[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 


ความรู้เกี่ยวกับ IT
การฝึกพูดเด็กดาวน์ซินโดรม

พุธ ที่ 2 เดือน มกราคม พ.ศ.2556





 
         โดยปกติทั่วไปแล้ว คนแต่ละคนจะมีโครโมโซมอยู่ในเซลล์ร่างกาย 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ซึ่งจะรับจากบิดา 23แท่ง และจากมารดา 23แท่ง โครโมโซมมีหน้าที่แสดงลักษณะออกคนคนนั้นรับออกมา เช่น ผมสีดำ ตาสีน้ำตาล ตัวสูง เพศหญิง หรือเพศชาย ฯลฯ โดยจะถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวสู่ลูกหลาน หรือเรียกกันว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งบุตรจะรับจากบิดา 23แท่งและจากมารดา 23แท่ง สำหรับเด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครโมโซม
 
ซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ
  •      ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง 
  •      ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ 14 มายึดติดกับโครโมโซมคู่ที่ 21
  •      โครโมโซมทั้งที่ปกติและผิดปกติที่มีอยู่ในคนเดียวกัน 
เด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม จะมีปัญหาในการใช้ภาษา มักจะพูดช้าและพูดไม่ชัด มีการทำงานของกล้ามเนื้อในปากผิดปกติเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม โดยทั่วไปเด็กจะพูดได้เมื่ออายุ ประมาณ 2 ปี ถึง 2 ปีครึ่ง
    ปัญหาด้านภาษาและการพูดของเด็กกลุ่มอาการดาวน์     
             1. มีพัฒนาการด้านการพูดช้ากว่าความเข้าใจในภาษาและสติปัญญา เช่น ครูสั่งให้หยิบดินสอ เด็กสามารถหยิบได้ถูกต้องแต่ยังไม่สามารถพูด “ดินสอ” ได้ทันที ต้องได้รับการเรียนรู้และฝึกพูดอย่างต่อเนื่อง
 2. พูดไม่ชัด เช่น พูดคำว่า “แม่” เป็น “แอ้” เป็นต้น
 3. พูดไม่คล่อง เช่น พูด “แมะ – แมะ - แมว” เป็น
             4. ในการสนทนาจะพูดโดยใช้วลีสั้นๆ เช่น สถานการณ์เด็กกำลังเดินออกจากห้องเรียน   ครูถามว่า “ จะไปไหน ” เด็กตอบ “ หาแม่ ” เป็นต้น
*    สาเหตุที่ทำให้เด็กมีความผิดปกติทางการพูด
1. มีความผิดปกติทางการได้ยิน ซึ่งเด็กจะสามารถพูดได้ต้องได้ยินได้ฟัง เสียงนั้นมาก่อนแล้วจึงจะพูดเลียนแบบได้ ถ้าเด็กหูตึงหรือหูหนวกก็จะทำให้พัฒนาการทางการพูดช้ากว่าวัยด้วย
2. มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ซึ่งมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อปากและลิ้น ทำให้มีการเคลื่อนไหวได้ไม่ดีนัก
3. มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยเด็กที่มีระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่าปกติจะทำให้การรับรู้และการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ช้า โดยเฉพาะส่งผลให้พัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าวัยด้วย
4. มีช่องปากขนาดเล็ก
5. มีลักษณะการสบฟันผิดปกติ
6. การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน ส่งผลต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้ออวัยวะที่ใช้ในการเปล่งเสียงพูด
การฝึกพูด
             โปรแกรมการสอนพูดและฝึกพูดของเด็กกลุ่มอาการดาวน์นั้น  จะต้องออกแบบเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล โดยนักแก้ไขการพูดจะเป็นผู้ประเมินความสามารถในการสื่อสารของเด็ก  ให้คำแนะนำรวมทั้งช่วยกระตุ้นส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่จะสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ  อย่างไรก็ตามผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาและการพูดของเด็กอย่างมาก  เนื่องจากภาษาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันที่ต้องมีการกระตุ้นและส่งเสริมอยู่ตลอดเวลา  เด็กแต่ละคนจะได้รับโปรแกรมการฝึกพูดที่แตกต่างกันไปตามวัย  โดยมีเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ ช่วยให้เด็กสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ในการฝึกพูดแบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม  ดังนี้
  • วัยทารกถึงวัยเตาะแตะ (อายุ 0 – 3 ปี)
                  การฝึกพูดเด็กวัยนี้ ครอบครัว มีส่วนร่วมอย่างมาก  เพราะส่วนใหญ่เด็กจะอยู่กับครอบครัว  ดังนั้นการฝึกพูดจะเน้น
                1. การพัฒนาทักษะการมองการฟังและการสัมผัส   โดยการฝึกให้เด็กมองและฟังอย่างมีจุดมุ่งหมายรวมทั้งการสัมผัสทางกาย  เพราะความสนใจสามารถกระตุ้นได้ด้วยสิ่งที่มองเห็นด้วยตา การได้ยินเสียงและการได้สัมผัสกับสิ่งๆ  นั้น แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นการเลียนแบบและการพูด
                  2. การฝึกบริหารอวัยวะที่ใช้ในกาพูด เช่น  การบริหารริมฝีปากโดยการเป่าฟองสบู่   เป่ากังหันลม หรือการใช้หลอด ดูดน้ำจากแก้ว เป็นต้น การบริหารลิ้น  โดยการแลบลิ้น
 
