[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




 

  

นายเกียรติกัมพล ชูจันทร์
บริการสำหรับคนพิการ

พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2557


 

คนพิการ คือบุคคลซึ่งความสามารถถูกจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาหรือการเรียนรู้ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิต และมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป

ประเภทความพิการ

  1. พิการทางการมองเห็น

  2. พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย

  3. พิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว

  4. พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม

  5. พิการทางสติปัญญาและการเรียนรู้

  6. พิการซ้ำซ้อน (มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป)

รัฐบาล   ได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสิทธิและโอกาสของคนพิการ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกับคนพิการยกร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องส่งเสริมให้กับคนพิการได้รับโอกาส สิทธิการสงเคราะห์ การพัฒนา และ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้บัญญัติถึงการคุ้มครองเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิของคนพิการ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในมาตรา 30,37,43,52,55,80 และมาตรา 109

พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 และ กฎกระทรวง ที่เกี่ยวข้องได้กำหนดให้คนพิการได้รับการคุ้มครอง การสงเคราะห์ การพัฒนา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางสังคม และการฝึกอาชีพ ตลอดจนแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่คนพิการ รวมทั้งให้สังคมมีส่วนร่วมในการเกื้อกูล และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

 พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534

 ฏกกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534

ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทย

 คนพิการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพแห่งบุคคล

 คนพิการมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง

 คนพิการมีสิทธิเข้าร่วมตัดสินใจกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ

 คนพิการมีสิทธิได้รับการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเกิด และแรกเริ่มที่มีความพิการ

 คนพิการมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ

 คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพในทุกระดับ

 คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ

 คนพิการมีสิทธิได้รับการปกป้องคุ้มครองและความช่วยเหลือการ

 คนพิการมีสิทธิอยู่ร่วมกับครอบครัวและมีส่วนร่วมในชุมชนสังคม

 คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลือจากรัฐ

 คนพิการมีสิทธิได้รับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

 คนพิการมีสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะเรื่องสิทธิของคนพิการ

 คนพิการและครอบครัว ชุมชน สังคม ได้รับ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามปฏิญญาฉบับนี้

 รัฐต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามเป็นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ให้บริการจดทะเบียนคนพิการเพื่อรับสิทธิประโยชน์(คลิก)

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

หลักฐานในการจดทะเบียนคนพิการ(คลิก)

  1. ใบประเมินความพิการจากโรงพยาบาลที่เป็นของรัฐบาล(เอกสารรับรองความพิการ)

  2. สำเนาทะเบียนบ้านถ่ายเอกสาร                จำนวน 2 ฉบับ

  3. รูปถ่ายคนพิการขนาด 1 นิ้ว                     จำนวน 2 รูป

  4. สำเนาบัตรประชาชน                              จำนวน 2 ฉบับ
    (ในกรณีเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สูติบัตร (ใบเกิด) ) แทน

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ในกรณีที่สมุดคนพิการหมดอายุ(คลิก)

  1. นำสมุดคนพิการเล่มเดิมมาด้วย

  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน    จำนวน 1 ฉบับ

  3. สำเนาทะเบียนบ้าน                    จำนวน 1 ฉบับ

  4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว                     จำนวน 1 รูป

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ในกรณีที่คนพิการไม่สามารถเดินทางมาจดทะเบียนคนพิการได้(คลิก)

  1. ให้ญาติหรือผู้แทนคนพิการเป็นผู้นำเอกสารมายื่นคำร้องจดทะเบียนคนพิการแทน

  2. ให้ญาติหรือผู้แทนนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วย

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ในกรณีสมุดประจำตัวสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำใบแจ้งความมายื่นคำร้องขอจดทะเบียนใหม่(คลิก)

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน    จำนวน 1 ฉบับ

  2. สำเนาทะเบียนบ้าน                      จำนวน 1 ฉบับ

  3. รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว                      จำนวน 1 รูป

  4. สำเนาใบแจ้งความ                       จำนวน 1 ฉบับ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

อุปการะในสถานสงเคราะห์ และศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคนพิการ(คลิก)

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

แบบสมุดจดทะเบียนคนพิการ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ใบประเมินความพิการจากโรงพยาบาลที่เป็นของรัฐบาล(เอกสารรับรองความพิการ)

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

คำร้องจดทะเบียนคนพิการแทน

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

แบบสอบข้อเท็จจริงผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ใบสอบประวัติคนพิการ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ใบสมัครเข้ารับการฝึกอาชีพ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ใบสอบข้อเท็จจริงงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

แบบสอบประวัติเข้ารับการฝึกอาชีพ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

แบบขอรับการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

แบบประมาณการค่าใช้จ่าย

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ใบรับรองของผู้บังคับบัญชาของผู้ค้ำประกัน

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

หนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรส

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

สงเคราะห์กายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยความพิการ รถโยก (คลิก)

