การเตรียมความพร้อมของสภาการพยาบาลจึงต้องสร้างความเข้าใจกับสมาชิกประเทศอาเซียนว่า มีสิทธิเคลื่อนย้ายบุคลากรทางการแพทย์อย่างถูกกฎหมาย มีการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนในการจ้างงานในกลุ่มประเทศอาเซียน วางแผนการผลิตและรักษาสมดุลทางด้านสังคม พัฒนาข้อมูลสารสนเทศและติดตามการเคลื่อนย้ายเข้า-ออกของบุคลากร และรักษาจุดเด่นของการรักษาพยาบาลแบบคนไทยนั้น ที่นอกจากการรักษาที่ได้มาตรฐานแล้ว เรายังนับถือและดูแลผู้ป่วยดุจญาติมิตร และยังต้องเรียนรู้เรื่องของวัฒนธรรมที่แตกต่าง ตลอดจนอุปสรรคทางด้านภาษา และเชื่อว่าทุกประเทศมีสามารถคว้าโอกาสบนเวทีอาเซียนได้หากมีการเตรียมพร้อมที่ดี ^^
2. พยาบาล
พยาบาลวิชาชีพ หมายถึง บุคคลธรรมดาที่ผ่านการทดสอบเพื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและได้รับการประเมินโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาลของประเทศแหล่งกำเนิด (Country of Origin) ว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติทางด้านเทคนิค จริยธรรม และกฎหมาย ที่จะประกอบวิชาชีพพยาบาล และขึ้นทะเบียนและ/หรือได้รับใบอนุญาตสาหรับการประกอบวิชาชีพดังกล่าวจากหน่วยงานผู้มีอำนาจกากับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาลของประเทศแหล่งกำเนิด (Country of Origin) นั้น ทั้งนี้ คาดว่าพยาบาลวิชาชีพไม่รวมถึงพยาบาลเทคนิค
พยาบาลวิชาชีพต่างชาติ หมายถึงพยาบาลวิชาชีพที่มีสัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนและ ได้ขึ้นทะเบียนและ/หรือได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศแหล่งกำเนิด และมาสมัครขอขึ้นทะเบียน และ/หรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ โดยต้องเป็นไปตามกฎระเบียบในประเทศผู้รับ
คุณสมบัติของพยาบาลวิชาชีพ หมายถึง คุณสมบัติการเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับจากสถาบันฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพซึ่งสถาบันดังกล่าวได้รับการยอมรับโดยหน่วยงานที่กากับดูแลวิชาชีพพยาบาล และ/หรือ หน่วยงานใดที่เหมาะสมในประเทศแหล่งกำเนิด
ได้รับใบรับรองจากผู้มีอำนาจกากับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาล (NRA) ของประเทศแหล่งกำเนิดว่าไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรงด้าน เทคนิค มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ ระดับท้องถิ่นและระหว่างประเทศ ในการประกอบวิชาชีพพยาบาล และ มีคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ตามที่กำหนด เช่น ต้องแสดงผลตรวจร่างกายหรือผ่านการทดสอบสมรรถภาพ หรือข้อกำหนดอื่นใดตามที่หน่วยงานกากับดูแลวิชาชีพพยาบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานของรัฐในประเทศผู้รับเห็นสมควรในการกำหนดคุณสมบัติของการขอขึ้นทะเบียน และ/หรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล
สิทธิและหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ
สิทธิของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย และข้อบังคับภายในประเทศของแต่ละประเทศ พยาบาลวิชาชีพต่างชาติซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุใน ข้อ 3.1 มีสิทธิในการเข้าไปประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับได้
หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ ต้องปฏิบัติสอดคล้องตาม:
หลักประพฤติปฏิบัติทางวิชาชีพของท้องถิ่น สอดคล้องกับนโยบายด้านจรรยาบรรณและความประพฤติที่มีและใช้บังคับโดยประเทศผู้รับ
กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในประเทศของประเทศผู้รับรวมทั้ง กฎระเบียบข้อบังคับอื่นใดที่ใช้กากับดูแลการประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ
ข้อกำหนดใด ๆ สาหรับโครงการประกันความเสียหายในประเทศผู้รับ
