[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

ใบความรู้วิชาเลือก

วิชาเกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์พยายามประยุกต์กลไกและวัฐจักรธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ-สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย[1]

แนวคิด

แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การบริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใด ชนิดหนึ่งสูงสุด โดยการพัฒนาเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการให้ธาตุอาหารพืชและป้องกันกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาจมีผลในการ ทำให้พืชที่ปลูกมีผลผลิตลดลง แนวคิดเช่นนี้เป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนฐานการมองว่า การเพาะปลูกไม่ได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ดังนั้นการเลือกชนิดและวิธีการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ มุ่งเฉพาะแต่การประเมินประสิทธิผลต่อพืชหลักที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำ การผลิต ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จะประสบความสำเร็จได้ เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้กลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ

จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร, การประหยัดพลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก (positive management) และการจัดการเชิงบวกนี้เองที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างอย่างสำคัญจากการ เกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีแบบปล่อยปะละเลย (ที่มักอ้างว่า เป็นการเกษตรตามแบบธรรมชาติ) หรือเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพิษที่เฟื่องฟูในบ้านเรามานานหลายปี

เนื่องจากเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการทำฟาร์มเชิง สร้างสรรค์ (เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา) ดังนั้นเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยว กับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการ แห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต, ศึกษา, วิเคราะห์-สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ-สังคมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของตัว เองอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์มุ่งหวังที่จะสร้างความมั่นคงในการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม วิถีการผลิตของเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการผลิตที่เกษตรกรต้องอ่อนน้อมและเรียน รู้ในการดัดแปลงการผลิตของตนให้เข้ากับวิถีธรรมชาติ อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทำการเกษตร ดังนั้นวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของสังคมไทย

แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์ก็ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อการค้า เพราะตระหนักว่าครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งพาการจำหน่ายผลผลิต เพื่อเป็นรายได้ในการดำรงชีพ ขบวนการเกษตรอินทรีย์พยายามส่งเสริมการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้งใน ระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการตลาดท้องถิ่นอาจมีรูปแบบที่หลากหลายตามแต่เงื่อนไขทางสภาพเศรษฐกิจและ สังคมของท้องถิ่นนั้น เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตร (Community Support Super Mai Agriculture - CSSMA) หรือระบบอื่นๆ ซึ่งมาจากปะเทศใดในโลก ที่มีหลักการในลักษณะเดียวกัน ส่วนตลาดที่ห่างไกลออกไปจากผู้ผลิต ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้พยายามพัฒนามาตรฐานการผลิตและระบบการตรวจสอบรับรอง ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่า ทุกขั้นตอนของการผลิต แปรรูป และการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาคุณภาพของผลผลิตให้เป็นธรรมชาติเดิมมากที่สุด

แปลงผักเกษตรอินทรีย์ของ ไร่ปลูกรักจังหวัดราชบุรีที่ให้นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเก็บได้ตามชอบใจ

โดยสรุปจะเห็นว่า เกษตรอินทรีย์เป็นระบบเกษตรที่มีลักษณะเป็นองค์รวม ที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ โดยแยกออกจากความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร

 หลักการเกษตรอินทรีย์

หลักการสำคัญ 4 ข้อของเกษตรอินทรีย์ คือ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจใส่ (health, ecology, fairness and care)[2]

(ก) มิติด้านสุขภาพ เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก

สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของระบบนิเวศ การที่ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร

สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเองจากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุข ภาวะที่ดี

บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภค ต่างก็มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต ทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กสุดในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เกษตรอินทรีย์จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ

(ข) มิติด้านนิเวศวิทยา เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฐจักรแห่ง ธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฐจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น

หลักการเกษตรอินทรีย์ในเรื่องนี้ตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ที่มองเกษตร อินทรีย์ในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต ดังนั้น การผลิตการเกษตรจึงต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของ ธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศสำหรับให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของการปลูกพืช เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะต้องใส่ใจกับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศของบ่อเลี้ยง

การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า จะต้องสอดคล้องกับวัฐจักรและสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าวัฐจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจจะมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นนิเวศได้ ดังนัน การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรม และเหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำ การหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน

ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ควรสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร โดยการออกแบบระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสม การฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่น และการสร้างความหลากหลายทั้งทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการเกษตร ผู้คนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การแปรรูป การค้า และการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ควรช่วยกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของภูมินิเวศ สภาพบรรยากาศ นิเวศท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศ และน้ำ

(ค) มิติด้านความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต

ความเป็นธรรมนี้รวมถึงความเท่าเทียม การเคารพ ความยุติธรรม และการมีส่วนในการปกปักพิทักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่ ทั้งในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

