[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา
 
ยุทธศาสตร์ กศน.ตรัง
วิสัยทัศน์

                              คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ การมีอาชีพ และความสามารถเชิงการแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน

พันธกิจ
  1.    จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพเพื่อยกระดับการศึกษาสมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสังคม และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน  
  2.    ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาคุณภาพของประชากร  
  3.    พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และส่งเสริมการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยยนีสารสนเทศและการสื่อสาร  
  4.    ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชน ส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ  
  5.    พัฒนาระบบบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
เป้าประสงค์
  1. คนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม  
  2. ประชากรวันแรงงานมีระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น และมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง            และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  
  3. ชุมชนมีฐานอาชีพที่กว้างและหลากหลาย สามารถพัฒนาไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชนที่มีความสามารถเชิงการแข่งขัน ที่มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความเข้มแข็งของชุมชน (OTOP Mini MBA)  
  4. ประชาชนมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ แก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างสร้างสรรค์  
  5. ประชาชนมีความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษากลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาคและความเป็นประชาคมอาเซียน  
  6. องค์กรภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง  
  7. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาที่มีคุณภาพมาใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึง  
  8. หน่วยงานและสถานศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิผล  
  9. ชุมชนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มีกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้รูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมี กศน.ตำบลและศูนย์การเรียนชุมชนต่างๆ เป็นกลไกส่งเสริมการเรียนรู้  
  10. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีประสิทธิภาพ  
ตัวชี้วัด
  1. ร้อยละของคนไทยกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มต่างๆ (เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มเยาวชน  กลุ่มวัยแรงงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มชาติพันธ์ชนกลุ่มน้อย กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ กลุ่มคนไทยทั่วไป เป็นต้น) ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ  
  2. จำนวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) กลุ่มเป้าหมายที่เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษานอกระบบ  
  3. จำนวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  
  4. ร้อยละของชุมชน (ตำบล/หมู่บ้าน) เป้าหมายที่ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับการอบรมหลักสูตร OTOP Mini MBA ตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเพื่อการมีงานทำแล้ว สามารถจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ระดับตำบล/ หมู่บ้านได้  
  5. จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการการเรียนรู้/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา  
  6. ร้อยละของประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการการเรียนรู้/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา แล้วมีการพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์และมองเห็นแนวทางในการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้  
  7. จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้การศึกษาอบรมในหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษากลุ่มประเทศอาเซียน และอาเซียนศึกษา  
  8. จำนวนองค์กรและภาคส่วนต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับประเทศไทย  
  9. ร้อยละของหน่วยงานสถานศึกษา กศน. ที่มีการพัฒนา/ วิจัย และพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  
  10. ร้อยละของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยทีมีความพึงพอใจในคุณภาพและปริมาณ/ความหลากหลายของสื่อการเรียนรู้ที่หน่วยงานและสถานศึกษา กศน. จัดบริการ  
  11. ร้อยละของหน่วยงานและสถานศึกษา กศน. ที่มีการบริหารจัดการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยขององค์กร  
  12. ร้อยละของ กศน.ตำบล และศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (ศรช.) ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชน โดยใช้ปัญหาของชุมชนเป็นศูนย์กลาง  
  13. ร้อยละของหน่วยงานและสถานศึกษา กศน. ที่สามรถดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด/ตามแผนที่กำหนดไว้  
กลยุทธ์
  1. จัดการศึกษาพื้นฐาน  
  2. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  
  3 .จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  
  4 .จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  
  5. จัดการศึกษาตามอัธยาศัย  
กรอบจุดเน้นการดำเนินงานตามกลยุทธ์ กศน.สู่การปฏิบัติ
  1. การสร้างสังคม/ชุมชนแห่งการเรียนรู้  
  2. การยกระดับการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายแรงงาน  
  3. การจัดการเรียนรู้สำหรับประชาชนและเยาวชนนอกโรงเรียน  
  4. การแก้ไขปัญหาความยากจน  
  5. การสร้างพันธมิตร/เครือข่าย การจัดการศึกษานอกโรงเรียน  
นโยบายเร่งด่วน
          1. ยกระดับการศึกษาประชาชนให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือน อย่างมีคุณภาพ
          2. เร่งดำเนินการจัดอบรมอาชีพหลักสูตร OTOP Mini MBA สู่ชุมชน
          3. เปิดโลก กศน. สู่ กศน.อินเตอร์ เพื่อประชาคมอาเซียน
          4. เสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชน
          5. เร่งรัดการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนเพื่อการจัดทำแผนป้องกันภัยภิบัติ
          6. เร่งพัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติดตาม และนิเทศเพื่อการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ
ภารกิจสำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง
          1. กำหนดนโยบายและวางแผนการศึกษานอกโรงเรียนระดับจังหวัด
          2. ส่งเสริมประสานงานและสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายการบริการการศึกษานอกโรงเรียนทั้งภาครัฐและเอกชน
          3. ส่งเสริมสนับสนุนการบริการการศึกษานอกโรงเรียนทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
          4. สนับสนุนและบริการสื่อทางการศึกษาแก่หน่วยงานที่จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียทั้งภาครัฐและเอกชน
          5. ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียน
          6. นิเทศ ติดตาม กำกับดูแลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนภายในจังหวัด
          7. กำกับดูแลสถานศึกษาในความดูแลของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด
          8. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย


เข้าชม : 4096
 
 
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดตรัง
ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง 92000 
โทรศัพท์ 075-218440 โทรสาร 075-219016 
trang@trang.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05