วัฒนธรรมและประเพณีนิยมในประเทศผู้รับ
MRA: สภาการพยาบาลกับพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ
หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (NRA) หมายถึงหน่วยงานที่ได้รับอำนาจจากรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิก ให้มีหน้าที่กากับดูแลการประกอบวิชาชีพพยาบาล
การประกอบวิชาชีพพยาบาล หมายถึง การให้บริการดูแลพยาบาลโดยพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูรวมทั้งการศึกษา การวิจัย
สถาบันฝึกอบรมที่ได้รับการยอมรับ หมายถึง มหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่ให้การฝึกอบรมด้านการประกอบวิชาชีพพยาบาลที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกากับดูแลวิชาชีพพยาบาล และ/หรือหน่วยงานอื่นที่เหมาะสม(เช่นกระทรวงสาธารณสุข)ในประเทศแหล่งกำเนิด
MRA: สภาการพยาบาล
สภาการพยาบาล: หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลของประเทศผู้รับจะมีความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
ประเมินคุณสมบัติและประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ
ขึ้นทะเบียน และ/หรือออกใบอนุญาตให้พยาบาลวิชาชีพต่างชาติในการเข้ามาการประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ
ติดตามตรวจสอบและประเมินการประกอบวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติที่ได้จดทะเบียน และ/หรือได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล
ตรวจสอบติดตาม เพื่อให้แน่ใจว่าพยาบาลต่างชาติจะรักษามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพพยาบาลที่สอดคล้องกับหลักประพฤติปฏิบัติด้านวิชาชีพของประเทศผู้รับ
คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Joint Coordinating Committee on Nursing: AJCCN)
คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียนต้องเป็นผู้วางกลยุทธ์ในการดำเนินตามมติของตนเอง เช่น
อำนวยความสะดวกในดำเนินการตามข้อตกลง ฯ
สร้างความเข้าในร่วมกันทั้งด้านนโยบาย กระบวนการและการปฏิบัติในการพัฒนาและส่งเสริมกลยุทธ์ในการดาเนินการตามข้อตกลงฯ
ร่วมกันคิดค้นกระบวนการเพื่อนาไปสู่การสร้างมาตรฐานและหลักเกณฑ์การยอมรับร่วมกันสำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงฯ
เป็นต้น
ความก้าวหน้าในการดำเนินการของคณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Joint Coordinating Committee on Nursing: AJCCN)
ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ คืบหน้าช้า ประชุมแล้วกว่า 11 ครั้ง
ปรับเปลี่ยนวิธีการ MRA Roadmap
ตกลงกันได้ในเรื่อง กำหนดองค์ประกอบของ สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอาเซียน
ประเทศสมาชิกกำลังดำเนินการให้มี กฎหมายและสภาการพยาบาลขึ้น
กำลังสรุปเรื่องข้อมูลจำเป็นที่ต้องเผยแพร่ใน Website สำหรับพยาบาลต่างชาติที่สนใจให้บริการในต่างประเทศ ศึกษาและเตรียมตัว มีปัญหาในการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อให้มีการดำเนินการตาม MRA
ความก้าวหน้าในการดำเนินการ
คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Joint Coordinating Committee on Nursing: AJCCN) และของสาขาสุขภาพ จะมีการประชุมกันครั้งสุดท้ายของปี 2555 ในเดือน กันยายน นี้
สภาการพยาบาลต้องดำเนินการ: ต้องมีการเตรียม Roadmap
ต้องจัดทำ Website ASEAN Nursing
ต้องเตรียมหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่มีขีดความสามารถทางานตามหน้าที่ที่ระบุใน MRA และอื่นๆ
แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
คณะกรรมการเครือข่ายนานาชาติ สภาการพยาบาล
ศึกษาวิเคราะห์และกำหนด (ร่าง) แนวทางแนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสภาการพยาบาล
