เริ่มต้นแต่ปี พ.ศ. 2509 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ อันเป็นหลักการของยูเนสโก จากที่ประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้เรียกร้องให้ชาวโลกให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อปวงชน โดยเฉพาะเด็กที่ตกหล่นอยู่นอกโรงเรียน และในที่ประชุม World Conference of Ministers of Education on the Eradication of llliteracy ณ กรุงเตหะราน เมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการเสนอให้ วันที่ 8 กันยายน ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของการประชุมดังกล่าว ให้เป็นวันระลึกปีสากลแห่งการรู้หนังสือ
องค์การศึกษาวิทยาศาตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้นำเสนอประเด็นในช่วงทศวรรษนี้คือ การรู้หนังสือเป็นการให้อิสรภาพแก่ผู้คนทั้งหลาย เป็นอิสรภาพจากความไม่รู้ อิสรภาพจากความยากจน อิสรภาพจากความเจ็บไข้ได้ป่วย เพียงเพราะคนเหล่านั้น มีความรู้ สามารถอ่านออกเขียนได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อรู้หนังสือและมีโอกาสนำไปปฏิบัติแล้ว ก็จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเสรี และมีชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น การรณรงค์ในวันที่ 8 กันยายน จึงเป็นความพยายามที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลของทุกๆ ประเทศ และทุกๆ คนในสังคมตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องระดมสรรพกำลังแก้ไขปัญหาความไม่รู้หนังสือของประชากรในประเทศ
ปัจจุบันมีรางวัลที่เกี่ยวกับการรู้หนังสือ (2004 UNESCO Literacy Prize) ได้แก่ The International Reading Association Literacy Award, The Noma Literacy Prize, King Sejong Literacy Prizes และ The Malcolm Adiseshiah International Literacy Prizeตามที่องค์การศึกษาวิทยาศาตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดให้ วันที่ 8 กันยายน ของทุกปี เป็นวันระลึกปีสากลแห่งการรู้หนังสือ (International Literacy Day) ตามมติที่ประชุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากประเทศทั่วโลกว่าด้วยการไม่รู้หนังสือ เมื่อปี ค.ศ 1965 เพื่อระลึกถึงการรู้หนังสือสากล ประเทศไทยจึงได้จัดกิจกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนให้ความร่วมมือ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการรู้หนังสือ และการศึกษาตลอดชีวิต
ที่มา http://dnfe5.nfe.go.th/
เข้าชม : 1181
|