[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ

ศุกร์ ที่ 3 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2564


 วันชาติของไทย

         ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ความเป็นมาของวันชาติ โดยทั่วไป มักจะตรงกับวันที่ ประเทศนั้นๆเฉลิมฉลองการได้รับอิสรภาพ เป็นเอกร าชห รือเป็น วันสถ าปน าป ระเทศ สถ าปน า รั ฐ สถ าปน า ร าช วงศ์ วันพร ะ ร าชสมภพ ของพระมหากษัตริย์ วันเกิดของประมุขรัฐ หรืออาจเป็นวันส าคัญทางประวัติศาสตร์อื่นๆ ดังนั้นวันชาติของ แต่ละประเทศจึงขึ้นอยู่กับการก าหนดของประเทศนั้นๆ และมักจะถือเป็นวันหยุดประจ าของชาติ หรือ วันหยุดราชการด้วย วันชาติในบางประเทศมีมากกว่า ๑ วัน ได้แก่ ประเทศปากีสถาน มีวันชาติ ๒ วัน โดยจะนับ วันที่ ๒๓ มีนาคม เป็นวันที่ได้รับเอกราช หรือการปลดแอกจากการเป็นอาณานิคม เรียกว่า "Republic Day"และนับ วันที่ ๑๔ สิงหาคม เป็นวันสถาปนาการปกครองขึ้นใหม่ "Independence Day" ประเทศฮังการี มีวันชาติถึง ๓ วัน (วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๐ สิงหาคม และ ๒๓ ตุลาคม) และประเทศจีน นอกจากจะถือวันที่ ๑ ตุลาคม เป็นวันชาติ แล้วยังถือเอาวันที่อังกฤษคืนเกาะฮ่องกง อันเป็นเขตการปกครองพิเศษให้กับประเทศจีนในวันที่ ๑ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันชาติที่ประเทศจีนจะจัดการเฉลิมฉลองเพิ่มขึ้นอีก ๑ วันด้วย ประเทศไทยเคยมีการก าหนดให้วันที่ ๒๔ มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันชาติเนื่องจาก เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย ตามประกาศส านักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๑ โดย พลเอกพหลพล พยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการฉลองวันชาติครั้งแรกวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๒ ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอดเป็นระยะเวลาถึง ๒๑ ปี จนถึงสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้มีการทบทวนว่าไม่ควรใช้วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติ เนื่องจากมีความไม่เหมาะสมหลายประการ มีการตั้งคณะกรรมการโดยมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาและเสนอความเห็นว่าประเทศที่มี ระบอบประชาธิปไตย และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติหลายประเทศ ถือเอาวันพระราชสมภพ ของพระมหากษัตริย์ เป็นวันฉลองของชาติ เช่นประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น เป็นต้น ดังนั้น เพื่อยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ และเป็นวันศูนย์รวมจิตใจ ความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นวันฉลอง "วันชาติ" ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นต้นมา การจัดงานฉลอง "วันชาติ" ของประเทศต่างๆจะมีรูปแบบแตกต่างกัน ได้แก่ การกล่าวสุนทรพจน์ การจัดขบวนพาเหรดเฉลิมฉลอง การจุดพลุดอกไม้ไฟ การแสดงมหรสพต่างๆ ส่วนประเทศไทยทั้งภาครัฐและ เอกชนมักจะจัดงานเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ เพราะเห็นว่าเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มากกว่าที่จะมีจุดประสงค์เพื่อฉลองวันชาติ เนื่องจากประเทศไทยไม่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศใดมาก่อน ดังนั้นการจัดกิจกรรมต่างๆจึง ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนซาบซึ้ง เข้าใจ และถวายความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเสียสละ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระวิริยอุตสาหะ เพื่อประโยชน์แก่ "ชาติ" ตลอดมาซึ่งก็จะท าให้ "วันชาติ" มีความหมายมากยิ่งขึ้น
วันชาติ

วันพ่อแห่งชาติ

 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นวันชาติ อีกทั้งยังมีเลขมงคลอีกคือเลข ๙ ซึ่งเป็นเลขที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของ คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษา ซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล

ประวัติ

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติขึ้น เนื่องจากพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัว สังคม ที่ผู้เป็นลูกจะต้องเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น "วันพ่อ"

ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ก็ได้มีการประกาศจากรัฐบาลของประเทศไทยว่า "วันพ่อแห่งชาติ" ของประเทศไทย จะยังคงไว้ ให้เป็นวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีต่อไปตามเดิม

วัตถุประสงค์

กิจกรรม

  1. ประดับธงชาติไทยบริเวณอาคารบ้านเรือน
  2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญตักบาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลหรือเรียกว่า จิตอาสา


เข้าชม : 319


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      3 มิถุนายน วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 30 / พ.ค. / 2566
      โครงการพัฒนาบุคลากรและนักศึกษา กศน.ด้วยกระบวนการกีฬา ต้านภัยยาเสพติดจังหวัดตรัง (กศน.ตรังเกมส์) 2 / ธ.ค. / 2565
      13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 10 / ต.ค. / 2565
      วันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day ) 5 / ก.ย. / 2565
      ๑๒ สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง 1 / ส.ค. / 2565


 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05