[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
รู้จักนักเขียนเมืองตรัง

อังคาร ที่ 17 เดือน มกราคม พ.ศ.2555


ประวัติส่วนตัว

อาจารย์เปลื้อง คงแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2492

ที่บ้านหนองยวน ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน บิดาชื่อนายกลับ คงแก้ว

มารดาชื่อนางดำ คงแก้ว ทางด้านครอบครัวอาจารย์เปลื้อง คงแก้ว

สมรสกับอาจารย์สุมลรัตน์ คงแก้ว(อภิรักษ์ศรานนท์)

ซึ่งเป็นชาวจังหวัดชลบุรี มีบุตรธิดา 2 คน คือ

1) นางสาวณมน คงแก้ว เรียนจบคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2) นายณพล คงแก้ว เรียนจบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์เปลื้อง คงแก้ว เป็นครู - กวี - นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม อุทิศตัวเพื่อคนอื่น เนื่องด้วยมีวิถีชีวิตอยู่ในหมู่บ้านชนบท เมื่อได้เห็นบุคคลที่มีอำนาจเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ด้อยกว่าจึงเกิดความรู้สึกว่าสังคมไม่เป็นธรรมจึงแสดงออกมาด้วยความคิดที่เป็นอักษร ทำให้คนหลาย ๆ ฝ่ายมองว่าอาจารย์เปลื้อง คงแก้ว เป็นผู้ปลุกระดมทางความคิดให้ประชาชนต่อต้านอำนาจของรัฐ

 

ประวัติการศึกษา

1) ระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเพาะปัญญา จังหวัดตรัง จบปี พ.. 2506

2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง จบปี พ.. 2509

3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง จบปี พ.. 2512

4) ระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จังหวัดชลบุรี จบปี พ..

2516

 

ประวัติการทำงาน

1) .. 2517 เป็นครูอัตราจ้างที่โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

2) .. 2518 รับราชการครูที่โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

3) .. 2519 โรงเรียนทุ่งสุขศาลา จังหวัดชลบุรี

4) .. 2520 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

5) .. 2542 เข้าโครงการเกษียณราชการก่อนอายุ ออกมาเป็นข้าราชการบำนาญ

 

ในขณะที่รับราชการครูที่โรงเรียนสภาราชินี เกิดเหตุการณ์ที่นิสิต นักศึกษา ประชาชน

รวมตัวกันเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาล โดยกล่าวหาว่ารัฐบาลเป็นเผด็จการ ไม่ความเป็นธรรมในสังคม ทำให้อาจารย์เปลื้อง คงแก้วเห็นว่าการเป็นครูสอนหนังสืออย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงเข้าร่วมกับนักเคลื่อนไหวในจังหวัดตรังเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ ในนาม กลุ่มครูเสรีชน จนเกิดการปราบปรามผู้ชุมนุมเคลื่อนไหว ส่งผลให้ กลุ่มครูเสรีชนบางคนถูกจับกุมและบางคนต้องหนีเข้าป่า ส่วนอาจารย์เปลื้อง คงแก้วถูกข้อหา ฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้อาจารย์เปลื้อง คงแก้ว ต้องย้ายไปเป็นครูที่โรงเรียนทุ่งสุขศาลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ในปี พ.. 2521 เมื่อสถานการณ์ปราบปราม นิสิต นักศึกษา ประชาชน เริ่มคลี่คลาย อาจารย์เปลื้อง คงแก้วจึงย้ายครอบครัวกลับจังหวัดตรังอีกครั้ง โดยเข้ารับราชการที่โรงเรียนสภาราชินี จากนั้นจึงใช้เวลานอกห้องเรียนเดินทางไปตามริมป่าเขาเขต 3 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล เพื่อหาแนวทางการต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีงามตามที่มุ่งหวัง และในที่สุดก็ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานเมืองประสานป่า ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในนาม สหายแจ้ง เทือกบรรทัดจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ป่าแตก หลังจากเหตุการณ์ป่าแตกอาจารย์เปลื้อง ได้ร่วมกับเพื่อนครูในโรงเรียนหันมาสร้างบรรยากาศแนวรบด้านวัฒนธรรมให้คึกคักยิ่งขึ้น โดยการจัดอภิปรายวรรณกรรม การจัดตั้งกลุ่มวรรณกรรม การทำหนังสือพิมพ์ เป็นต้น จนในปี พ.. 2529 อาจารย์เปลื้อง คงแก้ว เริ่มรู้จักกับองค์กรพัฒนาเอกชนที่เข้ามาทำงานในจังหวัดตรัง ตั้งแต่นั้น

