[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

บทความทั่วไป
มเรื่องราวดีๆนำมาฝากกันค่ะ

พุธ ที่ 10 เดือน เมษายน พ.ศ.2556

คะแนน vote : 116  

  คู่สมรสคงได้เฮกันดัง ๆ เพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป คู่สามี-ภรรยา สามารถแยกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ และเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ทางกรมสรรพากรก็ได้ออกคำชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีภรรยา ในเว็บไซต์กรมสรรพากร โดยมีเนื้อหาสรุป ดังนี้
 
          กรณีที่สามีภรรยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
 
 การหักค่าลดหย่อนภาษี
 
          การยื่นรายการของสามีหรือภรรยา กำหนดให้หักลดหย่อนได้ดังต่อไปนี้
 
          1. สำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท  
 
              ตัวอย่างที่ 1 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีสามารถหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
 
              ตัวอย่างที่ 2 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
 
          2. สำหรับสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท  
 
              ตัวอย่างที่ 3 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนภรรยา 30,000 บาท
 
              ตัวอย่างที่ 4 สามี ภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนสามีหรือภรรยา 
 
          3. สำหรับบุตรและการศึกษาบุตร 
 
          (ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท   
 
              ตัวอย่างที่ 5 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ มีบุตรด้วยกัน 1 คน สามีหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท    
 
          (ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่ง   
 
              ตัวอย่างที่ 6 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มีบุตรด้วยกัน 1 คน  ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภรรยาหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท (ฝ่ายละ 17,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภรรยาหักได้ฝ่ายละ 8,500 บาท 
 
          4. สำหรับเบี้ยประกันชีวิต 
 
          (ก) กรณีสามี หรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ในกรณีที่ความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภรรยาได้ตามจำนวนที่ จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
 
              ตัวอย่างที่ 7 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อน 10,000 บาท 
 
              ตัวอย่างที่ 8 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภรรยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท และส่วนของภรรยา 10,000 บาท (รวม 20,000 บาท) 
 
          แต่ถ้าความเป็นสามีภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท
 
          (ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนของตนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท 
 
              ตัวอย่างที่ 9 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภรรยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท
 
          5. สำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

              ตัวอย่างที่ 10 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักได้ 10,000 บาท
 
              ตัวอย่างที่ 11 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท ภรรยาจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท
 
          6. สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

          (ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภรรยาฝ่ายที่มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน
 
              ตัวอย่างที่ 12 สามี มีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท ภรรยากู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท
 
          (ข) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียวและร่วมกันกู้ยืม ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
 
              ตัวอย่างที่ 13 สามี มีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ ถ้าสามีภรรยาร่วมกันกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 10,000 บาท สามีมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้ทั้งจำนวน 10,000 บาท
 
          (ค) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้ว ต่อ มาสมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างยังคงหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจำนวนที่ จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
 
              ตัวอย่างที่ 14 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้วฝ่ายละ 10,000 บาท ต่อมาสมรสกัน สามีและภรรยายังคงหักลดหย่อนได้ฝ่ายละ 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
 
          (ง) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้ยืม ให้ ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
 
              ตัวอย่างที่ 15 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าสามีภรรยาร่วมกันกู้ยืมและได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท
 
          7. สำหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม 

              ตัวอย่างที่ 16 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
 
              ตัวอย่างที่ 17 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
 
          8. สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา 
 
          (ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และบิดามารดาของสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท 
 
              ตัวอย่างที่ 18 สามี มีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) และถ้าสามีได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภรรยาด้วย สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบิดาของภรรยา 30,000 บาท และมารดาของภรรยา 30,000 บาท (รวม 120,000 บาท)
 
          (ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท 
 
              ตัวอย่างที่ 19 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีภรรยาต่างฝ่ายต่างอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) ส่วนภรรยาหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท)
 
          9. สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ 

          (ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท และให้หักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่สามีหรือ ภรรยาเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท
 
              ตัวอย่างที่ 20 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท 
 
              ตัวอย่างที่ 21 สามี มีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน และภรรยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท และมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่ภรรยาเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท (รวม 120,000 บาท)
 
          (ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท 
 
              ตัวอย่างที่ 22 สามี ภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน ส่วนภรรยาอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพอีก 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท
 

ที่มา:กรมสรรพากร


เข้าชม : 890


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      บทความการอ่าน 4 / พ.ค. / 2559
      บทความดีๆมีมาฝากค่ะ 29 / ก.พ. / 2559
      ความสำคัญของการอ่าน 15 / ธ.ค. / 2558
      การอ่าน…กับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน 20 / พ.ค. / 2558
      บทความน่าอ่าน 12 / พ.ค. / 2558




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05