[x] ปิดหน้าต่างนี้
 



 

ปรัชญา 

         สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย

วิสัยทัศน์  กศน.ตำบลท่าพญา

       ประชาชนตำบลท่าพญาได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้และการมีอาชีพอย่างยั่งยืน


อัตลักษณ์ 
     
อยู่อย่างพอเพียง

เอกลักษณ์ 

      บริการดี

พันธกิจ กศน.ตำบลท่าพญา จัดและปฏิบัติตามพันธกิจ ดังนี้


1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
2. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างสรรค์และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน

3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายประสานงานภาคีเครือข่ายเพื่อในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมี งานทำ

4. พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ดำเนินตามนโยบายเร่งด่วนและนโยบายต่อเนื่องของ สำนักงาน กศน และงานเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ

7. จัดส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

8. กำกับดูแลตรวจสอบนิเทศภายใน ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

9. ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

10. ปฏิบัติงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย




เป้าประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม
ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ต้องการรับการศึกษาได้รับบริการอย่างทั่วถึงครอบคลุมและเป็นธรรม ร้อยละ 80

2. ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อนำไปสู่ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


ผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการของหน่วยงานและสถานศึกษา ร้อยละ 80

3. ภาคีเครือข่ายเข้ามาช่วยดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิต


ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมช่วยดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5

4. สถานศึกษานำเทคโนโลยีเพื่อการการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการบริหารองค์กรและจัดบริการการเรียนรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
สถานศึกษานำเทคโนโลยีเพื่อการการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการบริหารองค์กรและจัดบริการการเรียนรู้แก่ประชาชนร้อยละ 5

5. การจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
มุ้งเน้นจัดการศึกษาหลากหลายรูปแบบ สอดคล้องต่อความต้องการกลุ่มเป้าหมาย มีกลุ่มองค์กร ชมรมที่เข้มแข็งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนได้

6. แหล่งการเรียนรู้มีอยู่อย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มโอกาสและช่องทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชน
จัดตั้ง กศน.ตำบล ครบทุกตำบลและแต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล สนับสนุนสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีฯลฯ ให้ กศน.ตำบลทุกแห่งเพื่อพัฒนาประชาชนในชุมชนให้เป็นคนไทยยุคใหม่

7. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ สามารถจัดบริการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของตน โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ในวิชาหลัก
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60




ตัวชี้วัด

เชิงปริมาณ

1. ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุที่ต้องการรับ

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้รับบริการอย่างทั่วถึงครอบคลุมและเป็นธรรม

ร้อยละ 80

2. ผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการของหน่วยงาน และสถานศึกษา ร้อยละ 80

3. ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5

4. สถานศึกษาที่นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่งสารมาใช้ในการบริหารองค์กร และจัดบริการการเรียนรู้แก่ประชาชน ร้อยละ 5

5. ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้อันเป็นผลเนื่องมาจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5

6. ศูนย์การเรียนชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่พร้อมในการให้บริการการศึกษาตลอดชีวิต

ร้อยละ 85

7. บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ร้อยละ 85

8. สถานศึกษาที่นำแผนการนิเทศไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 85

เชิงคุณภาพ

ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่รับการบริการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร หรือกิจกรรมการเรียนรู้ และมีศักยภาพที่พึงประสงค์ มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการและความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสถานศึกษา และมีเครือข่าย/ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม/การจัดความรู้และกระบวนการเรียนรู้ ในการให้บริการของศูนย์การเรียนชุมชน ตลอดจนสถานศึกษาตามอัธยาศัย มีระบบการนิเทศที่มีคุณภาพ และมีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบต่อเนื่องและสามารถนำไปพัฒนาการบริหารจัดองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ



กลยุทธ์การดำเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 1 ลุยถึงที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

กลยุทธ์ที่ 2 จัดกิจกรรมหลากหลายโดนใจผู้เรียน

กลยุทธ์ที่ 3 ขยายแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยี

กลยุทธ์ที่ 4 ผนึกภาคีเครือข่ายและกระจายบริการการศึกษา

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ




เข้าชม : 1033
 
 
กศน.ตำบลท่าพญา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะเหลียน
ที่อยู่. หมู่ 4  ต.ท่าพญา อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เบอร์โทร. 086-2993085
e-mail:
Tipsu_28@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05