[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา
 
ข้อมูลบริหารสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดตรัง


อนุเสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์
อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
     พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้คำรงตำเเหน่งเจ้าเมืองตรัง ใน พ.ศ.2433เเละได้ย้ายตัวเมืองไปตั้งที่ตำบล กันตัง เเละได้เริ่มดำเนินการพัฒนา สร้างความเจริญเอนกประการให้แก่เมืองตรัง เช่น สร้างสถานที่ราชการ ตัดถนนเชื่อม ระหว่างอำเภอ และจังหวัดใกล้เคียงโดยเฉพาะการตัดถนนเชื่อมระหว่างเมืองตรัง กับพัทลุง ซึ่งต้องตัดผ่านเขาพับผ้า และต้องประสบความยากลำบากแต่ก็ทำได้ดี ปัจจุบันนี้ถนนระหว่างจังหวัด ตรังกับจังหวัดพัทลุงได้ ปรับปรุงใหม่บริเวณที่เป็น เขาพับผ้าถูกทำลายไปหมดแล้ว นอกจากนี้ ยังได้จัดวางผังเมืองใหม่ เปิดการค้า กับต่างประเทศโดยสร้างท่าเรือขึ้นที่กันตัง มีสะพานท่าเทียบเรือ ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ประธานนามว่า"สะพานเจ้าฟ้า"พยายามนำแบบฉบับ การปกครองของต่างประเทศทั้งฝรั่ง จีนเเละมลายูมาใช้ผสมกับของไทยดำเนินการ พัฒนาบ้านเมืองเเละเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของประชาชนมีหลักการที่จะจับมือให้ราษฎร ทำมาหากินโดยใช้พระคุณ เป็นที่ตั้ง เเละที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือได้นำพันธ์ยางพารา จากเเหลมมลายมาปลูกที่เมืองตรัง เป็นเเห่งเเรกของประเทศ และได้เเพร่หลายไปทั่ว

ถ้ำเขาช้างหาย
อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
     ทางเเยกจากตลาด อำเภอนาโยงมีป้ายใหญ่ลูกศรชี้ทางไปสู่ถ้ำเขาช้างหาย หมู่ที่ 5 ตำบล นาหมื่นศรี เส้นทางทอดโค้งลดเลี้ยวไปตามทางพลีกลางทุ่งนาหมื่นศรี จุดหมายปลายทาง ที่เขาช้างหาย ลูกเขาขนาดย่อมกลางนากว้างตำนานเเห่งบ้านเมือง เล่าขานเราว่ากาลอดีต ครั้งงานมหกรรมก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช พระเถรเณรชีสีกา สัปบุรุษ รวมเป็นคณะพุทธบริษัท จากชุมชนท้องถิ่นนี้ได้รวบรวมเพชรนิลจินดาเเก้วเเหวนเงินทอง ประดาของมีค่า นำไปถวายเป็นพุทธบูชา ณ พระบรมธาตุเจดีย์ ด้วยขบวนช้างม้าข้าคน เป็นกลุ่มใหญ่ พอเเม่ช้างเผือกหนึ่งในขบวนเจ็บท้องด้วยว่าครรภ์เเก่ขบวนทั้งนั้นหยุด รออยู่ เเม่ช้างนั้นคลอดลูกเป็นพลายตัวงามเเละวิ่งเล่นซุกซนตามประสาช้างน้อยจนเเตก ออกจากขบวนประดานายควาญช้างมิใยที่วิ่งไล่ต้อนอยู่โกลาหลก็หาหยุดลูกช้างน้อยได้ไม่ ความคะนองของลูกช้างนำพาให้วิ่งเข้าไปในถ้ำเเม่ช้างจะเข้าไปตามก็ไม่ได้ยืนร้องไห้ เพรียกหาลูกน้อยอยู่ปากถ้ำ นั้นมิรู้เเล้ว หมดควาญจุดใต้ไฟเข้าไปตามก็หาพบไม่ ด้วยว่า ภายในถ้ำสลับซับซ้อนด้วยซอกหลีบกว้างเเคบ พื้นถ้ำบางตอนลดต่ำกว่าระดับน้ำจนเป็น สระกว้างใหญ่เพดานม่านหินย้อย เสาหินงอกเป็นดงหินนั้นอำพรางลูกช้างไว้ ไม่มีหมอ ควาญผู้เก่งกาจคนใดหาพบลูกช้างเชือกนั้นสูญหายไปในถ้ำชื่อถ้ำเขาช้างหายจึงได้มาด้วย ประการฉะนี้