ออกให้ยาวที่สุดแล้วตวัดลิ้นกลับโดยเร็ว  การใช้ลิ้นเลียอมยิ้ม หรือทานมข้นหวานไว้ที่ริมฝีปากบนและล่างแล้วให้เด็กใช้ลิ้นเลีย เป็นต้น
                  3. การฝึกเลียนแบบการออกเสีต่างๆ  เช่น  พูดเลียนแบบเสียงร้องของสัตว์ เช่น แมวร้อง  เมี๊ยวๆ / ลิง ร้อง เจี๊ยกๆ / เป็ด ร้อง ก้าบๆ  เป็นต้น
                  4. การฝึกพูดคำเดียว  เช่น พ่อ , แม่ , กิน , นอน , ปลา , หมู ฯลฯ จนถึงการพูดเป็นวลี2–3 พยางค์ เช่น กินข้าว, ไปเที่ยวนะ เป็นต้น
  • วัยก่อนเรียน (อายุ 3 – 6 ปี)
        เด็กวัยนี้จะมีความเข้าใจทางภาษาได้ดีกว่าการพูด โดยในการฝึกพูดจะเน้นทักษะ 2 ด้านนี้ไปพร้อมๆ กัน  ได้แก่
             1. ด้านความเข้าใจภาษา  การฝึกจะเน้นเรื่องของความจำโดยผ่านการฟังและการปฏิบัติตามคำสั่งเพราะเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเข้าสู่วัยเรียนต่อไป  โดยควรเน้นความเข้าใจในเรื่องของความคิดรวบยอดของสิ่งต่างๆ  ด้วย  เช่น   เรื่องสี  รูปทรง  ตำแหน่ง  เป็นต้น
             2. ด้านการพูด  การฝึกจะเน้นการพูดที่เป็นให้ประโยคและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดยใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ เช่น  การทักทาย  การตอบคำถามในวัยนี้เริ่มที่ต้องได้รับการแก้ไขการพูดไม่ชัด  แต่จะทำงานร่วมไปกับการบริหารอวัยวะที่ใช้ในช่องปากและให้กิจกรรมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อในช่องปากได้ดีขึ้น
 
  • วัยเรียน (อายุ 6 – 12 ปี)
              ในวัยนี้นักแก้ไขการพูดต้องทำงานร่วมกับครูในชั้นเรียน เพื่อวางโปรแกรมการฝึกพูด   ดังนี้

    1. ด้านความเข้าใจภาษา ความเข้าใจ ภาษาของเด็กวัยนี้ จะเกี่ยวกับการทำกิจกรรมที่โรงเรียนเป็นส่วนใหญ่  เช่น  การปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน  การปฏิบัติตามคำสั่งในการทำงานร่วมกับกลุ่มเพื่อนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และการใช้ความคิดวิเคราะห์หาเหตุผล ซึ่งมีความยากและมีความซับซ้อนมากขึ้น
    2. ด้านการพูด  เน้นให้เด็กใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ  เนื่องจากเด็กต้องใช้ภาษาในการสนทนากับกลุ่มเพื่อนและมีปฏิสัมพันธ์กับครู สามารถพูดเล่าเรื่องถ่ายทอดประสบการณ์ที่ตนพบได้  นอกจากนั้นการพูดให้ชัด  พูดให้คนอื่นฟังเข้าใจความหมายของคำพูดที่ตนพูดได้  ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญอันหนึ่งสำหรับการฝึกพูดในเด็กวัยเรียนด้วย
เอกสารอ้างอิง
-          งานอรรถบำบัด สถาบันราชานุกูล. การฝึกพูดเด็กกลุ่มอาการดาวน์. บทความhttp://www.rajanukul.com
-          ดารณี ธนะภูมิ. การสอนเด็กปัญญาอ่อน. กรุงเทพฯ : สมใจการพิมพ์ ; 2542
-          ศรียาและประภัสร นิยมธรรม. พัฒนาการทางภาษา.     
ปริญญา หลวงพิทักษ์ชุมพล. เด็กเริ่มหัดพูดช้า. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2545

เข้าชม : 6609

ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      การฝึกพูดเด็กดาวน์ซินโดรม 2 / ม.ค. / 2556
      การสอนและพัฒนาทักษะของเด็ก 28 / พ.ย. / 2555




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตรัง
ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง 92000 
โทรศัพท์ 075-216886 โทรสาร 075-216886    
   
E-mail : wannisa_happy@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05