แบบจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญา
กศน.ตำบลทุ่งยาว กศน.อำเภอปะเหลียน สำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง
ปีงบประมาณ 2558
ชื่อภูมิปัญญา การทำไม้กวาดจากดอกของต้นเลา
ชื่อของผู้ทรงภูมิปัญญา นายเพียร ภักดี
ที่อยู่ของภูมิปัญญา บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ประเภทของภูมิปัญญา ด้านหัตถกรรม
ประวัติความเป็นมา เกิดวันที่ - เดือน - พ.ศ. 2484 ปัจจุบันอายุ 74 ปี มีบุตรจำนวน 7 คน
เดิมเป็นคนจังหวัดศรีษะเกษและได้เดินทางมาหางานทำที่จังหวัดตรังและมีครอบครัวเป็นชาวทุ่งยาว
มีความสามารถทางด้าน การทำไม้กวาดจากดอกของต้นเลา , ดอกอ้อ
ขั้นตอนการทำไม้กวาดจากดอกเลา ขั้นแรกนำดอกเลาที่หามาได้มาตากแดดประมาณ 3 วัน จากนั้นนำมาตีให้ดอกหลุดออกเหลือแต่ก้านดอก แล้วนำไปตากแดดอีกครั้งจนแห้งสนิท ถ้าตากไม่แห้งเวลานำมามัดจะทำให้ไม่แน่น จากนั้นนำมาผูกเป็นไม้กวาด โดยใช้หวายมาเหลาเป็นเส้นใช้ผูกแทนเชือก โดยไม้กวาดแต่ละด้ามใช้ก้านดอกเลาประมาณ 35 – 40 ก้าน โดยต้องใช้ดอกเลาที่หักออกจากก้านมาเสริมด้วยเพื่อให้ไม้กวาดมีความหนาขึ้น จึงเสร็จกระบวนการ
ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่ต้องการ
เรียนรู้ในการทำไม้กวาดจากดอกหญ้า
รางวัลที่ได้รับการยกย่อง -
แบบจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญา
กศน.ตำบลทุ่งยาว กศน.อำเภอปะเหลียน สำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง
ปีงบประมาณ 2558
ชื่อภูมิปัญญา การรำมโนราห์
ชื่อของผู้ทรงภูมิปัญญา นางขิน ยั่งยืน
ที่อยู่ของภูมิปัญญา อยู่บ้านเลขที่ 99/1 หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ประเภทของภูมิปัญญา ด้านศิลปกรรม
ประวัติความเป็นมา เกิดวันที่ - เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ปัจจุบันอายุ 68 ปี มีบุตรจำนวน 6 คน
เดิมเป็นคนจังหวัดพัทลุงและได้เดินทางมาหางานทำที่จังหวัดตรังและมีครอบครัวเป็นชาวทุ่งยาว
มีความสามารถทางด้าน การรำมโนราห์
ขั้นตอนการรำมโนราต้องมีการบูชาครูที่หลังโรงก่อน จากนั้นจึงมีการปล่อยตัวนางรำออกมาขับกลอนบูชาครู เมื่อเสร็จแล้วจึงมีการเข้าเรื่อง
ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่สามารถสอนและถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ในการรำมโนราห์
รางวัลที่ได้รับการยกย่อง -
แบบจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญา
กศน.ตำบลทุ่งยาว กศน.อำเภอปะเหลียน สำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง
ปีงบประมาณ 2558
ชื่อภูมิปัญญา การทำด้ามจอบ - ด้ามขวาน - มีดพร้า
ชื่อของผู้ทรงภูมิปัญญา นายล่อง ไชยยางค์
ที่อยู่ของภูมิปัญญา อยู่บ้านเลขที่ 94/1 หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ประเภทของภูมิปัญญา ด้านหัตถกรรม
ประวัติความเป็นมา เกิดวันที่ 01 เดือน มกราคม พ.ศ. 2463 ปัจจุบันอายุ 95 ปี มีบุตรจำนวน 9 คน มีความสามารถทางด้าน การทำด้ามจอบ - ด้ามขวาน - ด้ามพร้า