ร่าง แนวทางฯ เป็นแนวทางเตรียมความพร้อมขององค์กรพยาบาลเพื่อโอกาสของแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้อง
พยาบาลกับการเปิดประชาคมอาเซียน
3. บัญชี
การพัฒนาศักยภาพวิชาชีพบัญชีไทยเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
หากท่านเป็นนักบัญชีที่มีความสนใจเดินทางไปทำงานในประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียนภายหลังการเปิดเสรีอย่างเป็นทางการแล้ว แนวปฏิบัติต่างๆเหล่านี้จะเป็นเสมือนคู่มือและเครื่องมือที่จะให้ช่วยให้ผู้ที่ติดตามอย่างต่อเนื่องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบแนวทางต่างๆ ตลอดจนวิธีการในการดำเนินการไปทำงานอย่างถูกต้อง และสามารถช่วยในการวางแผนการล่วงหน้าได้อย่างเป็นระบบ ส่วนท่านที่ยังไม่ได้มีความสนใจที่จะไปทำงานในประเทศเพื่อบ้านเพื่อนสมาชิกอาเซียนนั้น การที่อาจจะมีผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจากประเทศอื่นๆเข้ามาทำงานในประเทศไทย ในแวดวงธุรกิจ หรือแม้แต่ในกิจการที่ท่านทำงานอยู่ ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่แปลกใหม่ที่จะอาจก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงออกไปจากการทำงานในแบบเดิมอย่างมีนัยะสำคัญพอสำหรับการที่จะศึกษาแนวโน้มทิศทางหรือรูปแบบความเปลี่ยนแปลงนั้นๆไม่น้อยทีเดียว
อาเซียนกับนักบัญชี
4. สถาปนิก
กลยุทธ์สำคัญสู่ความเป็น “สถาปนิกอาเซียน”
การเตรียมความพร้อมของวิชาชีพสถาปนิกเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามข้อตกลงใน MRA มีดังต่อไปนี้
1. จัดทำกรอบการทำงานร่วมกันของสถาปนิกไทยกับสถาปนิกอาเซียน (Local Collaboration Framework) ภายใต้ข้อตกลงของสภาสถาปนิกอาเซียน (ASEAN Architect Council) ว่าด้วยการทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม (Reciprocal Framework) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงร่วมกันภายใต้กรอบใหญ่ของ UIA (องค์กรใหญ่สุดของวิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่ Unesco ให้การสนับสนุน) ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “การปฏิบัติงานในประเทศอื่นต้องมีการร่วมมือกับเจ้าของประเทศนั้น”
2. ดำเนินการจัดให้มีระบบการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า CPD (Continuing Professional Development) โดยความสมัครใจ สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็น “สถาปนิกอาเซียน” (AA - ASEAN Architect)
3. แก้ไขกฎกระทรวงเพื่อให้เกิดการจ้างงานของคนต่างด้าวตามพระราชกฤษฏีกา เพื่อให้สถาปนิกต่างชาติสามารถเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้ภายใต้เงื่อนไขของ MRA
สร้างแบรนด์ “สถาปนิกไทย” ให้ก้าวไกลใน AEC ผศ.ดร.นฤพนธ์ เคยกล่าวไว้ว่า “ในวันนี้การเป็นสถาปนิกไม่ใช่แค่ต้องรอให้ได้โจทย์มาหรือต้องรอแบบอีกต่อไป แต่ต้องช่วยลูกค้าคิดและวิเคราะห์ด้วยว่า ถ้ามีที่ดินอยู่จะลงมือทำอะไรกับมันดี เช่น จะสร้างเป็นคอนโดฯ หรือ คอมมูนิตี้ มอลล์”
เพราะขณะที่จุดแข็งของสถาปนิกสิงคโปร์ คือ การสร้างแบรนด์ดิ้งที่มีความเฉพาะตัว เช่น ความถนัดเรื่องการออกแบบบิวตี้แอนด์เฮลท์คลินิก, ลักษณะการทำงานที่คิดงานแบบครีเอทีฟ, ความถนัดในการใช้เกมรุกช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหา, ความพร้อมในการนำเสนอทางเลือกต่างๆ ที่มากกว่าขอบเขตของงานสถาปนิก ฯลฯ สิงคโปร์ได้นำทักษะเหล่านี้มาประยุกต์เป็นจุดขายของเขา ขณะที่สถาปนิกไทยมักจะมองว่า นั่นไม่ใช่ขอบเขตหน้าที่ของตน ส่วนในอีกมุมหนึ่งจุดแข็งของสถาปนิกฟิลิปปินส์ก็คือเรื่องของค่าแรงที่ถูกกว่า