บ่อน้ำร้อน
อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
     จากแพขนานยนฝั่งท่าส้ม ไปตามเส้นทางสู่หาดเจ้าไหมประมาณ 6 กิโลเมตร เลยโรงเรียน บ้านควนแคงไปเล็กน้อย ทางด้านขวามือจะมีถนนแยกเข้าไปกิโลเมตรกว่า ๆ จุดหมายคือบ่อ น้ำร้อน บ่อน้ำร้อนวันนี้ ทางอำเภอเข้าไปดูแลจัดแต่ง และก่อสร้างขอบคันซีเมนต์ มีถนนขั้น กลางแยกส่วนที่เป็นบ่อและลำธารไว้คนละฝั่ง น้ำในบ่ออุ่นจัด อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส ฟองพรายที่พลุ่งขึ้นมาเป็นครั้งเป็นคราวมีกลิ่นจางๆ ของกำมะถันแทรกขึ้น มาด้วย อนาคตของบ่อน้ำร้อนแห่งนี้อาจกลายเป็นแหล่งอาบน้ำแร่แห่งแรกของเมืองตรัง ก็เป็นได้นักท่องเที่ยวที่สนใจความเป็นธรรมชาติอาจเดินลึกเลยไปอีกจนถึงแอ่งน้ำร้อนใน ป่าหล่นเลนซึ่งกินบริเวณกว้างทั้งสองฝั่งถนน น้ำในส่วนนี้อุณหภูมิต่ำกว่าส่วนแรก และต่ำ ลงเรื่อยๆเมื่อไหลผ่านแนวป่าสู่ลำคลองไกลออกไป

น้ำตกปากแจ่ม
อำเภอห้วยยอด
จังหวัดตรัง
     เริ่มต้นที่ทางแยกใกล้ตลาดอำเภอห้วยยอด ด้านตะวันออกเช่นกันผ่านเขาหน้าแดง โดดเด่นอาดหน้าผาหินกว้างใหญ่ สูงชันรายรอบไปด้วยสวนยางพารา ขับรถไปเรื่อยๆ ประมาณไม่ถึงยี่สิบกิโลเมตร ป้ายชื่อน้ำตกปากแจ่ม "โตนอ้ายเล" ด้านซ้ายมือสังเกตเห็น ได้ชัดเจน เลี้ยวรถเข้าไปประมาณสองกิโลเมตรถึงที่ทำการสาขาอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จอดรถไว้ที่นั่น ถึงแล้วความสุขที่ทำตนเป็นมนุษย์เล็กๆ เดินตามทางผ่านป่ายางแบบ ดั้งเดิมที่ไม่ทำลายพืชพันธ์ เย็นลมป่าแผ่วผิวเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับความราดชันสูงขึ้นๆ ทางเดินลดเลี้ยวเลียบข้ามลำธารน้ำใสให้พักเหนื่อย วิดวักน้ำเย็นให้ลูบหน้า เดินต่อชมหมู่ไม้ ใหญ่น้อยหลายหลากทั้งต่ำเตื้ยติดดินเกาะโขดหิน พันเกียวเคี้ยวคด รูปลักษณ์ดอกใบ สีสัน แปลกตา คือแรงใจที่ไม่รู้เหนื่อย ราวๆ สามสิบนาทีน้ำตกชั้นแรกสาดสายขาวสวยมาจาก ผาชันที่นี่ไม่ใช่ความสวยความสูงชันเมื่อเทียบกับชั้นที่สี่ อันเป็นชั้นที่สวยที่สุด"โตนอ้ายเล" ไงล่ะ ความงามลบเลือนความเหนื่อยแอ่งน้ำเย็นใส สายน้ำสาดสายป่าไม้หลากพันธ์นก บรรเลงเพลงขับกล่อม คือเสน่หาตรึงตาตรึงใจไม่รู้ลืมดินแดน เที่ยวชมป่าเขาลำเนาไพร ในน้ำตกปากแจ่มความงามในความเงียบที่ไม่หงอยเหงา

