[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




 

การเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                                                                  

หลักการ

 

          ปัจจุบัน มีจำนวนประชากรของประเทศที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะเหตุผลหลายประการ เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และความไม่พร้อมของครอบครัว ทำให้ประชากร อายุตั้งแต่ 13 - 80 ปี ขาดโอกาสทางการเรียนรู้ เป็นจำนวนถึง ร้อยละ 35 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาเหล่านี้เป็นประชาชนวัยแรงงานที่ด้อยทักษะ เป็นเยาวชนของชาติและประชาชนที่ออกจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำให้มีผลกระทบต่อคุณภาพการทำงาน และคุณภาพชีวิตอันมีผลสะท้อนกลับต่อการพัฒนาตน ครอบครัว สังคมและประเทศชาติโดยส่วนรวม ผู้ขาดโอกาสในการศึกษาเหล่านี้ไปทำงานเลี้ยงชีพอยู่ในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และสาขาบริการจึงทำให้เสียโอกาสในการศึกษา แต่ได้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์และจากการทำงานจริง (Learning by working) ซึ่ง ได้ทั้งความรู้และผลผลิตทางเศรษฐกิจต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ใช้ชีวิตในการทำงานเลี้ยงชีพ เลี้ยงครอบครัว ใช้วิชาชีพให้เป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในฐานะผู้ใช้แรงงาน ผู้ผลิตและผู้ให้บริการ แต่ขาดความรู้พื้นฐานในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.6) ประชากรเหล่านี้ จักต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือ ให้ได้รับการยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะเปิดรับบุคคลเหล่านั้นให้ได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบการศึกษา ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยนำความรู้ ประสบการณ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม จากการเรียนรู้ จากผู้รู้ หรือแหล่งความรู้ต่างๆ พร้อมทั้งประสบการณ์ ความชำนาญจากการทำงาน ประกอบอาชีพมายอมรับเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ตามระบบการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อยกฐานะประชากรเหล่านั้นที่กำลังทำงาน ประกอบอาชีพ ทั่วทุกมุมของประเทศอย่างเป็นระบบ และการสร้างหลักการ ระบบหลักสูตร แนวทางการศึกษา การวัดผล ประเมินผล จะต้องเตรียมพร้อมเพื่อสร้างความรู้ ความสามารถให้เหมาะกับยุคปัจจุบัน

 

จุดมุ่งหมาย

สร้าง ความรู้ความสามารถ เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ในโลกได้อย่างเป็นสุขด้วยกระบวนการของการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ให้มีประสบการณ์จากการทำงาน เกิดความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ สามารถนำไปปรับใช้กับตนเองและสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับการเตรียมประชาชนในระดับผู้ใช้แรงงาน ในชุมชนเมืองและชนบท เข้าเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน และตลาดแรงงานอาเซียน (ASEAN Market)”

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาความคิด การเรียนรู้ การทำงาน แบบบูรณาการ และเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

2. เพื่อให้ประชาชนในเขตชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นหุ้นส่วนการยกระดับการศึกษาของประชากรส่วนมากของประเทศที่ขาดโอกาสให้มี โอกาสในการเรียนรู้เพื่อให้พัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน

3. เพื่อเตรียมความพร้อมของกลุ่มบุคคลวัยแรงงานสู่ตลาดแรงงานอาเซียน

4. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบองค์รวมผ่านสื่อเชิงพหุ

5. เพื่อเป็นการสร้างตัวแบบการศึกษาเทียบโอนวิทยฐานะโดยไม่กำหนดพื้นฐานตามการศึกษาในระบบ Functional Education เน้นความรู้ความชำนาญการทำงาน (Knowledge and Experience by Learning and working)

รูปแบบการจัด

การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ ได้พัฒนานวัตกรรมที่เรียกว่า Innovation of competency building by Learning process (ICBL) โดยใช้ยุทธศาสตร์ตามตัวแบบ KSM Model หรือ สมการ E =MC9+ 2

KSM Model

K = ความรู้ (Knowledge) ความสามารถ (Competency)

S = เป็นผู้ที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ เมื่อมีความรู้ก็สามารถถ่ายทอดได้ มีความชำนาญก็สามารถปฏิบัติงานนั้นๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ประสบความสำเร็จสูงสุด คือ Skill

M = การบริหารจัดการที่ดี คือ มีความรอบรู้อย่างเป็นกระบวนการในระดับ 360 องศา ดังนั้นบุคคลที่จะประกอบการงานสำเร็จได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการประกอบการ รู้จักบริหารตน บริหารคน บริหารเวลา และบริหารความรู้ ที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาตนและสังคมอยู่ตลอดเวลา

กลุ่มเป้าหมาย

บุคคล ที่เป็นประชาชนทั่วไป มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาระดับประถมศึกษา ที่มีศักยภาพทาง ด้านความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์การประกอบอาชีพ ไม่น้อยกว่า 3 ปีและมีทักษะ ความชำนาญในอาชีพของตนเอง มีความประสงค์จะเข้าเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ระดับการศึกษา

เมื่อ ผู้เข้าเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านการ ประเมินมาตรฐานการเรียนรู้ ครบทั้ง 9 วิชา จะได้รับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง

