[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก ปี 2556

เสาร์ ที่ 9 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2555


กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก ปี 2556 “วิกฤติ vs โอกาส” ในทัศนะนักเขียน นักแปล นักวาด

กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก ปี 2556

“วิกฤติ vs โอกาส” ในทัศนะนักเขียน นักแปล นักวาด

Prapatsorn Sevikul, Chamaiporn Sangkrajang, Tiwawat Patarakulwanich and other professionals together offer ways to help create Bangkok as a World Book Capital in a seminar topic of ''''Bangkok, fully become a World Book Capital If...''''.

ประภัสสร เสวิกุล, ชมัยภร แสงกระจ่าง และทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ ร่วม เสนอมุมมองและแนวทางสู่การทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองหนังสือโลกอย่างแท้จริง ในการสัมมนาเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน ในกลุ่มนักเขียน นักแปล และนักวาดภาพประกอบ ในหัวข้อ “กรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองหนังสือโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ถ้า...?” เห็นพ้องตรงกันว่าต้องเร่งสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้หยั่งรากลึกลงในสังคม

 

 

เมื่อกรุงเทพมหานครได้รับคัดเลือกจากองค์การยูเนสโกให้เป็น “เมืองหนังสือโลก ปี 2556” พลัน เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทุกทิศทางก็ดังกระหึ่ม โดยเฉพาะในแวดวงนักเขียน บุคลากรในแวดวงหนังสือ รวมถึงนักอ่านก็ขานรับด้วยท่าทีแตกต่างกันไป ประเด็นหนึ่งที่มักถกเถียงกันคือ โครงการ “กรุงเทพมหานคร เมืองหนังสือโลก ปี 2556” นี่คือ วิกฤติหรือโอกาสกันแน่สำหรับมหานครแห่งนี้ หรือกระทั่งสำหรับประเทศไทย ซึ่งมีสถิติการอ่านหนังสือที่นับว่าน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก หรือแม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง

 

โจทย์นี้ผู้เกี่ยวข้องในโครงการ “กรุงเทพมหานคร เมืองหนังสือโลก ปี 2556” มิได้ละเลย โดยในการสัมมนาเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน ในกลุ่มนักเขียน นักแปล และนักวาดภาพประกอบ ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “กรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองหนังสือโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ถ้า...?” เปิดเวทีให้นักเขียน นักแปล และนักวาดภาพประกอบมาช่วยกันตอบคำถามนี้ โดยมีวิทยากรคือ คุณประภัสสร เสวิกุล นักเขียนมือรางวัลผู้คร่ำหวอดในวงการมายาวนาน คุณชมัยภร แสงกระจ่าง นักเขียน และที่ปรึกษาสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย คุณทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ คอลัมนิสต์การ์ตูนจากหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ โดยมี นพ.อุดม เพชรสังหาร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน สถาบันรักลูก เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา

คุณประภัสสร เสวิกุล กล่าว ถึงเรื่องนี้ว่า เมื่อ กทม.ถูกเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก เป็นทั้งวิกฤติและโอกาสในขณะเดียวกัน เพราะไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า อย่างไรก็ตามเขาคิดว่าสามารถทำได้ แต่จะราบรื่นหรือขรุขระก็ขึ้นอยู่กับภาคีด้วยว่าจะร่วมมือกันผลักดันมากน้อย แค่ไหน และเสนอว่าสิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นก่อนอย่างเร่งด่วนมี 3 ประการคือ 1.สร้างวัฒนธรรมการอ่าน 2.สร้างบรรยากาศของเมืองหนังสือ และ 3.มีรสนิยมในการอ่าน ทั้ง 3 อย่างนี้ต้องประกอบกันเพื่อการเป็นเมืองหนังสือโลกอย่างแท้จริง

“จะสร้างวัฒนธรรมการอ่านต้องเริ่ม ตั้งแต่ตั้งครรภ์ แม่อ่านให้ลูกในท้องฟัง การอ่านเริ่มจากครอบครัว ต่อไปก็สร้างโรงเรียนส่งเสริมการอ่าน สร้างกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มีเทคนิคลูกเล่นมาช่วย สร้างกิจกรรมที่ทำให้ตัวละครในหนังสือมีชีวิตขึ้นมา เช่น ทำไมไม่พาคนไปตามรอยโกโบริที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย และอีกมากมายที่เป็นการสร้างสีสันให้คนหันมาสนใจการอ่านมากขึ้น สำหรับการสร้างบรรยากาศให้เกิดการอ่าน กทม.มีช่องทางมากมาย รถไฟฟ้า รถเมล์ ควรมีจุดให้ยืมหนังสือ มีไอเดียนึงที่ดีมาก ที่หน้าโรงเรียนในนนทบุรี เขามีหนังสือวางให้อ่านที่ป้ายรถเมล์ เป็นการให้หนังสือเดินมาหาคน ให้หนังสืออยู่ใกล้มือในทุกที่ ส่วนเรื่องรสนิยม ทำไมจีน ญี่ปุ่นเขาถึงแปลวรรณกรรมดีๆ ระดับโลกมากมาย เพราะถ้าไม่มีหนังสือดีๆ อ่านรสนิยมในการอ่านก็ไม่ดี เพราะวรรณกรรมระดับโลกคือรากฐานทางความคิด และทางวัฒนธรรม” คุณประภัสสร อธิบายถึงวิธีในการสร้างรากฐานการอ่านให้เกิดขึ้น