บทบาทของอาจารย์เปลื้อง คงแก้ว ผู้ได้สมญา คนตรง เมืองตรัง ก็เริ่มโดดเด่นเป็นที่รู้จักในสังคมภาคใต้และในระดับประเทศอย่างกว้างขวาง ในฐานะผู้อุทิศตัวเป็นที่ปรึกษา กรรมการ ผู้เคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมทุกข์ร่วมสุขของประชาชนผู้ยากไร้ และยึดมั่นในแนวทางการเมืองภาคพลเมือง โดยแยกบทบาทได้ดังนี้

 

บทบาทด้านการเมือง

1) เป็นประธานองค์กรกลางจังหวัดตรัง 3 สมัย (..2535, 2538, 2539)

2) เป็นกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย จังหวัดตรัง

3) เป็นกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตย

4) เป็นแกนนำคนสำคัญของจังหวัดตรัง ในการต่อต้านเผด็จการช่วงเหตุการณ์

พฤษภาทมิฬ .. 2535

5) เป็นนักพูด นักปราศรัย ทางการเมืองภาคพลเมืองที่ได้รับการยอมรับนับถือถึงคารมที่แหลมคมที่สุดในจังหวัดตรัง

 

บทบาทด้านสังคม

เป็นครูผู้ริเริ่มนำนักเรียนออกค่ายอนุรักษ์นอกประตูโรงเรียน โดยการออกไปตาม

ท้องถิ่นชนบทต่าง ๆ จนสามารถสร้างนักกิจกรรมทางสังคม และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในจังหวัดตรังขึ้นมากมาย ดังเช่น

1) เป็นผู้ประสานและผลักดันให้เกิดศูนย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นในจังหวัดตรัง

2) เป็นผู้เข้าร่วมเรียกร้อง ต่อสู้กับกลุ่มอำนาจที่มุ่งทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติเพื่อประโยชน์ส่วนตน ทั้งในจังหวัดตรังและนอกจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ

3) เป็นผู้เข้าร่วมเรียกร้องและต่อสู้ให้กำลังใจชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอำนาจ นโยบายรัฐ จนเป็นที่เคารพนับถือ รักใคร่ของชาวบ้านและคนทำงานทางสังคมของภาคใต้ทั่วประเทศ

 

บทบาทด้านวรรณกรรม

อาจารย์เปลื้อง คงแก้ว เริ่มฝึกเขียนกาพย์ กลอนตั้งแต่เรียนชั้นมัธยม โดยได้รับอิทธิพลจากกลอนหนังตะลุง มโนราห์ในเบื้องต้น และได้รับอิทธิพลจากอาจารย์เจียมจิต บุญญานุรักษ์

และอาจารย์บุญครอง ตาระวางกรู จัดรายการลำนำเพลงในวิทยุซึ่งเป็นรายการที่อาจารย์เปลื้องชอบฟัง ทำให้ซึมซับความไพเราะของกาพย์ กลอน และยังมีเพื่อนร่วมรุ่นที่สนใจในวรรณกรรมกาพย์กลอน เช่น สถาพร ศรีสัจจัง สุประวัติ ใจสมุทร โดยร่วมกันจัดทำวารสารฝาผนังชื่อ

หมากขามเกิดขึ้นในโรงเรียนอย่างคึกคัก เมื่อไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิชาการศึกษา

บางแสน อาจารย์เปลื้อง คงแก้วก็ยังเป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ ดำเนินกิจกรรมการเขียนการอ่านอย่างจริงจัง เมื่อจบการศึกษามารับราชการครูก็ได้ร่วมกับเพื่อนครูในโรงเรียนจัด

กิจกรรมการเขียนการอ่านขึ้นในโรงเรียนอย่างคึกคัก โดยการเชิญนักเขียนจากมาบรรยายให้

นักเรียนฟังทุกปีส่งผลให้ลูกศิษย์กลายเป็นนักเขียนในเวลาต่อมาหลายคน เช่น สุรวิชญ์ วีรวรรณ ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร และขจรฤทธิ์ รักษา สุวิทย์ ขาวเนียม ในด้านวรรณกรรมอาจารย์เปลื้องได้จัดตั้งกลุ่มวรรณกรรม บุดใหม่ขึ้นกับอาจารย์สมเจตนา มุนีโมไนย โดยเขียนงานออกเผยแพร่ทั้งส่วนท้องถิ่นและส่วนกลางจนเป็นที่ยอมรับของคนในแวดวงวรรณกรรม

