม) พ.ศ. 2519
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2519
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2519[3][4]
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สี่) พ.ศ. 2522
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2523[5]
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524
  • รัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2525-2526
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ห้า) พ.ศ. 2526
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่หก) พ.ศ. 2529
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529-2531
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เจ็ด) พ.ศ. 2531
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2531-2532
  • รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2532 - 26 ส.ค.2533
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 (ส.ค.-ธ.ค.2533)
  • หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (26 ม.ค.2534 - 4 พ.ค. 2546)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่แปด) พ.ศ. 2535 (22 มี.ค.2535)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เก้า) พ.ศ. 2535 (13 ก.ย.2535)
  • นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 (23 ก.ย.2535 - 20 ก.ค.2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบ) พ.ศ. 2538 (2 ก.ค.2538)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค.2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบเอ็ด) พ.ศ. 2539 (17 พ.ย.2539)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค.2539)
  • นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย.2540 - 8 ก.พ.2544)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย.2540-18 ก.พ.2544)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค.2544)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค.2544)
  • ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)

นายกรัฐมนตรี

 
ชวนขณะอภิปรายในสภา
  • วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ถึง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[6] - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ชวน หลีกภัย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง โดยรับช่วงต่อหลังจากพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยตัวค่าเงินบาท กองทัพไม่ได้ต่อต้านการคืนสู่ตำแหน่งของเขา ชวนได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือจนได้รับความเชื่อถือและเห็นชอบจากสถาบันการเงินนานาชาติและสหรัฐอเมริกา มุ่งไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลผสมก็เอาชนะความพยายามของฝ่ายค้านในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้ชวนจะไม่ใช่นักการเมืองที่น่าดึงดูดใจ แต่ก็ได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจ เพราะถูกมองว่าซื่อสัตย์ มุ่งปฏิรูประบอบประชาธิปไตยและขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง[7]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกาประชาธิปไตย[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากรัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยกลุ่มของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเดิมสนับสนุนให้พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ดำรงตำแหน่งแทน โดยการสนับสนุนของพรรคความหวังใหม่ (125 คน) พรรคชาติพัฒนา (52 คน) พรรคประชากรไทย (18 คน) และ พรรคมวลชน (2 คน) รวม 197 เสียง ส่วนฝ่ายค้านเดิมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ (123 คน) ร่วมกับพรรคชาติไทย (39 คน) พรรคเอกภาพ (8 คน) พรรคพลังธรรม (1 คน) พรรคไท (1 คน) และพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ได้แก่ พรรคกิจสังคม (20 คน) และพรรคเสรีธรรม (4 คน) สนับสนุนชวน หลีกภัย ด้วยเสียงทั้งสิ้นรวม 196 เสียง ซึ่งน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาล 1 เสียง[8]

 
ชวน หลีกภัย กับบิล คลินตัน เมื่อ พ.ศ. 2542

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของชวน หลีกภัย ก่อให้เกิดกลุ่มการเมืองชื่อ กลุ่มงูเห่า หมายถึง สมาชิกพรรคประชากรไทย 12 คนที่สนับสนุนรัฐบาลโดยคำชวนของพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ จนถูกพรรคประชากรไทยขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และส่งผลให้สิ้นสุดสถานภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมาย กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบ ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 12 คน ยังคงสถานภาพ และหาพรรคใหม่สังกัด[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากกรณีกลุ่มงูเห่าแล้ว ยังมีกรณีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ได้รับการตัดสินว่ามีความผิดทางการเมืองอีก 2 ท่าน ได้แก่ นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายรักเกียรติ สุขธนะ (พรรคชาติไทย) ได้รับคำพิพากษาตัดสินจาก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกเป็นเวลา 5 ปี ฐานเรียกรับสินบนบริษัทยา ทีเอ็น พี เฮลท์ แคร์ จำกัด ซึ่งนับว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกจากการทุจริตในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะร้ฐบาล

นอกจากนี้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการรายงานบัญชีทรัพย์สินตกหล่น

คำยกย่องและคำวิจารณ์

 
ชวนขณะปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดตรังในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2512 ซึ่งลงสมัครเป็นครั้งแรก โดยมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ชุดขาว) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น นั่งไขว่ห้างฟังอยู่ข้างล่าง

คำยกย่อง

  • เป็นนักการเมืองที่มือสะอาด จนได้รับฉายา Mr. Clean (นายสะอาด) [9]

คำวิจารณ์

หลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ชวน หลีกภัยกลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้ง เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2544 และต้องการก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหัวหน้าพรรคใน 2 ปีถัดมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2546 บัญญัติ บรรทัดฐานได้รับเลือก ชวน หลีกภัยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค 3 สมัย เป็นเวลา 12 ปี

ในการเลือกตั้งครั้งถัดมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ แพ้การเลือกตั้งให้พรรคไทยรักไทย บัญญัติ บรรทัดฐานจึงลาออกจากตำแหน่งตัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชวน หลีกภัย มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน

ปัจจุบัน ชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ

  • อุปนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อาจารย์พิเศษแผนกนิติเวช คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัลและเกียรติยศ

  • เครื่องหมายกิตติมศักดิ์ราชนาวิกสภาและประกาศนียบัตรของกองทัพเรือ จากการสนับสนุนการศึกษาของกองทัพเรือ นับเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรก ที่ได้รับเครื่องหมายนี้ โดยนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ได้รับคือ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
  • วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 นายชวน หลีกภัย ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าแต่งตั้ง [11]
  • วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561 นายชวน หลีกภัย เข้ารับรางวัล เกียรติภูมินิติโดม ในฐานะ ศิษย์เก่าดีเด่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. กระโดดขึ้น หนังสือกินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา โดย เริงศักดิ์ กำธร (พ.ศ. 2545) ISBN 974-85645-2-5
  2. กระโดดขึ้น ม.อ.ทูลเกล้าถวายปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
  3. กระโดดขึ้น พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)
  4. กระโดดขึ้น พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  5. กระโดดขึ้น พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  6. กระโดดขึ้น พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)
  7. กระโดดขึ้น ไมเคิล ลีเฟอร์, จุฬาพร เอื้อรักสกุล (แปล-เรียบเรียง). พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์, 2548. 726 หน้า. ISBN 974-571-921-8
  8. กระโดดขึ้น http://komchadluek.net/e2548/reference/index.php?sub=06&pag=05
  9. กระโดดขึ้น Asiaweek Power 50, 2000, เรียกดูเมื่อ 28 มิถุนายน 2551
  10. กระโดดขึ้น เนชั่นสุดสัปดาห์ 1 เม.ย. 2542, ''ถนอม'' ลาออก ''ชวน'' ไม่ขอโทษ ปชป.เปรียบถนอม เทียบรัฐบุรุษปรีดี
  11. กระโดดขึ้น http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/D/020/1.PDF
  12. กระโดดขึ้น ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  13. กระโดดขึ้น ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘ เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  14. กระโดดขึ้น ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เล่ม ๑๐๖ ตอน ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๒
  15. กระโดดขึ้น ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)

แหล่งข้อมูลอื่น

 


เข้าชม : 1594


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      6 เรื่องน่ารู้ของการปลูกดาวเรือง 18 / มิ.ย. / 2561
      ดอกอัญชัญ ดอกไม้สีสวย ปลูกง่าย แถมประโยชน์เพียบ 18 / มิ.ย. / 2561
      ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำรัชกาลที่ 10 18 / มิ.ย. / 2561
      นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 12 / มิ.ย. / 2561
      ประวัติพระยารัษฎานุประดิษฐ์ 12 / มิ.ย. / 2561