น้ำตกร้อยชั้นพันวัง
อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
     น้ำตกร้อยชั้นพันวัง 29 กิโลเมตรแผ่นป้ายประกาศตัวหนังสือชัดเจนตรงสามแยกคลองชี ต.อ่าวตรงอ.วังวิเศษไม่ไกลเลยสำหรับหัวใจปราถนาเสพย์สวยสีสรรธรรมชาติรอบข้าง ป่าสวยหนานน้ำใสทอดชั้นบันไดน้ำเป็นแถบทางน้ำตกถนนดินแดงฝุ่นฝุ้งและแอ่งหลุมหน้าฝน สะกิดจิตสำนึกให้รับรู้เรื่องราวถนนหนทางแห่งหมู่บ้านชมต้นยางพาราสองข้างทางเข้าแถว ยืนตรง เหมือนกองพันทหารผิดกันแต่ยืนกลางร่มใบดกหนาเขียวร่มรื่นชื่นใจ ชั่วโมงเศษๆ สิ้นสุดถนนตรงเชิงเขา จอดรถทิ้งไว้ที่เพิงร้านค้า อีกรูปแบบหนึ่งของรีสอร์ทที่ไม่ทำลาย ธรรมชาติแวดล้อม ความมีน้ำใจของเจ้าของเพิงร้านค้าคอยดูแลรถให้โดยไม่คิดค่าบริการ เสียงน้ำตกบอกระยะไม่เกิน 100 เมตร ถึงแล้วดินแดนป่าสวยหนานน้ำสวย บันไดน้ำชั้นแรก "ลมพัดสัมพัสกาย เย็นสบายใต้ไม้บัง แต่เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไรจะมีใครคิดกันมั่ง ถ้าต้องให้ไม้ยัง ป่าพันวังอย่างทำลาย" จารึกบทกวีแผ่นเรียบของหลวงพ่อประเวศ ฐานวโร วัดหนองชุมแสง ตอกปิดไว้กับต้นไม้ใหญ่แทนคำว่ายินดีต้อนรับ และดูเหมือนจะลึกซึ้งกว่าเป็นไหนๆ เดินขึ้นบันได น้ำชั้นแรกและต่อไปเรื่อยๆ ตามแถบทางน้ำตกที่สาดสายเอ่อล้น รินลอดและหลบเลี้ยวรากไม้ น้อยใหญ่ที่น่าอัศจรรย์ในรูปลักษณ์ไม่สูงชันเหมือนชั้นบันไดบ้าน แต่ทว่ายาวไกลร้อยชั้นพันชั้น ที่ให้นักท่องเที่ยวไต่เขา ศึกษาป่าเขาเขตต้นน้ำลำธารเดินตามไปดูหมู่ไม้สร้างสายธารและพัก ค้างคืนที่นั่น "แผ่นดินเหมอ" บนยอดเขานอจู้จี้ตรงรอยต่อตรังกระบี่ บางที่นกแต้วแร้วที่เหลือ แหล่งเดียวในโลกที่นี่จะมาอวดสีสันสวยงามและส่งเสียงทักทายให้ฟัง

น้ำตกโตนเต๊ะ
อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
     จากแนวถนนก่อนเข้าสู่ตัวน้ำตก จุดหนึ่งบนเทือกเขาเบื้องหน้าคือกลุ่มไหมสีขาวม้วน ตัวพลิ้ว มาตามความเทาทึบของแผ่นผาระหว่างแมกไม้อันเขียวชะอุ่มพร้อมเสียงโครมครึก ที่ลอยตาม ลมมาเป็นครั้งคราวนั่นคือการประกาศถึงความยิ่งใหญ่แห่งราชาน้ำตก โตนเต๊ะ วันนี้ มีหน่วย พิทักษ์ป่าซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด ตั้งสำนักงาน อยู่ที่เชิงเขาน้ำตกด้านลางบริเวณโดยรอบจึงถูกปรับแต่งราบโล่งกว้างขวาง มีร้านค้า ศาลา พักผ่อน และลานจอดรถ สำหรับผู้มาเยือน หากจะไปให้ถึงชั้นสูงสุดอาจลัดเลาะ ผ่านลานหิน และแอ่งน้อยใหญ่นับร้อยที่ผู้คนเลือกเป็นมุมพักผ่อนหรือเล่นน้ำหรือเดินไปตามทางคอนกรีต ที่ลัดเลียบกลมกลืนไปกับราวป่าก็ถึงที่หมายเดียวกันความยิ่งใหญ่แห่งราชาน้ำตก คือความสูง อันแหงนเงยจนสุดสายปลายตาราว ๆ 320 เมตรภาพสายน้ำกระโจนผ่านแผ่นผา แง่หิน และยอดไม้ลงสู่แอ่งธารเบื้องล่าง คือภาพ ที่เป็นอยู่ชั่วนาตาปี โตนเต๊ะอาจมีน้ำมากน้อย ตาม ฤดูกาล แต่ไม่เคยเหือดแห้งนั่นหมายถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งป่าต้นน้ำที่นักทำลายยังไป ไม่ถึงป่าบริเวณโตเต๊ะอุดมด้วยพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะหวายซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไป แต่เมื่อ เครื่อง เรือนหวายเป็นที่นิยมมากขึ้น หวายก็ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ส่วนหวายในโครงการ พระราชดำริ จึงเริ่มขึ้นที่โตนเต๊ะเมื่อ พ.ศ. 2531 และดำเนินการต่อเนื่องมาตลอด อีก 5 -10 ปี ต่อไป ป่าโตนเต๊ะ จะเป็นแหล่งศึกษาเรื่องหวายที่สมบูรณ์ที่สุดเพราะที่นี่คือแหล่งรวมพันธุ์หวาย ทุกชนิดในประเทศไทย