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

หลักฐานที่ใช้ประกอบการขอรถโยก(คลิก)

  1. สมุดจดทะเบียนคนพิการพร้อมสำเนา    จำนวน 1 ฉบับ

  2. รูปถ่ายเต็มตัว    จำนวน 1 รูป

  3. ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าแขนทั้ง 2 ข้าง แข็งแรงสามารถใช้งานได้ตามปกติ (ออกจากโรงพยาบาลหรือคลินิกก็ได้)

  4. ทะเบียนบ้าน ถ่ายเอกสาร    จำนวน 1 ฉบับ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย ให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ โดยไม่เสียดอกเบี้ย และส่งคืนภายในระยะเวลา 5 ปี(คลิก)
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ข้อปฏิบัติการยื่นคำร้องขอกู้เงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ(คลิก)

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

คุณสมบัติของผู้ขอกู้ยืมเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ(คลิก)

  1. เป็นคนพิการที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534

  2. อายุไม่ตำกว่า 15 ปี

  3. ได้รับการการฝึกอาชีพแล้ว หรือมีความสามารถประกอบอาชีพได้

  4. มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ และประพฤติตนเรียบร้อย

  5. สามารถชำระหนี้ได้จากการประกอบอาชีพ

  6. ไม่มีหนี้ค้างชำระจากเงินทุนนี้หรือเงินอื่นที่สืบทราบได้ว่าจะเป็นผลกระทบต่อการชำระหนี้สินให้กับกองทุนฯ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

เอกสารที่ต้องนำมายื่นคำร้องขอกู้ยืมเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ(คลิก)

  1. สมุดประจำตัวคนพิการ (พร้อมสำเนา) 

  2. สำเนาเอกสารหลักฐานการศึกษา หรือ ประกาศนียบัตร หรือ วุฒิบัตรผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพ

  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา)

  4. ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา)

  5. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว                     จำนวน 2 รูป

  6. รูปถ่ายแสดงความพิการชัดเจน    จำนวน 1 รูป

  7. แผนที่ตั้งแสดงที่พักอาศัย และแผนผังสถานที่ประกอบกิจการ

  8. แบบประมาณการค่าใช้จ่าย

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

เอกสารของผู้ค้ำประกัน(คลิก)

  1. ผู้ค้ำประกัน เช่น บุคคลที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอยู่ในจังหวัดชัยนาท

  2. ใบรับรองของผู้บังคับบัญชาของผู้ค้ำประกัน

  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรข้าราชการ รับรองสำเนาถูกต้อง

  4. สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้อง

  5. กรณีผู้ค้ำประกันมีคู่สมรส ให้แนบเอกสารสำเนาทะเบียนสมรส แลหนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรส

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ให้เบี้ยยังชีพคนพิการ เดือนละ 500.-บาทต่อคน(คลิก)

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ปัจจุบันมีคนพิการรับเบี้ยยังชีพจำนวน      208     ราย

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

บริการประสานงานในการจัดหางานให้คนพิการ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

องค์กรเครือข่ายงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดชัยนาท(คลิก)

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

อาสาสมัครพัฒนาสังคมเพื่อให้บริการคนพิการแบบครบวงจรในระดับชุมชน

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ชมรมกีฬาคนพิการจังหวัดชัยนาท

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ชมรมคนพิการทุกประเภทอำเภอมโนรมย์

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ชมรมกลุ่มผู้พิการตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

หน่วยงานราชการที่ให้บริการช่วยเหลือคนพิการ(คลิก)

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

โรงเรียนโสตศึกษา

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

วิทยาลัยราชสุดา

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ศูนย์ศึกษาพิเศษ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ศูนย์วิจัยและพัฒนาอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

โรงเรียนเศรษฐ์เสถียร

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ฐานข้อมูลสวัสดิการด้านคนพิการ(poc)

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

จำนวนคนพิการในจังหวัดชัยนาท ที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

จำนวนอาสาสมัครพัฒนาสังคมช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) ทั้งจังหวัดชัยนาท

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

กลุ่มอาชีพคนพิการจังหวัดชัยนาท



เข้าชม : 1156


นายเกียรติกัมพล ชูจันทร์ 5 อันดับล่าสุด

      ธาราบำบัดหนึ่งทางเลือกรักษาผู้ป่วย/คนพิการ 16 / มิ.ย. / 2557
      ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ 9 / มิ.ย. / 2557
      บริการสำหรับคนพิการ 5 / มิ.ย. / 2557
      ไม่เห็นแสงแต่ ‘สู้ไม่ถอย!’ ‘หมอนวดตาบอด’ กว่าชีวิตจะสว่าง ‘ไม่ง่าย’ 4 / มิ.ย. / 2557
      โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 19 / มี.ค. / 2557




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ถนนเพชรเกษม 16 หมู่ 7 ตำบลวังมะปรางเหนือ  อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โทรศัพท์ 075 - 262147
โทรสาร 075-262147
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05