[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
       



 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
‘โลกร้อน’ ใกล้สุดทาง ‘ไอพีซีซี’ ชี้หายนะ

เสาร์ ที่ 16 เดือน เมษายน พ.ศ.2565


 

รายงานฉบับนี้มีความยาวรวม 10,000 หน้า นับเป็นการประเมินภาวะโลกร้อนที่ครอบคลุมมากที่สุดในโลกที่ไอพีซีซีทำมาเป็นครั้งที่ 6 แล้วนับตั้งแต่ปี 1990 และครั้งนี้นับเป็นการส่งสัญญาณอันตรายที่เป็นจริงเป็นจังมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ไอพีซีซี เป็นองค์กรที่มีนักวิทยาศาสตร์หลายร้อยคนจากทั่วโลกร่วมกันประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และเป็นการส่งคำเตือนให้มนุษยชาติหลีกเลี่ยงหายนะที่จะเกิดขึ้นจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นในอนาคต

รายงานใน “ส่วนแรก” ไอพีซีซีออกมาเตือนว่า เวลานี้โลกมี “สัญญาณอันตราย” ที่โลกจะร้อนเกินกว่าที่จะควบคุมได้ ก่อนที่ “ส่วนที่ 2” จะชี้ให้เห็นว่า โลกที่ร้อนขึ้นอาจส่งผลให้อารยธรรมมนุษย์ล่มสลายแบบไม่อาจหวนคืนกลับ และรายงาน “ส่วนที่ 3” นี้ ที่มีจำนวน 2,800 หน้า เป็นการบอกวิธีการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้โลกใบนี้ “สามารถอยู่อาศัยได้” ในอนาคต และเน้นย้ำว่าต้อง “เริ่มทำทันที” เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะ

รายงานฉบับนี้ของยูเอ็นยังเป็นรายงานอีกฉบับที่ตบหน้าบรรดาผู้นำประเทศและผู้นำธุรกิจ ที่เคยให้คำมั่นไว้อย่างตรงไปตรงมาด้วยเช่นกัน

“ผู้นำรัฐบาลและผู้นำธุรกิจบางคนกำลังพูดอย่างทำอย่าง พูดง่ายๆ พวกเขากำลังโกหก และผลจากการกระทำนั้นคือหายนะใหญ่” อันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการยูเอ็น ระบุ

ปัจจุบัน พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่ายุคมิดเซนจูรี (mid-century) หรือยุคก่อนอุตสาหกรรม มาแล้ว 1.1 องศาเซลเซียส และโลกก็ตั้งเป้าที่จะจำกัดอุณหภูมิโลกไม่สูงเกินกว่า 2 องศา หรือหากเป็นไปได้ไม่เกิน 1.5 องศา ภายใต้ข้อตกลงปารีสในปี 2015 ที่ผ่านมา และแน่นอนว่า รายงาน “ส่วนที่ 3” ของไอพีซีซี ก็ได้ประเมินสถานะของโลกใบนี้ในปัจจุบันที่เป็นสัญญาณเตือนเอาไว้ และก็บอกวิธีที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จเอาไว้ด้วยเช่นกัน

ไอพีซีซีระบุว่า เวลานี้หากโลกไม่สามารถจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากกว่าที่แต่ละประเทศประกาศเอาไว้ภายในปี 2030 นั่นหมายความว่า เป้าหมายไม่เกิน 1.5 องศา เหนือยุคมิดเซนจูรีนั้น จะไม่สามารถเป็นไปได้แล้ว

นโยบายตัดลดการปล่อยคาร์บอนได ออกไซด์ของแต่ละประเทศในปัจจุบันจะสามารถลดการปล่อยก๊าซได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นภายในปี 2050 และโลกจะร้อนขึ้นถึงระดับ 3.2 องศา เหนือยุคมิดเซนจูรี ในปี 2100

แม้แต่เป้าหมายไม่เกิน 2 องศาเองยังคงมีความยากลำบาก เนื่องจากโลกจำเป็นต้องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในแต่ละปีลงถึง 1,500 ล้านตันทุกๆ ปี ตั้งแต่ปี 2030 ถึง 2050 หรือเท่าๆ กับปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงในปี 2020 ปีที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องล็อกดาวน์ และส่งผลให้เศรษฐกิจชะงักงัน แบบนั้นทุกๆ ปี

ไอพีซีซีแนะแนวทางในการไปสู่เป้าหมายเอาไว้ด้วย ก็คือการหาพลังงานทดแทนพลังงานจากฟอสซิลมาใช้ โดยไอพีซีซีระบุว่า หากโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน ไม่มีการดักจับก๊าซเรือนกระจกที่จะปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ การควบคุมอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศา จะเป็นไปไม่ได้เลย

 

นอกจากนี้ยังระบุว่า หากจะจำกัดไม่ให้โลกอุณหภูมิสูงกว่าช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เกิน 2 องศาแล้วล่ะก็ โลกจะต้องไม่ใช้น้ำมันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซสำรอง 50 เปอร์เซ็นต์ และถ่านหินสำรอง 80 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนไดออกไซด์แล้วก็ตาม และระบุด้วยว่าการยุติการอุดหนุนพลังงานฟอสซิลของรัฐบาลทั่วโลกจะสามารถลดการปล่อยก๊าซได้มากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030

