[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

แบบทดสอบ

วิชาอาเซียนศึกษา

 1.       อาเซียนคืออะไร

ก.      สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก

ข.      องค์กรแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออก

ค.      ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ง.       ประชาชาติมวลรวมแห่งทวีปเอเชียใต้

2.       สัญลักษณ์ของอาเซียนคืออะไร

ก.      รวงข้าว 10 รวง

ข.      รวงข้าว 11 รวง

ค.      ต้นข้าว 10 ต้น

ง.       ต้นข้าว 11 ต้น

3.       บุคคลที่ถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งอาเซียนแรกเริ่มคือใคร

ก.      ดร.ถนัด คอมันต์

ข.      นายศุภชัย พานิชยศักดิ์

ค.      ดร.มหาเดย์ มูฮัมหมัด

ง.       ดร.ยูซุปต์ แวดาโอ๊ะ

จ.       ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

4.       ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค

ก.      เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีการค้าอย่างเสรีมากขึ้น

ข.      เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำสินค้าของประเทศตนมาขายมากขึ้น

ค.      เพื่อให้ประเทศสมาชิกติดต่อค้าขายกันได้ง่ายขึ้น

ง.       เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมมือกันต่อต้านสินค้าของประเทศนอกกล่ม

5.       การประชุมประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเรียกว่า อะไร?

ก.      การประชุมอาเซียนซัมมิท

ข.      การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ค.      การจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก

ง.       การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม

6.       ข้อใดคือ อาเซียน (ASEAN)

ก.      Asia South East Association Nations

ข.      Association for South East Asian Nations

ค.      Asia South East Association National

ง.       Association for South East Asian National

7.       สมาชิกอาเซียนมีกี่ประเทศ

ก.      10 ประเทศ

ข.      12 ประเทศ

ค.      15 ประเทศ

ง.       20 ประเทศ

 

8.       อาเชียน บวก 3 มีตัวย่อว่าอย่างไร

ก.      APT

ข.      AST

ค.      ATS

ง.       ATP

9.       อาเซียนมี 3 เสาหลัก ยกเว้นข้อใด

ก.      ประชาคมการเมืองอาเซียน

ข.      ประชาคมความมั่นคงอาเซียน

ค.      ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ง.       ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

10.    ต้นเหตุการณ์กำเนิดอาเชียน ข้อใดไม่ใช่

ก.      ปัจจัยทางการเมือง กระบวนการให้ เอกราช/การปลดปล่อย (decolonization process)

ข.      การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

ค.      สงครามเย็น

ง.       การรวมตัวด้านเศรษฐกิจ

11.    ข้อใดเป็นผลความร่วมมือของอาเซียน

ก.      เขตการลงทุนอาเซียน

ข.      เขตการค้าเสรีอาเซียน

ค.      ความร่วมมือด้านบริการของอาเซียน

ง.       ถูกทุกข้อ

12.    เริ่มแรก อาเซียน (ASEAN)จัดตั้งโดยประเทศสมาชิก กี่ประเทศ

ก.      4 ประเทศ

ข.      5 ประเทศ

ค.      6 ประเทศ

ง.       7 ประเทศ

13.    ข้อใดจัดเป็นกลุ่มประเทศผู้ก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน

ก.      ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม

ข.      สิงคโปร์ พม่า มาเลเซีย ลาว อินโดนีเซีย

ค.      ไทย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน

ง.       ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

14.    ASEAN + 3 คือข้อใด

ก.      ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย

ข.      ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์

ค.      ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน

ง.       ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย

 

 

 

 

 

15.    ประเทศใดไม่ใช่กลุ่มสมาชิกอาเซียน

ก.      เมียนมาร์

ข.      สิงคโปร์

ค.      เวียดนาม

ง.       ติมอร์-เลสเต

16.    ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดของอาเซียนคือ

ก.      อินโดนีเซียร์

ข.      เมียนมาร์

ค.      กัมพูชา

ง.       เวียดนาม

17.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก.      มีการกำหนดเขตการค้าเสรีในอาเซียน

ข.      เศรษฐกิจหลักในอาเซียนคือ เกษตรกรรม

ค.      อาเซียนมุ่นเน้นพัฒนาเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว

ง.       สมาชิกอาเซียนคือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

18.    AFTA เกี่ยวข้องกับข้อใด

ก.      เขตการค้าเสรี

ข.      เขตปกครองพิเศษ

ค.      เขตส่งเสริมการท่องเทียว

ง.       เขตพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ

19.    ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการร่วมกลุ่มของอาเซียน