ในหลักการด้านนี้ ความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการจัดการผลผลิตเกษตร อินทรีย์ในทุกระดับควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรม ทั้งเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้า และผู้บริโภค ทุกผู้คนควรได้รับโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนช่วยในการรักษาอธิปไตยทางอาหาร และช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน เกษตรอินทรีย์ควรมีเป้าหมายในการผลิตอาหารและผลผลิตการเกษตรอื่นๆ ที่เพียงพอ และมีคุณภาพที่ดี

ในหลักการข้อนี้หมายรวมถึงการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสภาพการเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการ ทางธรรมชาติของสัตว์ รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของสัตว์อย่างเหมาะสม

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการผลิตและการบริโภคควรจะ ต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรม ทั้งทางสังคมและทางนิเวศวิทยา รวมทั้งต้องมีการอนุรักษ์ปกป้องให้กับอนุชนรุ่นหลัง ความเป็นธรรมนี้จะรวมถึงว่า ระบบการผลิต การจำหน่าย และการค้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องโปร่งใส มีความเป็นธรรม และมีการนำต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาเป็นต้นทุนการผลิตด้วย

(ง) มิติด้านการดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิด ชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย

เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่มีพลวัตรและมีชีวิตในตัวเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการผลิต แต่ในขณะเดียวกันจะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวด ล้อม ดังนี้น เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ จะต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจัง และแม้แต่เทคโนโลยีที่มีการใช้อยู่แล้ว ก็ควรจะต้องมีการทบทวนและประเมินผลกันอยู่เนืองๆ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรายังไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างดีพอเกี่ยวกับระบบ นิเวศการเกษตร ที่มีความสลับซับซ้อน ดังนั้น เราจึงต้องดำเนินการต่างๆ ด้วยความระมัดระวังเอาใจใส่

ในหลักการนี้ การดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการ การพัฒนา และการคัดเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในเกษตรอินทรีย์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจว่า เกษตรอินทรีย์นั้นปลอดภัยและเหมาะกับสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประสบการณ์จากการปฏิบัติ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมถ่ายทอดกันมาก็อาจมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เช่นกัน เกษตรกรและผู้ประกอบการควรมีการประเมินความเสี่ยง และเตรียมการป้องกันจากนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ และควรปฏิเสธเทคโนโลยีที่มีความแปรปรวนมาก เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีต่างๆ จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและระบบคุณค่าของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ และจะต้องมีการปรึกษาหารืออย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม

 

 ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์

จากรายงานการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าอันดับ 4 ของโลก ใช้ฮอร์โมนอันดับที่ 4 ของโลก ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์เพื่อใช้ในการเพาะ ปลูก ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตทางตรงที่เกษตรกรต้องแบกรับ ส่งผลให้ต้องมีการลงทุนต่อไร่สูงและต้องใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนเรื้อรัง มีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้น เกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

การเกษตรสมัยใหม่ หรือเกษตรเชิงเดี่ยวก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากมายดังนี้

1.       ความอุดมสมบูรณ์ของดินถูกทำลายต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน

2.       ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม

3.       เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาด ทำให้เพิ่มความยุ่งยากในการป้องกันและกำจัด

4.       แม่น้ำและทะเลสาบถูกปนเปื้อนด้วยสารเคมี และความเสื่อมโทรมของดิน

5.       พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้เกิดภัยจากสารพิษสะสมในร่างกายของผู้บริโภค

6.       เกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศ สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากจะเยียวยาให้กลับมาคืนดังเดิม

นอกจากนั้น การเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย จึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมาก และต่อเนื่องทำให้มีสารตกค้างในเนื้อสัตว์และไข่ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว โรควัวบ้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนสัญญาณอันตรายที่บอกให้รู้ว่า การเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมไม่เพียงเป็นการทรมานสัตว์ แต่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษย์ด้วย [3]

 

 

 

..........................................................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบทดสอบวิชาเลือก

