เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่ผ่านมายูเนสโกประกาศให้ กรุงเทพมหานครได้เป็นเมืองหนังสือโลก World Book Capital 2013
โดยคณะกรรมการคัดสรรเมืองหนังสือโลก ที่ประกอบด้วย ผู้แทนจากสมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ (International Publishers Association -
IPA), ผู้แทนจากสมาพันธ์ผู้ประกอบการร้านหนังสือพิมพ์ (the International Booksellers Federation - IBF), ผู้แทนสมาพันธ์แห่งสมาคม
ห้องสมุทรนานาชาติ (International Federation of Library Associations - IFLA) และ ยูเนสโก ลงมติเลือก กรุงเทพมหานคร ให้เป็น "เมืองหนังสือโลก"ประจำปี 2556 ในการประชุมร่วมกัน ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยนางอิรินา โบโกวา
ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก กล่าวแสดงความยินดีกับ กรุงเทพมหานคร ระบุว่า โปรแกรมที่มีมั่งคั่งและหลากหลายจะทำให้เกิดการเตรียมพร้อม
และความมุ่งมั่นในตัวเอง ซึ่งนั่นจะก่อให้เกิดความเน้นย้ำ เป็นพิเศษสำหรับคนรุ่นใหม่
|
โดยเมืองที่ยื่นสมัคร World Book Capital 2013 นอกจากกรุงเทพมหานคร ของเราแล้ว ยังมี ไคโร
สาธารณรัฐอาหรับแห่งอียิปต์ อินเชิน สาธารณรัฐเกาหลี เควซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ควิโต ประเทศ
เอกวาดอร์ ชาร์เรีย ประเทศยูไนเต็ดอาหรับเอมิเรตส์ และเสินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน
จึงเป็นเรื่องที่น่าดีใจอยู่ไม่น้อย
เรื่องนั้นเป็นเรื่องของเมืองกรุง ส่วนชานเมืองอย่างนครปฐมนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและแผน
งานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมมือ
กันที่จะวางแนวทางให้ นครปฐม เป็นนครแห่งการอ่าน
|
ทีมงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครปฐมและทีมงานคือ อาจารย์นุชรี บุญศรีงาม อาจารย์นิพา ผลสงเคราะห์ อาจารย์ธารา จันทร์อนุและอาจารย์ไชยรัฐ คำดี ได้ทำการวิจัย
เรื่อง ปัจจัยพื้นฐานที่อำนวยต่อการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านแก่ประชาชนในจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการแสวงหาข้อมูลพื้นฐานภายใน
จังหวัด ทั้งทางด้านโครงสร้างทางกายภาพ โครงสร้างทางสังคม ทรัพยากรการอ่านและกลไกสนับสุนนและสร้างเสริมการอ่าน ขณะเดียวกัน
ก็มุ่งที่จะศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการสร้างแรงบันดาลใจในการรักการอ่าน เนื่องจากการสร้างวัฒนธรรมการอ่านในจังหวัดนครปฐม
ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของ “ปัจจัยภายใน” ซึ่งได้แก่แรงจูงใจ เหตุผล อารมณ์ ความรู้สุข
ทัศนคติ ฯลฯ และ “ปัจจัยภายนอก” คือ โครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างสังคมที่รองรับวัฒนธรรมการอ่าน ทรัพยากรที่ผลต่อการอ่าน
หนังสือได้อย่างต่อเนื่อง และกลไกสนับสนุนหรือส่งเสริมการอ่าน
หลังจากที่วิจัยเรียบร้อยแล้ว ได้มีการคุยกันนอกรอบกับหลายๆ ฝ่าย เพื่อหาแนวร่วมที่จะทำงานกันต่อไป ในขั้นแรกได้จัดสัมมนา
เรื่อง การขับเคลื่อนนครปฐมให้เป็น “นครแห่งการอ่าน” ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
งานนี้ได้รับความสนใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ “การอ่าน” เป็นอย่างมาก จากจำนวนที่คาดว่าจะมาสัมมนาจาก 40 คน
กลับมีจำนวนที่ทวีคูณเกือบสามเท่า ถือเป็นก้าวแรกที่อบอุ่นและมีหลายๆ มือเข้ามาช่วยกั๊น ช่วยกัน….
