ระยะฟักตัว 2-21 วัน โรคนี้ พบได้ทุกกลุ่มอายุ อาการ ไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ตามด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน ผื่น ไตและตับไม่ทำงาน บางรายมีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ตรงจเลือดพบเม็ดเลือดขาวต่ำ การวินิจฉัยโดยการตรวจ antigen-RNA หรือ genes ของไวรัสจากตัวอย่างเลือด หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส หรือ แยกเพาะเชื้อไวรัส การตรวจตัวอย่างเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ต้องทำในห้องปฎิบัติการที่มีการป้องกันระดับสูง ระดับ 4 การรักษายังไม่มีการรักษาเฉพาะรวมทั้งยังไม่มีวัคซีน การทดแทนน้ำ-เกลือแร่ให้เพียงพอ
ติดตามผู้สัมผัสทั้งหมด รวมทั้งผู้ที่อาจจะสัมผัสกับผู้สัมผัสใกล้ชิด โดยต้องตรวจอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง เมื่อมีไข้ต้องรีบมาโรงพยาบาลและเข้าห้องแยกทันที
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคน ต้องมีการแจ้ง/บอกให้ทราบ ถึงโรคและการติดต่อ เน้นวิธีการป้องกันขณะดูแลผู้ป่วย และการจัดการเลือด สิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย
การระบาดของโรคพบการระบาดครั้งแรกในปี พศ.2519ที่จังหวัดแห่งหนึ่งในซูดาน 800 กิโลเมตรจากแซร์อีร์(ปัจจุบัน เป็นประเทศคองโก) ตรวจพบเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการชำแหละลิงชิมแปนซี ที่ไอวอรี่โค้ด ปี พศ.2547
ปัจจุบัน(กย 50) กระทรวงสาธารณสุขคองโก ยืนยันพบการระบาดของไข้เลือดออกอีโบลา ในจังหวัดคาไซตะวันตก (Kasai Occidental) โดยผลตรวจทางห้องปฏิบัติจาก CIRMF ในกาบอง และ CDC สหรัฐอเมริกา ยืนยันพบไวรัสอีโบล่า ส่วนในตัวอย่างปัสสาวะและเลือดจากผู้ป่วยต้องสงสัย จากการตรวจที่ INRB ในคินชาสาพบ Shigella dysenteriae type 1 ซึ่งการระบาดครั้งนี้ทีมจาก WHO ได้ลงไปในพื้นที่ระบาดตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2550ณ วันที่ 11 กันยายน 2550 WHO ทราบว่ามีผู้ป่วย 372 ราย เสียชีวิต 166 รายซึ่งจะมีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป WHO ในประเทศและภาคพื้นแอฟริกา พันธมิตรที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์ควบคุมโรค องค์กรแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) หน่วยงานสาธราณสุขแคนาดา ร่วมมือกันตอบโต้ต่อการระบาดครั้งนี้ โดยสนับสนุนช่วยเหลือในการเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วย ด้านระบาดวิทยา ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เวชภัณฑ์ การขับเคลื่อนสังคมในการป้องกันและควบคุมโรค การบริหารจัดการในพื้นที่
บทส่งท้าย ถึงแม้ว่า ขณะนี้ WHO ยังไม่มีคำแนะนำในการการจำกัดการเดินทางหรือค้าขายกับประเทศคองโก และยังไม่พบผู้ป่วยโรคนี้ใน ประเทศไทย
แต่ เนื่องจาก ปัจจุบัน การเดินทางข้ามโลก ระหว่างประเทศ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 1 อาทิตย์ อาจพบว่าจากทวีปหนึ่งเดินทางไปอีกทวีปหนึ่งได้ ดังนั้น อาจพบผู้ติดเชื้อมาจากแหล่งที่มีการระบาด(เช่น คองโก) เดินทางเข้าประเทศได้ เนื่องจากระยะฟักตัวของโรคกว่าจะมีอาการ นานที่สุด พบได้ถึง 21 วัน ข้อแนะนำทั่วๆไป ในการเฝ้าระวังป้องกันโรค มีดังนี้
สำหรับคนไทยที่เดินทางไปประเทศเสี่ยง ต้องระมัดระวัง ไม่ใกล้ชิด ผู้ป่วยหรือ ผู้ที่มีอาการสงสัย เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ต้องคอยสำรวจตรววจตราตัวเองว่ามีไข้ หรือไม่ ถ้ามีไข้ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และให้ประวัติให้ละเอียดว่าไปที่ใดมาบ้างในช่วง 21 วันก่อนมีไข้
สำหรับ หน่วยงาน ที่ต้องคอยดูแลเฝ้าระวัง มี
ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่คอยดูแลตรวจตราผู้เดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ ต้องเพิ่มความเข้มงวดในการคัดกรอง ซักถามผู้ที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยง ..Link...ดูแนวทางปฎิบัติ และรายละเอียด โรคจาก กลุ่มงานโรคติดต่อระหว่างประเทศ
สถานพยาบาล โดยเฉพาะรพ.เอกชน ที่รับตรวจชาวต่างประเทศ ควรเพิ่มการสอบถามประวัติการเดินทาง เมื่อพบชาวต่างประเทศมีอาการไข้มารับการรักษา โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางเข้าประเทศใหม่ๆ
เมื่อมีผู้ป่วยสงสัย ต้องรีบแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ(ต่างจังหวัด แจ้ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในกทม แจ้ง ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือ งานระบาด กทม หรือ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
Referrences :
World Health Organization website : Ebola factsheet
Ebola-Marburg viral Disease: Control of Communicable Disease Manual, 18th Edition;page 198-199