ก.      เพื่อพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ

ข.      เพื่อร่วมกันต่อต้านการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ

ค.      เพื่อส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง

ง.       เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศ

20.    ข้อใดเป็นความสำคัญของไทยที่มีต่ออาเซียน

ก.      เป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียน

ข.      เป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน

ค.      เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่อาเซียน

ง.       เป็นตัวแทนติดต่อค้าขายกับตะวันตก

21.    ข้อใดเป็นประโยชน์ของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน

ก.      เปลี่ยนมาใช้เงินตราสกุลเดียวกัน

ข.      ทำให้นักลงทุนไม่กล้ากักตุนสินค้า

ค.      มีอำนาจต่อรองทางการค้ากับต่างชาติเพิ่มขึ้น

ง.       ทำให้ชนพื้นเมืองมีสิทธิ์ในการลงทุนมากกว่าต่างชาติ

 

 

 

 

 

22.    ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN)

ก.      อาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข.      อาเซียนมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเพื่อให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพแสรีภาพ และความเป็นกลาง

ค.      อาเซียนประสบความสำเร็จในการขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและลดการค้ากับประเทศนอกภูมิภาค

ง.       อาเซียนประสบความสำเร็จในการยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค

23.    เพลงประจำอาเซียนคือเพลงอะไร

ก.      Sorry Sorry

ข.      Asian Games

ค.      Asia  air

ง.       The ASEAN Way

24.    คำขวัญของอาเซียนคือข้อใด

ก.      หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม

ข.      หนึ่งประชาคม หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งเศรษฐกิจ

ค.      หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม  หนึ่งวิสัยทัศน์

ง.       หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาชาติ

25.    ข้อใดกล่าวถึงลักสัญลักษณ์อาเซียนได้ถูกต้อง

ก.      ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อความมั่นคงและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ข.      ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ค.      ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ง.       ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพ

26.    ข้อใดกล่าวถึงสีของสัญลักษณ์อาเชียนไม่ถูกต้อง

ก.      สีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ข.      สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

ค.      สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์

ง.       สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

27.    สำนักงานใหญ่ของอาเซียนอยู่ที่เมืองใด

ก.      กรุงเทพ

ข.      ฮานอย

ค.      กรุงจาการ์ตา

ง.       กัวลาลัมเปอร์

 

 

 

 

28.    เลขาธิการสมาคมอาเซียนคือใคร

ก.      นายอภิสิทธิ  เวชาชีวะ

ข.      ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

ค.      มหาเธร์ มูฮัมหมัด

ง.       ซูซิโล บัมบัง ยุดโฮโยโน

29.    คนไทยคนแรกที่ได้เป็นเลขาธิการสมาคมอาเชียนคือใคร

ก.      แผน วรรณเมธี

ข.      นายชวน  หลีกภัย

ค.      ดร.ถนัด คอมันต์

ง.       นายจุรินทร์ พิสสุวรรณ

30.    ข้อใดเป็นความร่วมมือทางด้านสังคมในอาเซียน

ก.      จัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน

ข.      จัดโครงการแรกเปลี่ยนผู้บริหารประเทศ

ค.      ส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย

ง.       ชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ นับถือพุทธศาสนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใบความรู้

วิชาอาเซียนศึกษา

สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร[7]

ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวด ล้อมภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การ สร้างประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ร่วม กัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธ ทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม[8]

การขยายตัว

ดูบทความหลักที่ การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปี พ.ศ. 2519 ปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์[9] และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมา ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งห่างจากวันที่บรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว[10]

ต่อมา เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่เจ็ด ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538[11] ไม่นานหลังจากนั้น ลาวและพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่แปดและเก้าตามลำดับ ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540[12] ส่วนกัมพูชามีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่ถูกเลื่อนออกไปจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ จนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่สิบ หลังจากรัฐบาลกัมพูชามีความมั่นคงแล้ว[12][13]

ในช่วงพุทธทศวรรษ 2530 สมาชิกอาเซียนได้มีประสบการณ์ทั้งในด้านการมีประเทศสมาชิกเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความพยายามในการรวบรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวไปอีกขึ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 มาเลเซียได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้[14] โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) และภูมิภาคเอเชียโดยรวม[15][16] แต่ว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไป เพราะได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา[15][17] แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้

ใน พ.ศ. 2535 มีการลงนามใช้แผนอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่ เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้า ที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในจังหวัดเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่า การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้[18]

