การบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานซ์ ไขมันที่เราบริโภคจะเป็นส่วนผสมของกรดไขมันชนิดต่างๆ ซึ่งให้ผลต่อร่างกายแตกต่างกันออกไป หลักในการบริโภคคือ บริโภคไขมันอิ่มตัวน้อยลง และทดแทนด้วยไขมันไม่อิ่มตัวมากขึ้น
ไขมันในอาหารประกอบด้วยกรดไขมัน 3 ชนิดได้แก่
1.กรดไขมันอิ่มตัว พบมกในไขมันสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันปาล์มเคอเนล กรดไขมันชนิดนี้มีผลในการเพิ่มโคเลสเตอรอลรวมและ แอลดีแอล ซึ่งเร่งการกิดโรคหัวใจ
2.กรดไขมันอิ่มตัวตำแหน่งเดียว ถือเป็นไขมันดี มีมากในถั่วเหลืองเมล็ดแห้ง น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว น้ำมันปาล์มโอเลอิน ถั่วลิสง กรดไขมันชนิดนี้มีผลในการลดระดับโคเลสเตอรอล โดยไม่ลดระดับเอชดีแอล ซึ่งป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
3.กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง พบในน้ำมันถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกคำฝอย เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดฝ้าย เป็นต้น มีผลในการละระดับโคเลสเตอรอล ในขณะเดียวกันก็ลดระดับเอชดีแอลด้วยนอกจากนี้ยังพบมากในอาหารทะเล เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องรับประทานจากอาหาร
*สำหรับไขมันทรานซ์ พบมากในเนยเทียม เนยขาว มาร์เจอรีน น้ำมันที่ใช้ทอดมันฟรั่ง และขนมอบที่ทำจากมาร์เจอรีน ซึ่งไขมันชนิดนี้ในธรรมชาติพบในผลิตภัณฑ์นม ข้อมูลวิจัยพบว่าไขมันชนิดนี้ทำให้เพิ่มโคเลสเตอรอลและลด HDL ได้เช่นเดียวกับไขมันอิ่มตัว
ที่มา: หนังสือคู่มือบันทึกสุขภาพดี เพื่อการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ
โดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)