[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ศูนย์หนังสือจุฬาแนะนำหนังสือดีน่าอ่าน

พุธ ที่ 8 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2556


 

 

 

ฝ่าด่าน ประเทศจนได้เป็นเมืองหนังสือโลก

ทั้งนี้คณะกรรมการตัดสินเมืองหนังสือโลก ได้จัดการประชุมเพื่อพิจารณาคัดเลือกเมืองหนังสือโลกที่ประเทศฝรั่งเศส โดยมี เมืองที่เสนอเข้ารับการคัดเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก ในปี 2556 ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ ประเทศไทย 2.ไคโร สาธารณรัฐอาหรับแห่งอียิปต์ 3.อินเชิน สาธารณรัฐเกาหลีใต้ 4.เควซอน ประเทศฟิลิปปินส์ 5.ควิโต ประเทศเอกวาดอร์ 6.ชาร์เรีย ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ 7.เสินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งกรุงเทพฯ ก็ฝ่าด่านจนได้รับคัดเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก ปี 2556

กรุงเทพฯ จึงเป็นเมืองลำดับที่ 13 ที่ได้รับคัดเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก โดยก่อนหน้านี้ ได้แก่ มาดริด ประเทศสเปน ได้รับคัดเลือกปี 2544, อเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ปี 2545, นิวเดลี ประเทศอินเดีย ปี 2546, อันท์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม ปี 2547, มอนทรีออล ประเทศแคนาดา ปี 2548, ตูริน ประเทศอิตาลี ปี 2549,โบโกตา ประเทศโคลอมเบีย ปี 2550, อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปี 2551, เบรุต ประเทศเลบานอน ปี 2552, ลูเบียนา ประเทศสโลเวเนีย ปี 2553,บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ปี 2554 และเยเรวาน ประเทศอาร์เมเนีย ปี 2555

ทั้งนี้กรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่ายทุกองค์กรต่างตระหนักดีว่า การที่กรุงเทพฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก ในปี 2556 นับ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในสร้างวัฒนธรรมการอ่าน เพราะวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยการอ่านคือ หนึ่งในคำตอบที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย ในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งนับจากนี้กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นเจ้าภาพของโครงการนี้โดยตรงจะต้องเร่งเดินหน้าทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองหนังสือโลกตามเป้าหมาย โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัฒน์ ผู้ว่าราชการ กล่าวว่า กทม. ตั้งเป้าให้คนกรุงเทพฯ อ่านหนังสือเพิ่มขึ้นประมาณ 10-20 เล่มต่อปี ภายในปี 2556 จากเดิมปัจจุบันเฉลี่ยอ่านหนังสือเพียง 5เล่มต่อปีเท่านั้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ เด็กและเยาวชน

เพราะโครงการโดนใจ...จึงได้รับเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก

งานนี้กรุงเทพมหานคร รับหน้าที่เป็นแกนกลางประสานความร่วมมือจากองค์กรอีก 510 องค์กรจากทุกภาคส่วนของสังคม ดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองหนังสือโลกอย่างแท้จริง ด้วยโครงการที่ตอบทุกโจทย์ในการสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างฝังราก ลงลึก ในขณะที่ต้องขยายแนวคิดนี้สู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยมีโครงการสำคัญที่ถือเป็นไฮไลต์ อาทิ

          • โครงการจัดตั้งหอสมุดกรุงเทพฯ City Library, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์หนังสือ (Thai Literary Musuem) และศูนย์วิจัยหนังสือและการอ่านแห่งประเทศไทย

เนื่องจากในปี 2556 กรุงเทพ มหานครจะย้ายที่ทำการใหม่ จึงได้วางแผนพัฒนาศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเดิม ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์จากกรมศิลปากร ปรังปรุงให้เป็นหอสมุดกรุงเทพฯ (City Library) ภายในจะมีห้องสมุดเด็กและเยาวชน รวมถึงศูนย์วิจัยด้านการอ่านของเด็ก. ศูนย์วิจัยหนังสือและการอ่านกรุงเทพฯพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์หนังสือ (Thai Literary Musuem) ซึ่ง จะรวบรวมข้อมูลประวัติความเป็นมา และจัดแสดงพัฒนาการของหนังสือและการอ่านของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงมีพื้นที่ดำเนินกิจกรรมด้านการอ่าน ซึ่งต้องการให้เป็นหมุดหมายสำคัญในการสร้างประสบการณ์การอ่าน และแรงบันดาลใจให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนจัดสร้าง และตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม ปี 2557

          • พิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทย

การ์ตูนเป็นสื่อการอ่านอีกสื่อหนึ่ง ที่เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม สามารถให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง ดังนั้นพิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทยจึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยจะจัดแสดงพัฒนาการของการ์ตูนไทย โรงภาพยนตร์การ์ตูน ห้องสมุดหนังสือการ์ตูน เปิดพื้นที่สำหรับการหาความสุขจากการ์ตูน และจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการ์ตูน
               นอกจากนี้ยังมีโครงการซึ่งครอบคลุมในการพัฒนาหนังสือทุกๆ ด้าน และพัฒนาการอ่านในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยมีโครงการที่เกิดจากความคิดริเริ่มใหม่ๆ อาทิ โครงการ “Read on the Move” ซึ่ง ต้องการขยายพื้นที่การอ่านให้ครอบคลุมไปในวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ที่ต้องใช้เวลาเดินทางบนท้องถนนเป็นเวลานาน ริเริ่มจัดพื้นที่การอ่านบนรถโดยสารสาธารณะ กระตุ้นให้คนอ่านหนังสือบนรถไฟฟ้า รถใต้ดิน รถประจำทาง หรือแม้กระทั่งบนรถแท็กซี่ เป็นการนำหนังสือให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มอย่างกว้างขวาง
               ยังมีอีกหลากหลายโครงการที่ดำเนินงานไปแล้ว เช่น ล่าสุดมหกรรมถนนคนอ่าน ที่สวนจตุจักรซึ่งเป็นการลงไปรณรงค์กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่ให้ เห็นความสำคัญของการอ่าน และรู้สึกว่าการอ่านหนังสือคือเรื่องทันสมัย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จได้รับความสนใจจากเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ เป็นงานที่ได้ทั้งเนื้อหาสาระ และได้ทั้งกระแสไปพร้อมกันเพราะมีคนดังในแวดวงหนังสือให้ความสนใจเข้าร่วม เป็นวิทยากรภายในงานจำนวนมาก

 

เครดิต : bangkokreadforlife

ที่มา : http://www.chulabook.com/news.asp?newsid=949



เข้าชม : 793


เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน 5 อันดับล่าสุด

      โครงการบรรณศัญจร (Book Voyage) 14 / ก.พ. / 2560
      ศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่ห้องสมุด 20 / ก.พ. / 2559
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโครงการอำเภอยิ้ม.. 15 / ธ.ค. / 2558
      วันสุนทรภู่ 29 / มิ.ย. / 2558
      วันกองทัพไทย 21 / ม.ค. / 2558




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05