ปี พ.. 2528 อาจารย์เปลื้อง คงแก้ว ได้ร่วมกับเพื่อน ๆ ออกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อ แนวทาง ขึ้นในจังหวัดตรัง โดยใช้พื้นที่คอลัมน์ ที่พักเดินทาง โดยนาม เทียน ส่องไท เขียนวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองอย่างกล้าหาญเป็นเหตุให้ถูกนักการเมืองฟ้องร้อง จากนั้นอาจารย์เปลื้อง ได้หันไปสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม จนมีผลงานเขียนวรรณกรรมออกมาน้อย จนกระทั่งกลับมาเขียนหนังสือเผยแพร่อย่างจริงจังใหม่อีกครั้ง โดยใช้นามปากกาว่า

เทือก บรรทัด ในบทกวีเล่มแรกชื่อ กลางคลื่นกระแสกาลเข้ารอบการประกวดรางวัลซีไรต์ ห้าเล่มสุดท้าย เมื่อปี พ.. 2541

ในปี พ.. 2542 อาจารย์เปลื้อง คงแก้ว ได้เข้าโครงเกษียณราชการก่อนอายุ จึงทำให้มีเวลาในการเขียนหนังสือมากขึ้น ซึ่งนอกจากนี้ยังรับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายด้านวรรณกรรม ผู้คนในแวดวงวรรณกรรมและนักอ่านทั้งหลายที่ได้ติดตามผลงานของอาจารย์เปลื้อง คงแก้วมักจะกล่าวกันว่า นับวันยิ่งเขียนยิ่งนิ่ง ยิ่งคมและยิ่งลึก

 

ผลงานด้านการประพันธ์

1) กวีนิพนธ์ กลางคลื่นกระแสกาล .. 2541 เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์

2) กวีนิพนธ์ เพราะน้ำรินไหลจึงใสเย็น .. 2544

3) กวีนิพนธ์ บึงพระจันทร์ .. 2547

4) กวีนิพนธ์และความเรียง ตัวตนกลางคลื่นกระแสกาล .. 2547

เขียนร่วมกับญิบ พันจันทร์ (จรัล พากเพียร)

 

นามปากกาที่ใช้

1) ช่อแก้วเป็นนามปากกาที่อาจารย์เปลื้อง คงแก้วใช้เขียนบทกวีในสมัยเรียนหนังสือ

2) “เทือกบรรทัดเป็นนามปากกาที่คำว่า เทือกกับ บรรทัด เขียนติดกันตั้งขึ้นตอน

เหตุการณ์ป่าแตกตามคำสร้อยของชื่อ สหายแจ้ง เทือกบรรทัดโดยมีนัยเจตนายืนยันถึงสิ่งที่เชื่อมั่นตามนัยของประโยคที่อาจารย์เปลื้องมักจะบอกว่า เดินออกนอกทาง (พรรค) ก็พบทาง

3) “เทือก เขาบรรทัดเป็นนามปากกาที่ใช้เขียนร่วมอยู่ในหนังสือ ย่ำไปบนใบไม้ร่วง ของจรัล พากเพียร

4) “เทียน ส่องไท เป็นนามปากกาที่ใช้เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

5) “ตรง เมืองตรัง เป็นนามปากกาที่ใช้เขียนวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองในหนังสือ จุลสารสานสัมพันธ์

6) “เปลื้อง คงแก้ว เป็นนามจริงที่ใช้เขียนบทความ วิจารณ์สังคมและการเมือง

7) “เทือก บรรทัด เป็นนามปากกาที่เขียนคำว่า เทือกกับ บรรทัด ห่างกัน

อาจารย์เปลื้อง คงแก้ว ให้เหตุผลว่า ที่ดินตรงสวนติดเทือกเขาบรรทัด ก็เลยเอามาเป็น

ความหมาย ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือตระกูลของพ่อเป็นคนตรงไปตรงมา ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม พ่อเป็นคนพูดตรง มีความหมายว่า เป็นเทือกเถาเหล่ากอที่ตรง….”

อาจารย์เปลื้อง คงแก้ว หรือเทือก บรรทัด ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2548 ที่โรงพยาบาลตรัง ด้วยสาเหตุติดเชื้อในกระแสโลหิตทำให้หัวใจล้มเหลว รวมอายุ 56 ปี โดยก่อนเสียชีวิตได้รวบรวมกำลังครั้งสุดท้ายเขียนกวีแห่งชีวิตไว้อย่างงดงาม ให้แก่ภรรยาไว้ว่า เพราะฉันมีหัวใจ ไว้หายใจ
 ที่มา : http://www.thiango.org



เข้าชม : 1948


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) 24 / ก.ค. / 2567
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) 24 / ก.ค. / 2567
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) 24 / ก.ค. / 2567
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ 14 / มิ.ย. / 2567
      กิจกรรมส่งเรียนรู้ของนักศึกษา 14 / มิ.ย. / 2567




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05