ขั้นตอนการทำ ขั้นแรกถ้าไม้ยังเป็นไม้ซุงอยู่ ก็ให้แปรรูปเป็นแผ่นกระดานก่อนความหนาประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว ความยาวขึ้นอยู่กับว่าจะทำด้ามอะไร ถ้าด้ามจอบก็ยาว 155 – 170 ซม. ส่วนความกว้างแล้วแต้ไม้ยิ่งกว้างมากก็จะทำได้หลายด้าม เมื่อได้ไม้เป็นแผ่นแล้วก็นำเอาแบบมาทาบลงบนแผ่นไม้และใช้ดินสอวาดให้เป็นรูป จากนั้นก็นำมาเหลาหรือถากด้วยพร้าหรือขวานก็ได้ จากนั้นก็ใช้บุ้งถูเพื่อตกแต่งให้กลมและดูสวยงาม
ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ในการทำ ด้ามจอบ ด้ามขวาน ด้ามพร้า
รางวัลที่ได้รับการยกย่อง -
แบบจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญา
กศน.ตำบลทุ่งยาว กศน.อำเภอปะเหลียน สำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง
ปีงบประมาณ 2558
ชื่อภูมิปัญญา การทำสุ่มไก่
ชื่อของผู้ทรงภูมิปัญญา นายเยื้อน ยงค์หนู
ที่อยู่ของภูมิปัญญา บ้านเลขที่ 94 หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ประเภทของภูมิปัญญา ด้านหัตถกรรม
ประวัติความเป็นมา เกิดวันที่ - เดือน - พ.ศ. 2466 ปัจจุบันอายุ 92 ปี มีบุตรจำนวน 7 คน
มีความสามารถทางด้าน การทำสุ่มไก่
ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ในการทำสุ่มไก่
รางวัลที่ได้รับการยกย่อง -
แบบจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญา
กศน.ตำบลทุ่งยาว กศน.อำเภอปะเหลียน สำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง
ปีงบประมาณ 2558
ชื่อภูมิปัญญา การเล่นหนังตลุง
ชื่อของผู้ทรงภูมิปัญญา นายครวญ ลิ้มทอง
ที่อยู่ของภูมิปัญญา บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ประเภทของภูมิปัญญา ด้านศิลปกรรม
ประวัติความเป็นมา เกิดวันที่ - เดือน - พ.ศ. 2481 ปัจจุบันอายุ 77 ปี มีบุตรจำนวน 2 คน
มีความสามารถทางด้าน การเล่นหนังตะลุง
ขั้นตอนการแสดง นายหนังบอกว่าหลักการเล่นหนังตะลุงให้ได้ดี ต้องสวมวิญญาณข้าไปในรูปหนังจึงจะเล่นได้สมบทบาท หยวกกล้วยที่ใช้ปักรูปหนัง เปรียบเหมือนแผ่นดินทั้งประเทศ พระราชาเปรียบเหมือนพระมหากษัตริย์ ตัวละครอื่นๆเปรียบเหมือนประชากรทั้งประเทศ ก่อนการเล่นหนังแต่ละครั้งต้องมีการเซ่นเจ้าที่ก่อนเพื่อเบิกโรงอย่าให้ปิดกั้นการแสดงของนายหนัง ตามความเชื่อที่มีมาช้านาน ฉากแรกต้องออกฤาษีก่อน ตามด้วยรูปหน้าบทซึ่งทำหน้าที่ทำความเคารพครูบาอาจารย์ และผู้ชม ฉากที่สามจะบอกเรื่องเล่ารายละเอียดการเล่น และฉากที่สี่จะเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน จากนั้นตัวละครทั้งหมดก็ดำเนินเรื่องต่อไปจนจบการแสดง
ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ในการขับหนังตะลุง
รางวัลที่ได้รับการยกย่อง เกียรติบัตรผู้เข้าร่วมการประชันหนังตะลุง 14 จังหวัดภาคใต้ งานอนุรักษ์มรดกไทยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง ประจำปี 2550
เครือข่ายของตำบลทุ่งยาว
วัดทุ่งยาว คุณสัมพันธ์ รามจันทร์
กศน.ตำบลทุ่งยาวนำนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการทำผ้าบาติกไปเรียนรู้การทำผ้าบาติกจากภูมิปัญญาที่มีความรู้
เฉพาะด้านซึ่งนักศึกษาได้เลือกเรียนโดยวิธีการทำโครงงาน
กิจการปรองดอง
กศน.ตำบลทุ่งยาว ร่วมกิจกรรมอำเภอยิ้ม เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันของประชาชน
ณ สนามโรงเรียนบ้านทุ่งยาว วันที่ 7 กรกฎาคม 2557