นอกเหนือจากความร่วมมือช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกแล้ว อาเซียนยังมีวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มีการลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในภูมิภาค[19]

หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง (อังกฤษ: Bali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะ ทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบ ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรใฝ่หา[20]

ผู้นำของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเธร์ โมฮัมหมัดแห่ง มาเลเซีย ตระหนักถึงความจำเป็นในการรวมกลุ่มประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2540 อาเซียนได้เริ่มตั้งก่อตั้งองค์การหลายแห่งในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว อาเซียนบวกสามเป็นองค์การแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตามด้วยการประชุมเอเชียตะวันออก ซึ่งมีอีกสามประเทศที่เข้าร่วมด้วย คือ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กลุ่มดังกล่าวมีแผนการที่เป็นรากฐานของประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งร่างขึ้นตามอย่างของประชาคมยุโรปซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพไปแล้ว หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบของนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการร่างกฎบัตรอาเซียนในอนาคต

ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มอาเซียนได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[21] ซึ่งกลุ่มอาเซียนได้มอบสถานภาพ "หุ้นส่วนการอภิปราย" ให้แก่สหประชาชาติเป็นการตอบแทน[22] นอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 23 กรกฎาคมปีนั้นเอง โจเซ รามุส-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก ได้ลงนามในความต้องการในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทาง การ และคาดหวังว่าการได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะได้รับ สถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์[23][24]

ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา[25] ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558[26][27] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553[28][29] นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพีคิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก[30][31]

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีการประเมินว่าความตกลงการค้าเสรีนี้จะเพิ่มจีดีพีใน 12 ประเทศขึ้นมากกว่า 48 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2543-2563[32][33] ต้นปี พ.ศ. 2554 ติมอร์ตะวันออกวาง แผนจะยื่นจดหมายขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกแก่สำนักเลขาธิการอาเซียนใน อินโดนีเซีย เป็นประเทศสมาชิกลำดับที่สิบเอ็ดของอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำใน กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซียแสดงท่าทีต้อนรับติมอร์ตะวันออกอย่างอบอุ่น[34][35][36]

 

 

ภูมิศาสตร์

ธรณีสัณฐานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) [37] ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาข่ากาโบราซีในประเทศพม่า ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังคลาเทศและปาปัวนิวกินี

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C[38] พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมันและพริกไทย[39]

วัตถุประสงค์

จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้[40]

1.       ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด

2.       รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ

3.       จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ

4.       ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ

5.       ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง

6.       ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

การประชุม

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่งประมุขของรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหา ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี[41] อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน[41] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไข ประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัว อักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[42]

การประชุมอาเซียนอย่างเป็นทางการมีกำหนดการสามวัน ดังนี้

  • ประมุขของรัฐสมาชิกจะจัดการประชุมภายใน
  • ประมุขของรัฐสมาชิกจะหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมกลุ่มอาเซียน
  • การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม" ประมุขของรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับประมุขของสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
  • การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียน-เซอร์" ประมุขของรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับประมุขของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างเป็นทางการ

 

วันที่

ประเทศเจ้าภาพ

สถานที่จัดการประชุม

ครั้งที่ 1

23-24 กุมภาพันธ์ 2519

ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย

บาหลี

ครั้งที่ 2

4-5 สิงหาคม 2520

ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย

กัวลาลัมเปอร์

ครั้งที่ 3

14-15 ธันวาคม 2530

ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์

มะนิลา

ครั้งที่ 4

27-29 มกราคม 2535

ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์

สิงคโปร์

ครั้งที่ 5

14-15 ธันวาคม 2538

ธงชาติของไทย ไทย

กรุงเทพมหานคร

ครั้งที่ 6

15-16 ธันวาคม 2541

ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เวียดนาม

ฮานอย

ครั้งที่ 7

5-6 พฤศจิกายน 2544

ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน

บันดาร์เสรีเบกาวัน

ครั้งที่ 8

4-5 พฤศจิกายน 2545

ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา

พนมเปญ

ครั้งที่ 9

7-8 ตุลาคม 2546

ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย

บาหลี

ครั้งที่ 10

29-30 พฤศจิกายน 2547

ธงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลาว

เวียงจันทน์

ครั้งที่ 11

12-14 ธันวาคม 2548

ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย

กัวลาลัมเปอร์

ครั้งที่ 12

11-14 มกราคม 25501

ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์2

เซบู

ครั้งที่ 13

18-22 พฤศจิกายน 2550

ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์

สิงคโปร์

ครั้งที่ 143

27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552

ธงชาติของไทย ไทย

ชะอำ, หัวหิน
พัทยา

ครั้งที่ 15

23-25 ตุลาคม 2552

ธงชาติของไทย ไทย

ชะอำ, หัวหิน

ครั้งที่ 16

8-9 เมษายน 2553

ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เวียดนาม

ฮานอย

ครั้งที่ 17

28-30 ตุลาคม 2553

ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เวียดนาม

ฮานอย

1 การประชุมเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 10-14 ธันวาคม เนื่องจากภัยไต้ฝุ่น

