ประวัติส่วนตัว
นายจรัล พากเพียร เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2494 ที่บ้านนาตาล่วง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง บิดาชื่อนายเตริ้น พากเพียร มารดาชื่อนางกิ้มลี้ พากเพียร ปัจจุบันนายจรัล พากเพียร อยู่บ้านเลขที่ 422 เชิงสะพานหัวช้าง ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ประวัติการศึกษา
1) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 จากโรงเรียนวัดราษฎร์รื่นรมย์ บ้านบ่อสีเสียด
อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
2) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านนาตาล่วง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
3) ระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง จากวิทยาลัยครูสงขลา จังหวัดสงขลา
4) ระดับปริญญาตรี สาขาภาษาไทย จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา จังหวัดสงขลา
(มหาวิทยาลัยทักษิณ)
5) ระดับปริญญาโท การศึกษาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จังหวัดสงขลา
6) ระดับประกาศนียบัตรกฏหมายมหาชน รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์
ประวัติการทำงาน
1) รับราชการครั้งแรกที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง พ.ศ. 2517
2) โรงเรียนปากน้ำวิทยาคม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2524
3) เลขานุการอนุกรรมการสิทธิในการสื่อสารและเสรีภาพสื่อมวลชน คณะกรรมกาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในปัจจุบัน
ผลงานการประพันธ์
เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 สาเหตุเพราะมีพื้นฐานทางการอ่านมาก่อนและรับผิดชอบงานสอนวิชาการประพันธ์ จึงจำเป็นต้องริเริ่มงานเขียนด้วยตนเองเพื่อให้เกิดความเชื่อถือต่อผู้เรียน เริ่มงานเขียนครั้งแรกด้วยการเขียนประเภทกวีนิพนธ์และเรื่องสั้นไปพร้อม ๆ กันงานเขียนเรื่องแรกคือ
1) “ที่ ๆ ยังไม่มีใครไปถึง” เป็นการเขียนเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยการเขียนถึง
ความสวยงามและความสำคัญของเกาะตรุเตา จังหวัดสตูล ได้รับการตีพิมพ์ใน หนังสือ “ลลนา” รายปักษ์ ในปี พ.ศ. 2522
2) “บทเพลงแห่งความยากจน” เป็นเรื่องของความทุกข์ยากของชาวสวนยาง ได้รับการ
ตีพิมพ์ในหนังสือ “ลลนา” รายปักษ์ในปี พ.ศ. 2522
3) “ความตายของชายไร้ชื่อ” เป็นกวีนิพนธ์ เนื้อหาเกี่ยวกับชาวสวนยางในเขตป่าเขาที่
เป็นเขตปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ก่อการร้าย ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ “สยามนิกร”
รายสัปดาห์ ในปี พ.ศ. 2522
4) “วันที่ดอกไม้บานไม่พร้อมกัน” เป็นเรื่องสั้น 1 ใน 10 เรื่องสั้นดีเด่น ของกลุ่ม
“ศิลปะวรรณลักษณ์” ในปี พ.ศ. 2522
5) “รอยด่างของแผ่นดิน” เป็นนวนิยายลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร “ครูไทรายปักษ์”
ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2526 นิยายเรื่องนี้กล่าวถึงความขัดแย้งต่างๆ ทางการเมืองในตำบลเล็กๆ ของจังหวัดตรัง โดยเขียนให้เห็นถึงสภาพความยากลำบากของชาวสวนยาง สภาพของครูชนบทในภาคใต้และอิทธิพลมืดต่างๆ นอกจากสารนิยายแล้วยังแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและปัญหาต่าง ๆ ของชาวสวนยางโดยเฉพาะในเขตจังหวัดตรัง
6) “บาดแผลของภูผา” ได้รับรางวัลเรื่องสั้นดีเด่นแห่งปี 2525 จากสมาคมภาษาและ หนังสือแห่งประเทศไทย
7) “ทับตะวัน” ได้รับคัดเลือก 1 ใน 15 เรื่องสั้นดีเด่น ของสมาคมภาษาและหนังสือ ปี 2525
8) “คู่มือเลี้ยงลูกให้เป็นนายกรัฐมนตรี” เป็นหนังสือได้รับรางวัลชมเชยเซเว่นบุ๊ค อวอร์ดสประเภทหนังสือดีในอดีต
9) “ผีเสื้อละสายรุ้ง” เป็นนิยายที่เรียกร้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้กับชนกลุ่มน้อย ในเทือกเขาบรรทัด ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวครั้งที่ 9 ประจำปี 2550 จากบริษัทการ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรางวัลโครงการต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่า เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
นามปากกา
“ญิบ พันจันทร์” โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ผลงานที่เขียนมีทั้งบทกวี เรื่องสั้น
สารคดี นวนิยาย (สถาพร ศรีสัจจัง,2542 :1460)
รางวัลเชิดชูเกียรติ
1) พ.ศ. 2522 เรื่องสั้น “วันที่ดอกไม้บานไม่พร้อมกัน” ได้รับรางวัล1 ใน 10 เรื่อง
สั้นดีเด่น ของกลุ่ม”ศิลปะวรรณลักษณ์”
2) พ.ศ. 2524 เรื่องสั้น “บาดแผลของภูผา” ได้รับรางวัลเรื่องสั้นดีเด่น จากสมาคม
ภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย
3) พ.ศ. 2525 เรื่องสั้น “ทับตะวัน” ได้รับรางวัล1 ใน 10 เรื่องสั้นดีเด่น จากสมาคม
ภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย
4) พ.ศ. 2546 หนังสือ “คู่มือเลี้ยงลูกให้เป็นนายกรัฐมนตรี” ได้รับรางวัลชมเชยประเภท
หนังสือดีในอดีต รางวัลเซเว่นบ๊คส์ อวอร์ดส
5) พ.ศ. 2550 นวนิยาย “ผีเสื้อและสายรุ้ง” ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวจากบริษัทการ
ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
จากผลงานที่คุณภาพดังกล่าวจึงได้รับเชิญให้เป็นตัวแทนจากประเทศไทยไปร่วมประชุมนักเขียนแห่งเอเชีย ที่เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2526 ปัจจุบันยังคงรับราชการอยู่ที่โรงเรียนปากน้ำวิทยาคม และยังคงเขียนหนังสือเป็นงานอดิเรกอย่างสม่ำเสมอ นับว่า “นายจรัล พากเพียร” หรือ “ ญิบ พันจันทร์” เป็นนักเขียนชาวตรังที่ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งผู้ง
ที่มา : http://www.oknation.nel/blog/yipphancha
เข้าชม : 2339
|