เกษตรอินทรีย์

ข้อที่  1. ข้อใดคือข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม

ก.  สุขภาพของผู้ผลิต

ข . ช่องทางการจัดจำหน่าย

                ค . ความต้องการพืชอินทรีย์

                ง . ผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา

ข้อที่  2.ทำเลที่เหมาะสมในการปลูกพืชคือข้อใด

                . ใกล้ที่พัก น้ำสะอาด หรือน้ำกร่อยเพื่อสะสมธาตุอาหาร

                .  ใกล้ที่พัก ดินดี  ควรเป็นดินเหนียวเพื่อเก็บกักน้ำไว้

                ใกล้ทางคมนาคม น้ำดี ดินอุดม ธาตุอาหารสูง เป็นที่โล่งน้ำไม่ขัง      

. ใกล้ทางคมนาคม ควรมีน้ำขังหรือล้อมรอบแปลงไว้เพื่อป้องกันการขาดน้ำ               

ข้อที่  3.ควรปลูกพืชชนิดใดที่ช่วยป้องกันไส้เดือนฝอยรากปม

ก . ยี่โถ

ข.  มะลิ

ค.  กุหลาบ

ง.  ดาวเรือง

ข้อที่  4.ข้อใดเป็นประโยชน์จากเชื้อราไตรโครเดอร์ม่า

                . ป้องกันโรคเน่าของพืช                       

                . ป้องกันการเป็นโรคแห้ง        

                . ป้องกันการงอกของเมล็ด                

                . ป้องกันการขาดสารอาหาร

ข้อที่  5.พืชตระกูลถั่วมีธาตุอาหารใดมากที่สุด

                ก. แคลเซียม

                ข. ไนโตรเจน

                ค. ฟอสฟอรัส

                ง. โพแทสเซียม

ข้อที่  6.ปัญหาใดเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของเกษตรกรไทยในปัจจุบัน

ก.       ทุน

ข.       ที่ดิน

ค.       การใช้ปุ๋ย

ง.       การใช้สารเคมี

ข้อที่  7.ข้อใดเป็นการปรับปรุงดินให้มีความสมบูรณ์

ก.    การอนุรักษ์ต้นพืชและใส่ปุ๋ยเคมี

ข.    การปลูกพืชหมุนเวียน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์

ค.    การปลูกพืชหมุนเวียนและใส่สารเคมีลงในดิน

ง.    การเผาฟางและใส่สารเคมีประเภทยูเรียลงในดิน

ข้อที่  8.ข้อใดเป็นประเภทธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช

ก.    ธาตุอาหารอิสระ  ธาตุอาหารหลัก  ธาตุอาหารรอง

ข.     ธาตุอาหารรอง  ธาตุอาหารหลัก  ธาตุอาหารเสริม

ค.    ธาตุอาหารเสริม ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารอิสระ

ง.    ธาตุอาหารอิสระ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม

ข้อที่  9.การไถกลบพืชเพื่อทำปุ๋ยพืชสดควรทำในระยะใดของพืช

ก.    ระยะต้นกล้า

ข.    ระยะกำลังออกดอก

ค.    ระยะที่เก็บเกี่ยวได้แล้ว

ง.     ระยะที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว

ข้อที่  10.การเตรียมดินก่อนปลูกพืชควรมีลักษณะอย่างไร

ก.    ใส่น้ำให้ท่วมขังแล้วสูบออก

ข.    ใส่ปุ๋ยยูเรียก่อนทำการปลูกเสมอ

ค.    โรยปูนขาวก่อนปลูกพืชและใส่ปุ๋ยเคมีลงไป

ง.     ดูจากสภาพื้นที่ เนื้อดิน ปัญหาดิน ชนิดพืชที่ปลูก

 

 

 

ข้อที่  11.การปลูกพืชในข้อใดช่วยลดการเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ช้าลง

                ก.    การปลูกพืชหมุนเวียน

                ข.    การปลูกพืชตามแนวลาดชันของพื้นที่

ค.    การปลูกพืชชนิดเดียวกัน ซ้ำ ๆ กันทุกปี

ง.     การปลูกพืชที่ถาวรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน

ข้อที่  12.ข้อใดคือ เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน

ก.    การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ                       

                ข.  การใช้พลังงานรังสี

                ค.  การต่อเชื้อราไตรโครเดอร์ม่า           

                ง.   การผลิตน้ำสมุนไพรยาเส้นกับสบู่

ข้อที่  13.ความเป็นกรดเป็นด่างของดินในข้อใดที่เหมาะสม

ก.   5.5 - 6.5

ข.   7.5 - 8.5

ค.   3.5 4.5

ง.   9.5 10.5 

ข้อที่  14.ลักษณะในข้อใดที่จัดว่าเป็นผลเสียของปุ๋ยอินทรีย์

                ก.  มีกลิ่นเหม็น

ข.  การระบายน้ำไม่ดี

ค.  ใช้มากทำให้ดินเสื่อม

ง.  ใส่มากเป็นอันตรายจากพืช

ข้อที่  15.ในการเตรียมการปลูกพืชทำไมจึงต้องขุดดินตากแดดไว้ก่อนทำการย่อยดิน.