สถานที่ประกอบอาชีพ หมายถึง สำนักงาน สำนักงานใหญ่ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ที่ใช้ในการประสานงานเพื่อการประกอบอาชีพ หรือสถานที่ที่ใช้ประกอบอาชีพเป็นประจำ

อาชีพ หมายถึง อาชีพที่สุจริต ไม่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรมอันดี

ประสบการณ์ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง หมายถึง การมีการทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ จะเป็นอาชีพเดียวกันหรือไม่ก็ได้ โดยในปัจจุบันยังประกอบอาชีพอยู่ในสถานที่ที่ประกอบอาชีพเป็นประจำ

ระดับประถมศึกษา หมายถึง มัธยมปีที่ 3 ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 มัธยมปีที่ 3 ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2494 ประถมศึกษาปีที่ 7 หรือผู้ที่สอบตกประถมศึกษาปีที่ 7 ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2503 ประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2520 และ2535 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จบการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับ 3

สถานศึกษา หมายถึง สถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดให้ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การเทียบระดับการศึกษา หมายถึง การเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การเทียบระดับการศึกษา และการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

การเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษานอกระบบที่จัดเป็นหลักสูตร เฉพาะ หรือหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและการศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน มาประเมินเพื่อเทียบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้เข้าเทียบระดับการศึกษา หมายถึง ผู้เข้าเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การดำเนินการ

การ ดำเนินงานการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2546 และกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 28 มกราคม 2556 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้น ฐาน พ.ศ. 2556

หน่วยงานที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หน่วย งานที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องเป็นสถานศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ทำหน้าที่ เทียบระดับการศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าเทียบระดับการศึกษา

1 มีสัญชาติไทย

2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่สมัครรับการประเมิน

3 มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาระดับประถมศึกษา

4 ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาใน ระบบ หรือการศึกษานอกระบบที่แบ่งระดับเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ

5 มีประสบการณ์ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งไม่น้อยกว่า 3 ปี

6 ประกอบอาชีพในเขตบริการของสถานศึกษาที่สมัครเข้าเทียบระดับการศึกษา

ขอบข่ายการประเมิน

มาตรฐานการประเมิน ดำเนินการประเมินตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 18 มาตรฐาน คือ

มาตรฐานด้านความดี

1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและการเป็นพลเมืองดี

2) ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา

มาตรฐานด้านความสุข

3) ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การบริหารจัดการชุมชน และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการประกอบอาหารตามหลักโภชนาการ

5) ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการถนอมอาหารเพื่อครอบครัวและชุมชน

มาตรฐานด้านความเก่ง

6) ความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานการใช้โปรแกรมและดูแลบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

7) ความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์

8) ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์พื้นฐานในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ

9) ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและการบริหารจัดการในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต การตลาดและการบริโภคนำไปสู่ธุรกิจ SMEs

10) ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อการประกอบอาชีพ

11) ความรู้ ความเข้าใจด้านประชาคมอาเซียน และ ประชาคมโลก

12) เข้าใจกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน

13) สนทนาภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและงานอาชีพ

14) การสนทนาภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

15) ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ

16) ความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการวิจัยชุมชน

17) ความรู้ ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าอาหารของครอบครัวและชุมชน

18) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร

รายวิชาในการเรียนรู้ มี 4 Module 9 รายวิชา คือ

Module 1 เครื่องมือสร้างความรู้สู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย 3 รายวิชา ดังนี้

(1) วิชาการใช้คอมพิวเตอร์

(2) วิชาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

(3) วิชาการบริหารธุรกิจ SMEs

Module 2 พัฒนาองค์กร ชุมชนเข้มแข็ง ประกอบด้วย 2 รายวิชา ดังนี้

(1) วิชาระบอบประชาธิปไตย

(2) วิชาการบริหารจัดการชุมชน

Module 3 การสื่อสาร ประกอบด้วย 2 รายวิชา ดังนี้

(1) วิชาการสนทนาภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน

(2) วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

Module 4 วิจัยชุมชน และทั่วไป ประกอบด้วย 2 รายวิชาดังนี้

(1) วิชาการวิจัยชุมชน

(2) วิชาการจัดการอาหารเพื่อครอบครัว และชุมชน

ขั้นตอนการเทียบระดับการศึกษา

 การ ประเมินเทียบระดับการศึกษา มีขั้นตอน ตามแผนภาพข้างล่าง พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่สถานศึกษาให้เห็นขั้นตอนการดำเนินงานในรอบ 8 เดือน ว่ามีกระบวนการและกิจกรรมที่ดำเนินการใดบ้าง สถานศึกษาสามารถปรับขั้นตอนต่างๆให้สอดคล้องกับบริบทตามความเหมาะสมของสถาน ศึกษาได้



ค่าเทียบระดับการศึกษาขั้นสูงสุดระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          - 1,500 บาท


ศูนย์เทียบระดับการศึกษาสูงสุดในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่อำเภอปะเหลียน  มี 1 ศูนย์เทียบดังนี้

         
- กศน.อำเภอหาดสำราญ



เข้าชม : 579
 
 
กศน.ตำบลบางด้วน
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะเหลียน
ที่อยู่  หมู่ที่ 4  ตำบลบางด้วน  อำเภอปะเหลียน  จังหวัดตรัง  เบอร์โทร 0848398505
e-mail:janya_2517@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05