2 พม่าไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเนื่องจากความกดดันอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

3 การประชุมถูกเลื่อนออกไปสองครั้งเนื่องจากการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล

การประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก

ดูบทความหลักที่ การประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก

ผู้เข้าร่วมประชุมในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก:

  อาเซียน

  อาเซียนบวกสาม

  สมาชิกเพิ่มเติม

  ผู้สังเกตการณ์

การประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกเป็นการจัดการประชุมทั่วเอเชียซึ่ง จัดขึ้นทุกปีโดยผู้นำเอเชียตะวันออก 16 ประเทศ โดยหัวข้อการประชุมนั้นเกี่ยวข้องกับการค้า พลังงานและความมั่นคง จากการประชุมดังกล่าวถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างประชาคมเอเชียตะวันออก จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีหลังจากนั้น

ประเทศผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้นำชาติอาเซียน 10 ประเทศร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งมีประชากรรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก รัสเซียได้ ขอเสนอเข้าเป็นสมาชิกเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกด้วยเช่น กัน ในปี พ.ศ. 2548 ได้รับเชิญให้เป็นแขกในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกในครั้งที่หนึ่ง ด้วย[43]

การประชุม

ประเทศเจ้าภาพ

สถานที่จัดการประชุม

วันที่

หมายเหตุ

ครั้งที่ 1

ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย

กัวลาลัมเปอร์

14 ธันวาคม 2548

รัสเซียได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมด้วย

ครั้งที่ 2

ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์

เซบู

15 มกราคม 2550

ถูกเลื่อนมาจากวันที่ 13 ธันวาคม 2549
ได้มีการลงนามใน ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก

ครั้งที่ 3

ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์

สิงคโปร์

21 พฤศจิกายน 2550

ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ พลังงานและสิ่งแวดล้อม[44]
ข้อตกลงว่าด้วยการก่อตั้งสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก

ครั้งที่ 4

ธงชาติของไทย ไทย

พัทยา

10-12 เมษายน 2552

ถูกย้ายมาจากกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ

การประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรี

การประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรีเป็นการประชุมระหว่างประเทศเพื่อเชื่อม สัมพันธไมตรีระหว่างชาติอาเซียน ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องในวาระครบรอบการก่อตั้งความสัมพันธ์ทางการทูต ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนจะเป็นผู้เชิญชวนผู้นำชาติอาเซียนเพื่อประชุมเชื่อม สัมพันธไมตรีและความร่วมมือในอนาคต

ที่ประชุมกลุ่มอาเซียน

ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนเป็นการประชุมหลายฝ่ายอย่างเป็นทางการในภาคพื้น แปซิฟิก ในเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ประชุมดังกล่าวประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 27 ประเทศ; ออสเตรเลีย บังคลาเทศ แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี รัสเซีย ติมอร์ตะวันออก สหรัฐอเมริกาและศรีลังกา จุดประสงค์ของที่ประชุมเพื่อการปรึกษาหารือ นำเสนอความไว้วางใจและธำรงความสัมพันธ์ทางการทูตในกลุ่มสมาชิก ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2537[45][46]

การประชุมอื่น

นอกเหนือจากการประชุมที่กล่าวมาข้างต้น อาเซียนยังได้มีการจัดการประชุมอื่นขึ้นอีก[47] ประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนประจำปี[48] รวมไปถึงคณะกรรมการย่อย อย่างเช่น ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[49] การประชุมดังกล่าวมักจะมีหัวข้อการประชุมที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ความมั่นคงระหว่างประเทศ[47] สิ่งแวดล้อม[47][50] ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะเป็นรัฐมนตรีแทนที่จะเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลทั้งหมด