หาดปากเมง
อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
     38 กิโลเมตร จากตัวเมือง มีถนนราดยางราบเรียบมุ่งสู่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกาที่ตั้งของ "หาดปากเมง"หาดทรายชายทะเลแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกของเมืองตรัง ที่ผู้คนยังนิยมไม่ สร่างซาสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาจากเส้นทางกันตังแม้จะผ่านเจ้าไหมและหาดอื่น ๆ ที่ว่าสุดสวย มาแล้วก็ไม่วายจะหยุดแวะนี้คือบทพิสูจน์มนต์เสน่ห์ของปากเมง ภาพแรกที่ดึงดูดสายตา ผู้มาเยือน ได้แก่โขดเขาใหญ่กลางน้ำรูปคล้ายคนนอนหงายทอดตัวยาวไปทางด้านเหนือ นั่นคือ "เขาเมง" หรือ "เกาะเมง" สัญลักษณ์ประจำหาดแห่งนี้ บนชายหาดรูปโค้งจันทร์ เสี้ยวอันยาวเหยียดไม่ต่ำกว่า 5 กิโลเมตร ทุกย่างก้าวจะสัมผัสได้ถึงความละเอียดแน่นเนียน ของผืนทรายเปลือกหอยเจดีย์หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าหอยเดือยไก่ถูกคลื่นซัดขึ้นมา ประดับตลอดแนวหาด ชวนให้เด็กๆ ลงมาเก็กเล่น ทุกวันหยุดปากเมงเต็มไปด้วยผู้คน ทะเลที่ไม่เคยว่างวายนักเล่นน้ำ บ้างพอใจกับการพักผ่อนในเงาสนที่มีบริการหลายรูปแบบ จากร้านริมหาด บางกลุ่มเตรียมเต้นท์พักนอนและกะสนุกในยามค่ำคืนที่จะมาถึง บางกลุ่มที่ ลงเรือไปเที่ยวเกาะหรื่อแม้กระทั่งไปลอยลำตกปลากันเป็นคืน ๆ สำหรับนักตกปลาที่ไม่ ชอบเล่นกับทะเลลึก ตรงสะพานใหญ่ข้ามคลองหละที่ชายหาดด้านใต้คือแหล่งชุมชน พรานเบ็ด หรือจะเลยไปถึงคลองฉางหลางก็ได้ เทศกาลสนุกของปากเมงอยู่ในราว ๆ ต้นเดือนพฤศจิกายน จะมีวันหนึ่งซึ้งน้ำลงต่ำสุดเวิ้งน้ำกลายเป็นลานทรายที่คลาคล่ำด้วย ผู้คนเพราะวันนี้คือเทศกาลแข่งขันเก็บหอยตะเภาผู้ชนะอาจได้รับรางวัลพิเศษ แต่คง ไม่มีรางวัลใดพิเศษไปยิ่งกว่าความสนุกสนานที่ได้รับ และอาจแถมด้วยการได้ลิ้มรสหวาน อร่อยของเจ้าหอยตะเภากันอีกคนละอิ่ม


เข้าชม : 1379
 
 
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดตรัง
ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง 92000 
โทรศัพท์ 075-218440 โทรสาร 075-219016 
trang@trang.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05