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้กล่าวเปิดการสัมมนา จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ “สสส.กับการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยวัฒนธรรมการอ่าน” โดย รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านที่สนับสนุนว่า “การอ่าน” สามารถสร้างสุขภาวะที่ดี การเกิดสุนทรียะทางจิตใจอันนำไปสู่คุณธรรมได้ ดังนั้นจึงควรสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้ขยายไปในทุกสังคม
นอกจากนี้ได้มีการนำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยพื้นฐานที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านแก่ประชาชนใน จังหวัด
นครปฐมวัย” โดย อาจารย์นุชรี บุญศรีงาม คณะทำงานวิจัย ซึ่งสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. โครงสร้างทางกายภาพ และโครงสร้างสังคมที่รอง
รับวัฒนธรรมการอ่านโดยทั่วไปมีความเหมาะสม บรรยากาศดี มีปัจจัยและทรัพยากรที่สนับสนุนต่อการจัดกิจกรรมสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่า
นอย่างต่อเนื่อง 2. แนวทางการสร้างแรงบันดาลใจในการอ่านสามารถทำได้ 3 แนวทาง คือ การที่พ่อแม่ เป็นแบบอย่างที่ดี ครูและบรรณารักษ์ร่วมสร้างสรรค์ และชุมชนต้องรู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของ 3. การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในจังหวัดนครปฐม สิ่งที่
ควรปรับปรุง อันดับแรกคือ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ต่อมาควรเริ่มในชุมชนคือ การจัดกิจกรรมกับเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างนักอ่านน้อย
และการขับเคลื่อนให้มีทุกตำบลคือ การมีห้องสมุดประจำตำบล
ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการสร้างวัฒนธรรมการอ่าน คือ
1. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ พ่อแม่ต้องทำงานและดิ้นรนเพื่อปากท้อง ไม่มีเวลาให้กับการอ่านหนังสือเพื่อลูก ในขณะที่หนังสือมี
ราคาแพง หนังสือและสื่อการอ่านจึงเป็นสิ่งที่ครอบครัวที่มีบาฯทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับล่างเข้าไม่ถึง
2. ผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการอ่าน รวมทั้งการมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง เช่น มีความเชื่อว่าการอ่าน
หนังสือทำให้เสียเวลา (ทำมาหากิน) เป็นต้น
3. การมีสิ่งเร้าภายนอกอื่นๆ ที่น่าสนใจและเร้าใจมากกว่าการอ่าน เช่น ร้านคอมพิวเตอร์เกมและ
ห้างสรรพสินค้า ในขณะทีห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดนครปฐมมีไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ อยู่ห่างไกลและไม่สะดวกในการเดินทาง ส่วนห้องสมุดที่มีความพร้อมค่อนข้างมาก เช่น ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ ใกล้ชุมชนกลับไม่ได้ให้บริการในวันหยุด หรือ
แม้แต่ในวันราชการก็ไม่ได้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป
4. ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนไม่ได้ส่งเสริม สนับสนุนหรือร่วมสร้าง.ธรรมการอ่านอย่างจริงจังให้กับ
ประชาชนจากนั้นได้มีการเสวนา “การพัฒนาเครือข่ายขับเคลื่อนและหนุนเสริมการอ่าน: ยุทธศาสตร์ แผนงานและกิจกรรม” โดย
คุณสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้บอกเล่าถึงบทบาทของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และยก
ตัวอย่างการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในต่างประเทศ พร้อมกับให้โจทย์ที่ท้าทายคนนครปฐมว่า จะทำอย่างไรให้เด็กที่เกิดใหม่ในนครปฐมปี
ละหมื่นกว่าคนรักการอ่าน
โจทย์ ที่ต้องช่วยกันหาคำตอบ และเป็นคำตอบที่ไม่มีข้อสิ้นสุด
ครูชีวัน วิสาสะ นักเขียนนิทานเด็ก เสวนาด้วยลีลาของนักเล่านิทาน ที่บอกว่าการอ่านต้องมีทั้งความสะเทือนอารมณ์ ความ
เบิกบาน และจินตนาการ นพ.อุดม เพชรสังหาร จิตแพทย์ และรองประธานกรรมการบริหารบริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด เน้นย้ำให้เห็นถึงการอ่าน
เอาเรื่อง และอ่านเอารส พร้อมทั้งยกตัวอย่างว่าโรงรียนแพทย์หลายแห่งเริ่มให้นักศึกษาแพทย์อ่านวรรณกรรมเพื่อให้เข้าใจ และสามารถสื่อสาร
กับมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น คุณชนิตร ภู่กาญจน์ หัวหน้าข่าวการศึกษา หนังสือพิมพ์แนวหน้า เสนอว่าการทำกิจกรรมเช่นนี้ต้องช่วยกันกำหนด
ยุทธศาสตร์ออกมาให้ได้ สำหรับประสบการณ์ของตัวเองคือใช้วิธีหลอกล่อให้เขียน เพราะผู้ที่เขียนหนังสือเก่ง จะต้องเป็นนักอ่านมาก่อน คุณ
ศิระวุฒิ เอี่ยมกลิ่น ครูบรรณารักษ์ โรงเรียนสหบำรุงวิชา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม บอกเล่าถึงประสบการณ์ในการทำกิจกรรมส่งเสริมกา
ร่านของตัวเอง และเห็นด้วยที่จะต้องมีการสร้างเครือข่ายทำงานด้วยกัน ส่วนตัวดิฉัน มีความเห็นว่าทุกคนที่เข้ามาในงานสัมมนาครั้งนี้ต่างมีประ
สบการณ์เรื่องการส่งเสริมการอ่านกันมาแล้วทั้งสิ้น แต่มีสิ่งที่จำเป็นจะต้องทบทวนได้แก่ การสร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนได้เข้าถึง
หนังสือ ความต่างของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็กเก่ง และเด็กไม่เก่ง การกำหนดพื้นที่เพื่อการอ่านหนังสือแต่ละประเภท และ หนังสือที่เหมาะสม
กับกลุ่มเป้าหมายในสัดส่วนที่เหมาะสม และมองให้เรื่องการอ่านเป็นเรื่องปกติของชีวิต อย่ามองว่าเป็นภาระ และมองการอ่านในมุมที่กว้างๆ ขึ้น
สุดท้ายผู้เข้าร่วมได้ระดมความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ และยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนครปฐมเป็นนครแห่งการอ่าน ต่างบอกเล่า
ประสบการณ์ในการทำงาน และช่วยกันใครว่ายุทธศาสตร์ของกิจกรรมควรเป็นอย่างไร ใครเป็นคนทำ ใครทำอะไร ทุนที่ไหน และเป้าหมาย
เป็นอย่างไร สิ่งที่ทุกคนสะท้อนออกมาคือเห็นด้วยที่จะสนับสนุนให้นครปฐมเป็นนครแห่งการอ่าน มีเป้าหมายให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกวัยได้รับ
ประโยชน์จากการอ่าน ผู้ที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมนี้ต้องประกอบด้วยทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนทั้งระดับชุมชน
ตำบล อำเภอ และจังหวัด รวมถึงสื่อมวลชน
ขอจบด้วยวาทะคมๆ จากผู้เข้าสัมมนา... ถ้าท่านไม่อ่านหนังสือ ก็คงไม่ส่งเสริมให้ใครอ่านได้
งานนี้เริ่ม Start ไปแล้ว ทีมงานเชื่อว่าคงต้องทำงานกันแบบ nonstop ต่อไป
เข้าชม : 978
|