[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน
กำเนิดสวนยางพาราในประเทศไทย

อาทิตย์ ที่ 15 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2555


 กำเนิดสวนยางพาราในประเทศไทย

        ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน 
ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลุกยางกันมีผลดีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง
แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น
จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมา
หุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือ
ส่วนตัวของพระสถลฯรีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที

         ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตัง
จังหวัดตรังซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่น

แรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือ
ผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย

          จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วน
แต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย 
และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า
 “ยางเทศา”

         ขณะนี้มีการปลูกยางพาราไปทั่วทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 9 ล้านไร่ มีผู้ถือครองประมาณ 5 แสน
ครอบครัวและจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ   รองลงมาจากข้าว    ทำรายได้ให้กับประเทศ   ปีละนับหมื่นล้านบาท    พระยา
รัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดีได้รับการยกย่องและให้เกียรติเป็นนบิดาแห่งยางพาราไทยด้วยเหตุฉะนี้

         จากการที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นคนทำงานจริง เข้าถึงปัญหาของ
ชาวบ้าน กล้าลงโทษคนทำผิด ปูนบำเหน็จความดี ให้แก่คนทำดี พยายามนำสิ่งใหม่ ๆ 
ที่ได้พบเห็นในต่างประเทศมาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างมากมาย
ทั้งยังใช้นโยบายให้คนต่างชาติมมาลงทุน และมีเงื่อนไขการแลกเปลี่ยน โดยไม่ให้
ส่วนรวมเสียเปรียบซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ไว้นี้ เป็นพื้นฐานอันส่งผลประโยชนน์
มหาศาล มากกระทั่งทุกวันนี้

          อนุสาวรีย์ หล่อใหญ่กว่าตัวจริงของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี สร้างขึ้น
ที่ตำหนักผ่อนกาย ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรังและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน 
พุทธศักราช   2494 หลังจากท่านถึงแก่อนิจกรรม 39 ปี นอกจากอนุสาวรีย์นี้แล้ว
ถนนสายต่าง ๆ ทั้งในภูเก็ต ตรัง กันตัง ก็ตั้งชื่อตามพระยารัษฎา เช่น ถนนรัษฎา
ถนนรัษฎานุสรณ์ เป็นต้นเพื่อเป็นสิ่งที่ระลึกถึงเกียรติคุณของท่าน ให้เยาวชนรุ่นหลัง
ระลึกถึงตลอดไป



เข้าชม : 1430


เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน 5 อันดับล่าสุด

      โครงการบรรณศัญจร (Book Voyage) 14 / ก.พ. / 2560
      ศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่ห้องสมุด 20 / ก.พ. / 2559
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโครงการอำเภอยิ้ม.. 15 / ธ.ค. / 2558
      วันสุนทรภู่ 29 / มิ.ย. / 2558
      วันกองทัพไทย 21 / ม.ค. / 2558




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05