ไอพีซีซีระบุอีกแนวทางเอาไว้ด้วย นั่นก็คือการ “เปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด” โดยระบุว่า โลกจะต้องเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น “ศูนย์” หรือ “เน็ตซีโร่” ให้ได้ภายในปี 2050 โดยจะต้องหันไปใช้ พลังงานไฟฟ้า และพลังงานไร้มลพิษอื่นๆ เพื่อให้เป้าหมายตามข้อตกลงปารีสยังมีความหวัง

แม้ปัจจุบันโลกจะเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เช่น พลังงานลมที่เพิ่มขึ้น 70 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้น 170 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 2015-2019 แต่พลังงานทั้งสองส่วนก็คิดเป็นเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ จากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2019 เท่านั้น ขณะที่ไฟฟ้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ หรืออยู่ในระดับต่ำอย่างเช่น พลังงานน้ำ หรือนิวเคลียร์นั้น ผลิตไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนราว 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นเป็นไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานฟอสซิลที่สร้างก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

ไอพีซีซีระบุด้วยว่า มีวิธีลดความต้องการพลังงานลงจากฝั่งผู้บริโภคได้ด้วย เช่น การกินอาหารจากพืชเป็นหลัก การใช้รถยนต์ไฟฟ้า การคมนาคมโดยไม่ใช้รถยนต์ การสื่อสารทางไกล การสร้างอาคารที่ทนต่อสภาพอากาศ ลดเที่ยวบินระยะไกล รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ 40-70 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050

 

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงวิธีการแบบกำปั้นทุบดินแต่เป็นไปได้จริง ก็คือการดูดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า หรือการใช้เครื่องมือทางเคมีในการแยกคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมาย “เน็ตซีโร่” และ “ลดอุณหภูมิโลก” ลงได้

แน่นอนว่าการจะไปถึงเป้าหมายด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้ ย่อมต้องใช้งบประมาณสูง โดยไอพีซีซีระบุว่า การจะหยุดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศา ตามเป้าหมายนั้นจำเป็นต้องลงทุนในอุตสาหกรรมไฟฟ้าสูงถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 76 ล้านล้านบาทต่อปี ระหว่างปี 2023-2052 แต่หากเป้าหมายอยู่ที่ 2 องศา
งบประมาณจะลดลงมาอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 56.9 ล้านล้านบาทต่อปี

เทียบกับงบประมาณที่โลกลงทุนกับพลังงานสะอาดในปี 2021 ที่ผ่านมา ที่ 750,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว ยังคงห่างเป้าหมายอีกไกลมากๆ เลยทีเดียว

นั่นเป็นเพียงตัวอย่างแนวทางอย่างเป็นรูปธรรมที่ไอพีซีซีบอกให้โลกได้รู้ เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะที่จะเกิดขึ้น และแน่นอนว่าหายนะดังกล่าว ไอพีซีซีเคยเตือนมาแล้วในรายงาน 2 ส่วนก่อนหน้านี้ เช่น น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกละลายจนหมดสิ้นอย่างน้อย 1 ครั้งในฤดูร้อน อัตราน้ำช่วยชายฝั่งเพิ่มขึ้น 2 เท่า คลื่นความร้อนจัดที่ปกติเกิดขึ้นทุก 50 ปี จะเกิดขึ้นทุก 10 ปี พายุหมุนเขตร้อนจะรุนแรงมากขึ้น ฝนและหิมะตกมากขึ้นในช่วง 1 ภาวะแห้งแล้งจะเกิดบ่อยขึ้นกว่าเดิม 1.7 เท่า และฤดูกาลไฟป่าจะยาวนานและรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

แน่นอนว่าแนวทางเหล่านี้ที่ไอพีซีซีให้คำแนะนำ นอกจากจะไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ แล้ว ยังจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกๆ ประเทศทั่วโลกด้วย

เวลานี้คงได้แต่หวังว่า รายงานฉบับนี้จะสามารถกระตุ้นเตือนให้โลกหันมาร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด

เพื่อให้โลกยังสามารถ “อยู่อาศัยได้” สำหรับลูกหลานในอนาคต

ที่มา : https://www.matichon.co.th/article/news_3289925 



เข้าชม : 341


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      3 มิถุนายน วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 12 / มิ.ย. / 2567
      ผลการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice) ศกร.ตำบลทุ่งต่อ 28 / พ.ค. / 2567
      สกร.ทุ่งต่อ ห้วยยอด เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 1/2567 14 / มี.ค. / 2567
      กศน.ต.ทุ่งต่อ เปิดรับนักศึกษาใหม่ 19 / ก.ย. / 2566
      กศน.ยกฐานะเป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ 19 / พ.ค. / 2566




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
กศน.ตำบลทุ่งต่อ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้วยยอด
ที่อยู่ อบต.ตำบลทุ่งต่อ หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เบอร์โทร 093-776-0789 , 083-633-9476
e-mail:kick2879@gmail.com


Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05