ประวัติความเป็นมา
เดิมเป็นพื้นที่ใกล้เชิงเขามีป่าละเมาะปกคลุมพื้นที่ทั่วไปต่อมามี ประชาชนเข้าไปจับจองและเข้าไปอยู่อาศัยทำมาหากินมากขึ้น เรื่อยๆ เรียกว่า "ชุมชนละเมาะ" ตามป่าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณพื้นที่ และต่อมาได้เรียกผิดเพี้ยนเป็น "ละมอ" และได้ตั้งเป็น "ตำบลละมอ" มาจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะที่ตั้ง
เนื้อที่ (แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่) ตำบลละมอ มีเนื้อที่ประมาณ 67.017 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 41,885.625 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ : ติดต่อกับ ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
ทิศใต้ : ติดต่อกับ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรังและจังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ ตำบลนาโยงเหนือ และตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง
ที่ตั้ง ตำบลละมอ เป็นตำบล 1 ใน 6 ตำบล ของอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอนาโยง ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาโยง ประมาณ 4 กิโลเมตร
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ ลำห้วย 25 สาย
- บึง หนองและอื่นๆ 10 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย
- บ่อน้ำตื้น 168 แห่ง
- บ่อโยก 17 แห่ง
- ประปา 10 แห่ง
- สระ 7 แห่ง
ภูมิประเทศ (แสดงภูมิประเทศของ อบต.)
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลละมอ พื้นที่มีลักษณะเป็นภูเขาสูง ทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก
และทิศใต้ของตำบล ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็น ที่ราบ ใช้เป็นที่ตั้งชุมชนและเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
จำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน (แสดงจำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. )
- จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 – 10
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ประชาชนร้อยละ 90 ขององค์การบริหารส่วนตำบลละมอ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม กับการเพาะปลูก /การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
- ทำสวน
- ทำนา
- รับจ้าง
- ค้าขาย
- เลี้ยงสัตว์
- รับราชการ ฯลฯ
หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 6 แห่ง
- โรงสีข้าว 9 แห่ง
- อู่ซ่อมรถ 7 แห่ง
- ตลาดนัด 3 แห่ง
- ร้านค้า86 แห่ง
ลักษณะทางสังคม
ข้อมูลหมู่บ้านในตำบลละมอ
จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 – 10 โดยมีรายละเอียดของแต่ละหมู่บ้านดังนี้
จำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน และเพศ และจำนวนครัวเรือน
หมู่ที่ / ชื่อบ้าน
|
จำนวนประชากร
|
รวม (คน)
|
จำนวนครัวเรือน
|
ชาย
|
หญิง
|
1. บ้านละมอ
2. บ้านควนเจาะ
3. บ้านคลองลำปริง
4. บ้านทุ่งส้มป่อย
5. บ้านหนองยวน
6. บ้านต้นเหรียง
7. บ้านหาญเพ
8. บ้านวังหยี
9. บ้านกลาง
10. บ้านนาหาร
|
531
387
198
483
497
191
382
400
243
328
|
533
424
185
540
466
222
413
360
222
325
|
1,084
811
383
1,023
963
413
795
760
465
653
|
316
208
104
266
227
105
195
175
131
191
|
รวม
|
3,640
|
3,710
|
7,350
|
1,918
|
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด / สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 10 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง
กศน.ตำบลละมอ 1 แห่ง
สาธารณสุข
โรงพยาบาลของรัฐ 2 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 2 แห่ง
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ อัตรา 100 %
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ พระธาตุ จุฬามณีฉัพพรรณรังสีเจดีย์แก้ว ณ บ้านทุ่งสงแก หมู่ที่ 2 ตำบลละมอ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติกรรมฐานของพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไป
ด้านการบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
ตำบลละมอ มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ตรัง - พัทลุง) เป็นสายหลัก และถนนสายรองภายในตำบล ได้แก่ ถนน รพช. สายละมอ - ห้วยไทร และถนน รพช. สายควนเจาะ - วังหยี และถนน รพช. สายหนองยวน
- ถนนลาดยาง 19 สาย
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 17 สาย
- ถนนลูกรัง 31 สาย
- ถนนหินคลุก 10 สาย
การโทรคมนาคม
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 11 ตู้
การไฟฟ้า
- จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 10 หมู่บ้าน
- จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 2,284 ครัว
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ ลำห้วย 25 สาย
- บึง หนองและอื่นๆ 10 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 4 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 168 แห่ง
- บ่อน้ำบาดาล 11 แห่ง
- ประปา 14 แห่ง
- สระ 3 แห่ง
- ชลประทาน 1 โครงการ
- สะพาน คสล. 16 แห่ง
- ท่อลอดเหลี่ยม 11 แห่ง
ข้อมูลอื่นๆ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ( แสดงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ใน อบต. )
- ป่าไม้ ตำบลละมอมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติประมาณ 25,526 ไร่ เป็นป่าไม้มีค่า และสงวนไว้ใช้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แต่ในปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการบุกรุกป่าเพื่อทำ พื้นที่เกษตรกรรม และมีการตัดไม้ทำลายป่า
มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน 7 รุ่น จำนวน 470 คน
- ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น จำนวน 113 คน
- กองทุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 1 รุ่น จำนวน 30 คน
- อ.พ.ป. 2 รุ่น จำนวน 65 คน
- อปพร. 4 รุ่น จำนวน 110 คน
เข้าชม : 1407 |