ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพแสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมกันและจำนวนสมาชิกจะคงอยู่ เท่านี้มาอีก 17 ปี ในวันที่ 8 มกราคม 2527 บรูไน ดารุสซาลัมจึงเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 และจากนั้นเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540 กัมพูชาเมื่อ 30 เมษายน 2542 รวม 10 ประเทศ ปัจจุบันอาเซียนมีประชากรรวม 503 ล้านคน มีดินแดนรวมกัน 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่า 737 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าการค้ารวม 720 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อ แรกนั้นประเทศสมาชิกก่อตั้งแสดงเจตนารมณ์ว่ามีความประสงค์ให้อาเซียนเป็น เวทีความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและเพื่อช่วย เหลือซึ่งกันและกันในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันด้านเศรษฐกิจ แต่ในข้อเท็จจริงแล้วอาเซียนมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทาง เศรษฐกิจน้อยมากจนกระทั่ง 10 ปีให้หลังคือในปี 2520จึง ได้เริ่มมีการดำเนินการจริงจังตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งอาเซียนโดยรัฐมนตรี เศรษฐกิจอาเซียนได้ประชุมกันที่กรุงมะนิลา และบรรลุข้อตกลงเป็นครั้งแรกที่จะเจรจาลดภาษีศุลกากรเป็นรายสินค้า ซึ่งแม้ว่าจะดูเป็นการเคลื่อนไหวที่ช้ามากสำหรับการที่จะเปิดประเทศรองรับ การค้าเสรี แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นผลมาจากการประนีประนอมระหว่างประเทศที่มีความก้าว หน้าทางด้านอุตสาหกรรมกับประเทศที่อุตสาหกรรมยังล้าหลัง ซึ่งฝ่ายหลังนี้อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกที่มีประชากร 120 ล้านคนตกอยู่ในฐานะดังกล่าวด้วย แต่พํฒนาการของอาเซียนดังกล่าวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีนัย สำคัญ จนกระทั่งเข้าสู่ศควรรษใหม่ ในเดือนตุลาคม 2546 ในการประชุมระดับผู้นำอาเซียนที่เมืองบาหลีประเทศอินโดนีเซียได้มีการประกาศ เจตนารมณ์ที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรมอาเซียนขึ้น ซึ่งได้นับการสนับสนุนจากประชาคมโลกทั่วไปโดยเฉพาะสหภาพยุโรป ซึ่งมีประสบการณ์ในการบูรณาการประเทศต่างๆเข้าด้วยกันมาก่อน
สมาชิกของกลุ่มอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็น องค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอ เซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด ประเทศ ได้แก่ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลาย ข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
หนังสือเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
|