๑. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๑. ทานญฺจ ยุทฺธญฺจ สมานมาหุ.
ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน
สํ.ส. ๑๕ / ๒๙ ขุ.ชา. อฎฺฐก. ๒๗ / ๒๔๙.
๒. นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา.
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี.
ขุ. วิมาน. ๒๖ / ๘๒.
๓. วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ.
การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ
สํ. ส. ๑๕ / ๓๐. ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗ / ๒๔๙. เปต. ๒๖ / ๑๙๗.
๔. พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ. ทานํ.
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน.
ขุ. ชา. ๒๕ / ๓๘.
๕. ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ.
ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้.
สํ.ส. ๑๕ / ๓๑๖.
๖. ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู.
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒ / ๔๓.
๗. ททมาโน ปิโย โหติ.
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒ / ๔๔.
๘. สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ.
ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒ / ๔๕.
๙. มนาปทายี ลภเต มนาปํ
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒ / ๕๕.
๑๐. เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ.
ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒ / ๕๖.
๑๑. อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ.
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒ / ๕๖.
๑๒. ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ.
เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น.
ที.มหา. ๑๐ / ๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕ / ๒๑๕.
๑๓. ทเทยฺย ปุริโส ทานํ.
คนควรให้ของที่ควรให้
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗ / ๒๑๗.
๒. ศีลวรรค คือ หมวดศีล
๑. สีลํ ยาว ชรา สาธุ.
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา.
สํ. ส. ๑๕ / ๕๐
๒. สุขํ ยาว ชรา สีลํ.
ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา.
ขุ. ธ. ๒๕ / ๕๙.
๓. สีลํ กิเรว กลฺยาณํ.
ท่านว่าศีลนั่นเทียว เป็นความดี
ขุ. ธ. ๒๕ / ๕๙.
๔. สีลํ โลเก อนุตฺตรํ.
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ขุ.ชา. เอก. ๒๗ / ๒๘
๕. สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ.
ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน.
นัย- ขุ. อุ. ๒๕ / ๑๗๘.
๖. สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร.
ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี.
สํ. ส. ๑๕ / ๑๐๖. ขุ. ธ. ๒๕ / ๖๔.
๗. สญฺญมโต เวรํ น จียติ.
เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น.
ที. มหา. ๑๐ / ๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕ / ๒๑๕.
๘. สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี.
ปราชญ์พึงรักษาศีล.
ขุ. อิติ. ๒๕ / ๒๘๒.
๓. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑. สติ โลกสฺมิ ชาคโร.
สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก.
สํ.ส. ๑๕ / ๖๑.
๒. สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา.
สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
ว.ว.
๓. สติมโต สทา ภทฺทํ.
คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ.
สํ.ส. ๑๕ / ๓๐๖.
๔. สติมา สุขเมธติ.
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข.
สํ. ส. ๑๕ / ๓๐๖.
๕. สติมโต สุเว เสยฺโย.
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน.
สํ. ส. ๑๕ / ๓๐๖.
๖. รกฺขมาโน สโต รกฺเข.
ผู้รักษา ควรมีสติรักษา.
ส. ส.
๔. ปาปวรรค คือ หมวดบาป.
๑. มลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓ / ๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕ / ๔๗.
๒. ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.
ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๐.
๓. ปาปานํ อกรณํ สุขํ.
การไม่ทำบาป นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕ / ๕๙.
๔. ปาปํ ปาเปน สุกรํ.
ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย.
วิ. จุล. ๗ / ๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕ / ๑๖๘.
๕. ปาเป น รมตี สุจิ.
คนสะอาดไม่ยินดีในความชั่ว.
วิ. มหา. ๕ / ๓๔. ขุ. อุ. ๒๕ / ๑๖๖.
๖. สกมฺมุนา หญฺญติ ปาปธมฺโม.
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน.
ม. ม. ๑๓ / ๔๑๓. ขุ. เถร. ๒๖ / ๓๗๙.
๗. ตปสา ปชหนฺติ ปาปกมฺมํ.
สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ.
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗ / ๒๔๕.
๘. ปาปานิ กมฺมานิ กโรนฺติ โมหา.
คนมักทำบาปกรรมเพราะความหลง.
ม. ม. ๑๓ / ๔๑๓. ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗ / ๓๘๐.
๙. นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต.
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ.
ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๑.
๑๐. ธมฺมํ เม ภณมานสฺส น ปาปมุปลิมฺปติ.
เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗ / ๒๒๔.
๑๑. นตฺถิ อการิยํ ปาปํ มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน.
คนมักพูดมุสา จะไม่พึงทำความชั่ว ย่อมไม่มี.
นัย- ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๘. นัย - ขุ. อิติ. ๒๕ / ๒๔๓.
๑๒. ปาปานิ ปริวชฺชเย.
พึงละเว้นบาปทั้งหลาย.
ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๑.
๑๓. น ฆาสเหตุปิ กเรยฺย ปาปํ.
ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน.
นัย- ขุ. ชา. นวก. ๒๗ / ๒๖๒.
๕. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
๑. ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ.
บุญอันโจรนำไปไม่ได้.
สํ. ส. ๑๕ / ๕๐.
๒. ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ.
บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต.
ขุ. ธ. ๒๕ / ๕๙
๓. สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๐.
๔. ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ.
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า.
สํ. ส. ๑๕ / ๒๖ องฺ. ปญจก. ๒๒ / ๔๔. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗ / ๒๙๔.
๕. ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ
ควรทำบุญอันนำสุขมาให้.
สํ. ส. ๑๕ / ๓. องฺ. ติก. ๒๐ / ๑๙๘.
|