การประชุมอาเซียนบวกสาม

ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลักดันให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เกาหลีใต้ก็ได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ด้วยการผนึกสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนที่เรียกชื่อว่า "อาเซียนบวกสาม" (APT) แต่สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินหน้าจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน โดยกีดกันญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยความจงใจ แม้ว่าตามข้อตกลงในการจัดซื้อเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน จะมีแผนที่จะผนวกเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเข้ามาในภายหลังเพื่อเป็นอาเซียนบวกสาม แต่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาอันแน่นอน อันทำให้เขตการค้าเสรีอาเซียนบวกสามเป็นเรื่องค่อนข้างเลื่อนลอย

การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป

การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรปเป็นกระบวนการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ มีขึ้นครั้งแรกในปี 2538 เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกของสหภาพยุโรปและอาเซียน[51] โดยกลุ่มอาเซียนจะส่งเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมกับผู้แทนอีก 45 คน และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะผู้บริหารของมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือกันทางด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเอเชียกับยุโรป

 

การประชุมอาเซียน-รัสเซีย

เป็นการประชุมประจำปีระหว่างผู้นำของประเทศกลุ่มอาเซียนร่วมกับประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย

ประชาคมเศรษฐกิจ

กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ[52] การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558[53] ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ[52]

เขตการค้าเสรี

รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน[53] ซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อ ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542) [54][55]

เขตการลงทุนร่วม

เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:[56]

  • เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ
  • ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที
  • กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน
  • ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว
  • สร้างความโปร่งใส
  • ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันใน กิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม[56]

การแลกเปลี่ยนบริการ

ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548[57] ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้าน การแลกเปลี่ยนบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็น รายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว[58]

ตลาดการบินเดียว

แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทาง อากาศอาเซียน ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558[59] โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐ สมาชิกเป็นไปอย่างเสรี ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศใน ปัจจุบัน และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมด[59][60] เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิก[61] ในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาค[59][60] และภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมด[62]

ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน

อาเซียนได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ ทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดีย[63] ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกัน[64] ผลดีของข้อตกลงนั้น คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วย[65] ไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน[66]

กฎบัตรอาเซียน

ดูบทความหลักที่ กฎบัตรอาเซียน

ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามในข้อตกลงมลภาวะฟ้าหลัวระหว่างประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[67] แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก[68] เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549[69] และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ใน พ.ศ. 2550 ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

ความร่วมมือทางวัฒนธรรม

ความร่วมมือทางวัฒนธรรมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยสร้างภาพรวมในด้านต่างๆให้ดีขึ้น โดยการให้การสนับสนุน ทั้งการกีฬา การศึกษา และกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งได้แก่ความร่วมมือต่างๆดังนี้

รางวัลซีไรต์

ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เพื่อมอบรางวัลแก่นักประพันธ์หรือนักเขียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้สร้างผลงานที่ดีมีชื่อเสียง ที่ประสบความสำเร็จในช่วงชีวิตของนักเขียนนั้นๆ ผลงานนั้นเป็นผลงานเขียนทุกประเภท ทั้งวรรณกรรมต่างๆ เรื่องสั้น กลอน รวมไปถึงผลงานทางศาสนา ซึ่งจะมีการจัดงานที่กรุงเทพมหานคร โดยมีเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ไทยเป็นผู้พระราชทานรางวัล

สถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูงแห่งอาเซียน

เป็นองค์การเอกชนที่จัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2499 เพื่อที่จะพัฒนาระดับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ทั้งสถาบันการศึกษาระดับสูง การสอน การบริการสาธารณะที่ดีได้มาตรฐานที่สูงขึ้น โดยสอดคล้องไปกับวัฒนธรรมและพื้นที่นั้นๆ

อุทยานมรดก

ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527และเริ่มใหม่อีกรอบในปี พ.ศ. 2547 เป็นการรวมรายชื่อของอุทยานแห่งชาติทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ ปัจจุบันมีรวมทั้งหมด 35 แห่ง

การจัดการแข่งขันกีฬา

ซีเกมส์

ซีเกมส์

ฟุตบอลแชมเปียนชิพ

อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ

พาราเกม

อาเซียนพาราเกมส์

 

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

อาเซียนนั้นถูกวิพากย์วิจารณ์ในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องเด่นๆดังเช่น เหตุการณ์ในพม่าและนางอองซาน ซูจีจากสหภาพยุโรป หรือปัญหาความวุ่นวายในอาเซียน ที่ยาวนานและทำให้ถูกมองในแง่ลบเป็นอย่างมาก

สัญลักษณ์

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสี เหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง



เข้าชม : 14696
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง 
หมู่ 5  ตำบลคลองปาง  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง 92160 โทรศัพท์ 075-286275 

T_tavan@windowslive.com
สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05