อีกสามปีข้างหน้าในวันที่ AEC เปิดตัวขึ้น ประเทศไทยจะกลายเป็นเวทีเศรษฐกิจสำคัญที่ต่างชาติให้ความสนใจมาลงทุน ดังนั้น คนไทยเองจะต้องให้ความสนใจกับการสร้างแบรนดิ้งด้วย “ภาพลักษณ์ของสถาปนิกไทยในสายตาคนข้างนอก คือ เรื่องของการออกแบบรีสอร์ท ที่พักอาศัย และสถานที่ให้บริการต่างๆ (Residential & Hospitality) ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นจุดแข็งที่เราควรนำไปพัฒนาสร้างเป็นแบรนด์ดิ้งให้ ‘Thai Architect’ อันนี้หมายถึงแบรนด์ดิ้งในระดับองค์รวมทั้งประเทศนะ ไม่ใช่แบบตัวใครตัวมันอย่างที่เราทำกันอยู่ ผมมองว่าการเปิด AEC ในปี 2015 จะเป็นโอกาสดีที่วงการสถาปนิกไทยจะได้สร้างชื่อร่วมกัน”
วงการสถาปนิกไทยจะได้สร้างชื่อร่วมกัน
5. วิศวกร
ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรเครื่องกล วิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้าวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมปิโตเลียม ฯลฯ ซึ่งกฎหมายไทย (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 และ 4 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505) กำหนดให้ วิศวกรในบางสาขาจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือที่รู้จักกันว่า "ใบกว." เพื่อการประกอบอาชีพด้วย ได้แก่ สาขา โยธา เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และเคมี ใบประกอบวิชาวิศวกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ1ภาคีวิศวกร2.สามัญวิศวกร 3.วุฒิวิศวกร โดยมีสภาวิศวกรเป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ แขนง ลักษณะ และ ขนาด ของงานด้วย ส่วนในเรื่องของรายได้ต่อเดือนจะแบ่งเป็น
ภาครัฐวิสาหกิจ (การไฟฟ้า-สื่อสาร-ประปา-การบินไทย) รับเงินเดือนเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 14,500 บาท
ภาคเอกชน
ช่วงการรับเงินเดือนเริ่มต้นรวมที่ 14,786 - 22,000 บาท
6. ช่างสำรวจ
เป็นอาชีพเกี่ยวกับการสำรวจในด้านต่างๆ เช่น การสำรวจด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ ทั้งบนบก และในน้ำ และยังรวมไปถึงการสำรวจสิ่งที่อยู่นอกโลกด้วย ในเรื่องของรายได้ คาดว่าน่าจะเป็นต่อชิ้นงาน หรือโปรเจกท์ที่ทำการสำรวจมากกว่าที่จะคิดเป็นเดือน และอาจมีค่าสวัสดิการระหว่างทำการสำรวจด้วยก็ได้ เดิมทีอาชีพนี้ก็มีค่าตอบแทนสูงอยู่แล้ว ยิ่งเปิดอาเซียนค่าตอบแทนก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก
7. ทันตแพทย์
ทันตแพทย์
หมายถึง แพทย์ผู้มีหน้าที่รักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก
ทันตแพทย์ หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ “หมอฟัน” เป็นการศึกษาในเรื่องของฟัน อวัยวะในช่องปากและอวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยออก เสียงและส่งเสริมบุคลิกภาพ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความสามารถในการตรวจวินิจฉัย วางแผน และบำบัดรักษาโรคในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบูรณะเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันโรคฟันผุแก่ชุมชน เผยแพร่ความรู้ทางทันตสุขศึกษาและทำการวิจัยทางด้านทันตแพทยศาสตร์ เงินเดือนภาครัฐโดยเฉลี่ยรวม 37,000 บาท
แนวทางในการประกอบอาชีพ
- เป็นอาจารย์สอนและวิจัยในคณะทันตแพทยศาสตร์
- ประกอบธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายเครื่องมือทันตแพทย์
-ทำงานด้านวิจัยในปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและโรคในช่องปาก
-เป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาล อนามัย หรือ คลินิกทั้งของรัฐและเอกชน
-ประกอบอาชีพอิสระในการตั้งคลินิกรักษาหรือโรงพยาบาลเอกชน
โดยอาชีพทั้ง 7 นี้ถือว่าเป็นอาชีพยอดฮิต ซึ่งผู้ทำอาชีพดังกล่าวควรจะตระหนักให้ดีว่า ควรมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ทางอาเซียนได้เพิ่มอาชีพที่ 8 เข้าไปแล้ว นั่นคือ "บุคลากรวิชาชีพทางการท่องเที่ยวและการบริการ" เนื่องจากเห็นว่า เป็นอาชีพที่สำคัญ สามารถดึงรายได้เข้าสู่ประเทศได้อย่างมหาศาล