ก . เพื่อให้ดินแห้ง

ข . เพื่อให้ย่อยดินได้ง่าย

ค.  เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน

ง . เพื่อเพิ่มธาตุอาหารลงไปในดิน

 

 

ข้อที่  16.การปลูกแบบเกษตรธรรมชาติ หมายถึงอะไร

                ก.  การเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยคอก

ข.  การเกษตรที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง

ค.  การเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด                    

ง.  การเกษตรที่เป็นการทำลายทรัพยากร        

ข้อที่  17.ข้อใดคือ ผลจากการใช้เกษตรอินทรีย์

                ก. ผักไร้เมล็ด

                ข. ผักไร้สารพิษ

                ค. ผักปลอดสารพิษ

                ง. ผักไร้ กิ่ง ก้าน ใบ

ข้อที่  18.ประเทศใดมีการทำเกษตรอินทรีย์มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศไทย

                ก. จีน

                ข. ญี่ปุ่น

                ค. ออสเตรเลีย

                ง. สหรัฐอเมริกา

ข้อที่  19.ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ใดที่มีการส่งออกเป็นสิ่งแรก

                ก. ข้าวเจ้า

                ข. ข้าวโพด

                ค. กล้วยหอม

                ง. มันสำปะหลัง

ข้อที่  20.ข้อใด คือ ปัญหาในการทำเกษตรอินทรีย์

ก. การกำจัดวัชพืชใช้เตรียมดิน

                ข. ใช้ฮอร์โมนที่ได้จากธรรมชาติ

                ค. ต้องเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างน้อย 3 ปี       

ง. ผลผลิตจะไม่ออกทั้งปี แต่ออกตามฤดูกาล

ข้อที่  21.การวางแผนการจัดการเกษตรอินทรีย์ มีประโยชน์ อย่างไร

                ก. ป้องกันสารพิษจากภายนอก

                ข. ป้องกันภายในจัดระบบการระบายน้ำ

                ค. ช่วยจัดการระบบเกษตรอินทรีย์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

                ง. เลือกฤดูปลูกที่เหมาะสมใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค-แมลง

ข้อที่  22.สารชนิดใดที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการปรับปรุงดินในการทำเกษตรอินทรีย์

                ก. สารเร่งการเจริญเติบโต

                ข. ดินอินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง

                ค. ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ จากมูลสัตว์    

ง. อุจจาระและปัสสาวะ ที่ได้รับการหมักแล้ว

ข้อที่  23.เกษตรอินทรีย์  หมายถึงข้อใด

ก.  ผักที่ระบบการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ  ทั้งสิ้น                                                              

ข.  สารที่มีส่วนประกอบของธาตุ n p k หรือสารอื่นๆ ที่เป็นธาตุอาหารของพืช

ค.  วัสดุที่ช่วยปรับปรุงสภาพทางเคมี  ชีวภาพและการภาพของดิน  ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต

ง.  ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ

ข้อที่  24.การทำสวนผักในปัจจุบันนี้สิ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ก. ปุ๋ยเคมี                                                              

ข. ปุ๋ยหมัก
ค. ปุ๋ยคอก                                                             

ง.  สารเคมี

ข้อที่  25.ฮิวมัสเกิดจากการสลายตัวของวัตถุใด

ก. ดิน                                    

ข. หินและแร่
ค. อินทรียวัตถุ                                                     

ง. วัตถุต้นกำเนิดดิน

ข้อที่  26.เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพืชในข้อใดที่ช่วยบำรุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณ์
                ก.   การปลูกไม้ยืนต้น                                        

ข.   การปลูกหญ้าแพรก
                ค.   การปลูกพืชที่มีรากแก้ว                                              

ง.   การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

ข้อที่  27.การกำจัดซากพืชซากสัตว์โดยวิธีการฝังทำให้เกิดผลดีในเรื่องใดมากที่สุด

ก. ประหยัดเวลา                                  

ข. เพิ่มปุ๋ยให้แก่ดิน
ค. ป้องกันโรคต่าง ๆ                                          

ง. ไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวน

 

ข้อที่  28.แสงมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของพืชอย่างไร

ก.  ทำให้พืชแย่งอาหารกัน 

ข.  ทำให้พืชหายใจได้ง่ายขึ้น
ค.  ทำให้พืชสร้างคลอโรฟิลล์         

ง.  ทำให้รากของพืชดูดแร่ธาตุในดินได้        

ข้อที่  29.ดินในข้อใดไม่เหมาะที่จะนำมาเพาะปลูก

                ก. เนื้อดินละเอียด แน่น มีสีค่อนข้างเขียว         

ข. เนื้อดินร่วน สีคล้ำ มีเศษซากพืชซากสัตว์

ค. เม็ดดินหยาบ สีดำ มีเศษใบไม้จำนวนมาก   

ง. เนื้อดินละเอียด มีรูพรุนมาก เศษกิ่งไม้ใบไม้เล็กน้อย

ข้อที่  30.ในภาคใต้ของไทยมักจะมีฝนตกชุกเกษตรกรจึงปลูกพืชคลุมดิน  เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร

ก.  รากพืชช่วยอุ้มน้ำในดินได้ดี

ข.  ลดความเค็มในดินให้น้อยลง     

ค.  ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน               

ง.  ปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น



เข้าชม : 17306
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง 
หมู่ 5  ตำบลคลองปาง  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง 92160 โทรศัพท์ 075-286275 

T_tavan@windowslive.com
สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05