ด้านคุณชมัยภร แสงกระจ่าง นักเขียนหญิงผู้มีผลงานขึ้นหิ้งมากมาย กล่าวว่า ต้องพัฒนานักเขียน นักแปล และนักอ่านขึ้นมาพร้อมๆ กัน ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง ด้วยเนื้อหาที่หลากหลาย ด้วยคนทำงานที่ลุ่มลึกและรู้จริงในเรื่องนั้นๆ

“พูดถึงเรื่องรสนิยมเป็นเรื่องยากมาก ต้องระวังไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นประเด็นเรื่องชนชั้น คุณต้องมีวิธีที่แยบยลมากๆ ในการชักชวน เราจะไปบังคับให้คนอ่านวรรณกรรมคลาสสิกไม่ได้ แต่เราต้องพัฒนานักเขียน นักแปล และนักอ่านขึ้นมาพร้อมๆ กัน เรามักพูดว่า ทำไมคนไม่อ่านหนังสือ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีหนังสือดีๆ ให้อ่าน สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่วนไปมา ดังนั้นเราต้องพัฒนาทุกส่วนไปพร้อมกัน ทั้งบุคคล สถานที่ พื้นที่มีอยู่แล้ว เช่น ห้องสมุด ห้องประชุม ทำยังไงจะใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์เรื่องการอ่าน กระบวนการทำงานเพื่อนำไปสู่เมืองหนังสือโลกต้องทำให้กว้างขวาง ทำให้ทั่วถึง ให้ถึงทุกคน แต่ในขณะเดียวกันต้องหลากหลาย ห้ามมีการครอบงำ เช่น กิจกรรมต้องทำเพื่อคนหลากหลายอายุ ไม่ใช่มีแต่หน้าเก่าๆ แก่ๆ ที่มาพูดทุกครั้ง หรือทำกับหนังสือหลากหลายแนว คลาสสิกบ้าง แฟนตาซีบ้าง ต้องทำให้ครอบคลุมหลากหลายกลุ่มรสนิยมการอ่าน กระบวนการทำงานต้องลุ่มลึก สรุปคือลงรากลึก ระดมคนที่รู้ลึกๆ มาทำเรื่องการอ่านให้กว้างขวาง หลากหลาย และลุ่มลึก”

สำหรับในมุมมองของนักวาดภาพ การ์ตูนนิสต์ และนักอ่านตัวยง คุณทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ มองว่าการเป็นเมืองหนังสือโลกนั้นต้องเกิดจากคนในสังคมเห็นคุณค่าของการอ่าน รู้สึกว่าการอ่านมีผลกับชีวิตของเขาอย่างแท้จริง

“เราจะทำอย่างไรให้คนได้มาอ่านหนังสือ แต่คำถามคือ เราอ่านไปทำไม อย่างผมอ่านหนังสือเพราะสงสัย ผมสงสัยตลอดเวลา การอ่านทำให้ผมคลายข้อสงสัย และผมเกิดข้อสงสัยใหม่ๆ ตลอด จึงต้องอ่านเรื่อยๆ นั่นเป็นตอนเด็กๆ ที่อ่านเพราะสงสัย ต่อมาผมมีความสุขผมจึงอ่าน หนังสือบางเล่มผมอ่านแบบไม่อยากให้จบ รู้สึกเหมือนกินช็อกโกแลตไม่อยากให้หมด แต่ผมก็ไม่ได้อ่านหนังสือเพื่อความสุขอย่างเดียว ผมอ่านทุกอย่างตั้งแต่หนังสือโป๊ไปจนถึงหนังสือปรัชญา เหมือนการกินอาหาร ถ้าเรากินอาหารชนิดเดียว มันเกิดความซ้ำซากทำให้เกิดมะเร็งได้ แต่ถ้ากินอาหารหลากหลายเป็นการเสริมสร้างพลานามัยของเราให้แข็งแรง หนังสือก็เหมือนกัน การอ่านหลากหลายเราจะไม่คับแคบ แล้วไปดูถูกคนอื่นว่าไอ้โง่ การอ่านเปิดโลก เปิดมุมมองความคิด ส่วนในทัศนะของนักเขียน ผมมีอะไรบางอย่างที่อยากบอก ผมจึงเขียนออกมา”

เรียกได้ว่า จากงานนี้ทุกฝ่ายต่างเห็นธงร่วมกันว่า การสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทยให้จงได้ นั่นต่างหากคือ การเป็นเมืองหนังสือโลกอย่างแท้จริง ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันผลักดันให้เกิดขึ้นจริงโดยเร็วที่สุด โดยสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้ฝังรากลึกลงในสังคม ในจิตใจของผู้คน และแทรกซึมในวิถีชีวิตของคนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนแก่ชรา จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมให้ดี ขึ้น การเป็นเมืองหนังสือสือโลกจึงจะมีคุณค่า มิใช่เพียงการทำกิจกรรมไฟไหม้ฟางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://www.bangkokreadforlife.com/index.php/articles/8-articles/212--2556-vs-



เข้าชม : 1458


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) 24 / ก.ค. / 2567
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) 24 / ก.ค. / 2567
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) 24 / ก.ค. / 2567
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ 14 / มิ.ย. / 2567
      กิจกรรมส่งเรียนรู้ของนักศึกษา 14 / มิ.ย. / 2567




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05