[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
วันจักรี ตรงกับ วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี

อังคาร ที่ 8 เดือน เมษายน พ.ศ.2557


วันจักรี (Chakri day)

วันจักรี ตรงกับ วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี (วันเสาร์) เป็นวันที่ระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ มหาจักรีบรมราชวงศ์

วันจักรี สำคัญอย่างไร

วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระมหานครทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศ

ประวัติวันจักรี (Chakri day)

เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็น กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ (ร.๑ – ร.๔) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมสักการะ โดยเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และ พระที่นั่งศิวาลัยปราสาท เป็นต้น

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ – ร.๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่าเป็น “วันจักรี

วันจักรี

ราชวงศ์จักรี

วันจักรี

ลำดับราชวงศ์จักรี

ตราราชวงศ์จักรี ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่างๆ

R-0

ตราราชวงศ์จักรี

ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์” ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุง ธนบุรี คำว่า “จักรี” พ้องเสียงกับคำว่า “จักร” และ “ตรี” ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระนารายณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจจุบัน

R-1

ตราประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี
“มหาอุณาโลม” ลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ “อุ” อยู่ตรงกลาง (“อุ” มีลักษณะ เป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะพระนามเดิมว่า “ด้วง”)
หมายถึง ตาที่สามของพระอศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตัั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ ล้มด้วยกลีบบัว ซึ่งเป็นพฤกษชาติสิริมงคล ทางพระพุทธศาสนา

R-2

ตราประจำรัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี
“ครุฑจับนาค” ลักษณะรูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ฉิม” ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทย คือ ที่อยู่ของพญาครุฑ

R-3

ตราประจำรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี
“มหาปราสาท” ลักษณะกลม รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ทับ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน จึงโปรดเกล้าให้สร้างพรลัญจกรเป็นรูปปราสาท

R-4

ตราประจำรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี
“พระมหาพิชัยมงกุฏ” ลักษณะกลมรี รูปพระมหามงกุฏ ตามพระนามเดิมคือ เจ้าฟ้ามงกุฏ อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง มีพาน ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชร ข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งวางสมุดตำรา

R-5

ตราประจำรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี
“พระจุลมงกุฏ หรือ พระเกี้ยว” ลักษณะกลมรี มีรูปพระเกี้ยวยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น เคียงด้วยฉัตรปริวาร ๒ ข้าง ที่ริมขอบทั้ง ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งวางสมุดตำรา

R-6

ตราประจำรัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี
“มหาวชิราวุธ” ลักษณะกลมรี รูปวชิรรวุธ มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น มีฉัตรปริวาน ๒ ข้าง โดยพระนามของพระองค์นี้ มีความหมาย คือ ศัตราวุธของพระอินทร์

R-7

ตราประจำรัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี
“พระไตรศร” ลักษณะกลมรี รูปราวพาดพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมศาสตร์, พระแสงศรอัคนีวาต และพระแสงศรประลัยวาต ( เป็นศรของพระพรหม, พระนารายณ์ และพระอศวร)

R-8

ตราประจำรัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี
“รูปพระโพธิสัตว์” ลักษณะทรงกลมกว้าง 7 ซ.ม. ลักษณะประทับบนบัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน หมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว ด้านหลังแท่นรัศมี มีแท่น รองรับตั้งฉัตรบริวาร ๒ ข้าง เป็นสัญลักษณ์ของ ปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล ซึ่งแปลว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน

R-9

ตรงประจำรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี
“พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์” ลักษณะรูปไข่ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ “อุ” รอบๆ มีรัศมี มีความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน

ตราพระราชลัญจกรนี้ ตั้งแต่ รัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน สร้างขึ้นเพื่อใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนประองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
 

ที่มา:http://scoop.mthai.com/specialdays/2349.html



เข้าชม : 731


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) 24 / ก.ค. / 2567
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) 24 / ก.ค. / 2567
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (รถโมบาย) 24 / ก.ค. / 2567
      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ 14 / มิ.ย. / 2567
      กิจกรรมส่งเรียนรู้ของนักศึกษา 14 / มิ.ย. / 2567




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05