[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
รายงานสถานการณ์รายวัน เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

จันทร์ ที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2557


 รายงานการดําเนินงานตอบสนองเหตุการณ์ระบาดของโรคตดเชื้อไวรสอั โบล่า 
ในภูมิภาคแอฟริกาตะวนตก  
วันที่ 21 สิงหาคม 2557 
รวบรวมโดย กระทรวงสาธารณสุข
 
ความเป็นมา
 โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เริ่มมีการระบาดในประเทศกินีไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 
เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันเกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคทมี่ ีความรุนแรงสงู อัตราตายประมาณร้อยละ 60 – 90 
การติดต่อผ่านทางเลือด และสารคัดหลั่งของคน และสัตว์ป่วย ไม่ติดต่อทางหายใจหรือยุงพาหะ โรคนี้ไม่มีวัคซนี
ป้องกัน และยังไม่มียารกษาโดยเฉพาะ ั (ขณะนี้กําลงอย ั ู่ระหว่างการศึกษาวิจัย).และพบว่าเริ่มมีการระบาดไปยัง
ประเทศใกล้เคยงี ได้แก่ ไนจีเรีย ได้มีการประเมินสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และพบว่าการ
ระบาดนี้ เป็นเหตุการณ์การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และเป็นความเสี่ยงด้านสาธารณสุขต่อทุก
ประเทศทั่วโลก ผลกระทบในการแพร่ระบาดระหว่างประเทศรุนแรง และมีความจําเป็นยิ่งที่ต้องมีการร่วมมือกัน
ระหว่างประเทศเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรค 
สถานการณ์ในต่างประเทศ
 ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – 20 สิงหาคม 2557 พบผู้ป่วยสะสมรวม
2,473 ราย เสียชีวิต 1,350 ราย ใน 4 ประเทศ ได้แก่ กินีไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และไนจีเรีย โดยเป็นผู้ป่วย
ประเทศกินี 579 ราย (เสียชีวิต 396 ราย) ไลบเรี ีย 972 ราย (เสียชีวิต 576 ราย) เซียร์ราลีโอน 907 ราย (เสียชีวิต
374 ราย) และไนจีเรีย 15 ราย (เสียชีวิต 4 ราย) ทั้งนี้ในช่วงระหว่างวันที่ 17 – 18 สิงหาคม 2557 มีการรายงาน
ผู้ป่วยรายใหม่ 221 ราย และเสียชีวิต 106 ราย โดยพบรายงานจากประเทศกินีไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และไนจีเรีย 
สําหรับการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola Virus Disease) ในประเทศไทย จากรายงาน 
สํานักระบาดวิทยา ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2557 ยังไม่พบรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 
องค์การอนามัยโลกได้ออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557 ประกาศให้การระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health 
Emergency of.International.Concern.;.PHEIC.และได้ออกคําแนะนําให้มีการจํากัดการเดินทางในประเทศที่มีการ
ระบาด ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงหรือพบผู้ป่วยโดยที่ผู้ป่วยเดินทางไปจากประเทศที่มีการระบาด รวมทั้งประเทศที่
มีพรมแดนติดกับประเทศที่มีการระบาดส่วนประเทศอื่นๆยังไม่มีการห้ามเดินทางหรือการค้า ยกเว้นการจํากัดการ
เดินทางที่เกี่ยวข้องกับมาตรการที่ได้แจ้งไว้ 
ในวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2557 องค์การอนามัยโลก มีการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญ ประเด็นเกี่ยวกับ
จริยธรรม และสิทธิมนุษย์ชน เรื่อง การทดลองยารักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งมติที่ประชุมได้อนุญาตให้มี
การใช้ยาหรือวัคซีนที่ยังไม่ได้มีการทดลองใช้ในผู้ป่วย สําหรับการรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยที่
อาจจะยังไม่ทราบถึงประสิทธิภาพ หรือผลข้างเคียงของการใช้ยาหรือวัคซีน แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการ
ทดลองยาและวัคซีนต่อไป 
ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (US – CDC) ชี้แจงว่า ขณะนี้กําลังมีการพัฒนายารักษา
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาที่ชื่อ.ZMapp.ซึ่งเป็นตัวแอนติบอดี 3 ชนิด เพื่อจับกับโปรตีนของเชื้อไวรัสอีโบลา ทั้งนี้ 
ยาดังกล่าว ยังไม่สามารถระบุได้ว่า มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้จริงหรือไม่- 2 - 
ข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา รายงานว่าประเทศญี่ปุ่นยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการอาหารและ
ยาเพื่อขอทดลองใช้ยาฟาวิพิราเวียร์รักษาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในคน ซึ่งได้มีการทดลองใช้ในสัตว์ทดลองแล้ว
ได้ผล ซึ่งคิดค้นได้ตั้งแต่ปี 2541 และพบว่าสามารถหยุดยั้งการเจริญของเชื้อไวรัสได้
มาตรการป้องกันควบคุมโรคของไทย
 มีการดําเนินการซึ่งสอดคล้องกับคําแนะนําตามประกาศขององค์การอนามัยโลกตามประกาศภาวะฉุกเฉิน
ด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern; PHEIC) โดยดําเนินการ
ดังนี้ 
1. การจัดระบบเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและสัตว์
 1.1 กรมควบคุมโรคดําเนินการติดตามสถานการณ์ร่วมกับองค์การอนามัยโลก ประเมินความเสี่ยงอย่าง
ต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มมีการระบาด
 1.2 ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ดําเนินการคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่พบโรค โดย
การซักประวัติสุขภาพ วัดอุณหภูมิร่างกาย ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
- จํานวนผู้โดยสารที่ผ่านการคัดกรอง ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2557 จํานวน 27 ราย จากท่าอากาศยาน
สุวรรณภูมิ 26 ราย ดอนเมือง 1 ราย โดยไม่พบผู้ป่วย ทั้งนี้เป็นผู้ที่เดินทางออกมาจากประเทศที่มีการระบาด
ในช่วง 21 วัน จํานวน 17 ราย และเป็นผู้ที่เดินทางออกมาจากประเทศที่มีการระบาดเกิน 21 วัน จํานวน 10 ราย 
- จํานวนผู้เดินทางที่ผ่านการคัดกรองสะสมตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน – 20 สิงหาคม 2557 รวมทั้งสิ้น 653 ราย
- มีการติดตามผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่พบการระบาดของโรคทุกวัน จนกว่าจะครบ 21 วัน
1.3 กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการไข้๓๘ องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับมีประวัติ
เดินทางกลับมาจากประเทศที่พบผู้ป่วยในช่วง ๒๑ วันก่อนเริ่มป่วย โดยให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อสอบสวนและ
เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทันทีซึ่งขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
 1.4 กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีคําเตือนประชาชนไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปยังประเทศที่เกิด
โรค หากจําเป็นต้องเดินทางไปให้ลงทะเบียนการเดินทางตามมาตรการของกระทรวงการต่างประเทศ รายละเอียด
www.thaiembassy.org 
 1.5 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวังสัตว์ที่มาจากแอฟริกา ไม่พบมีการนําสัตว์เข้า
มายังประเทศไทย
1.6 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชะลอการนําเข้าสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์จากประเทศที่
มีรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และมีการควบคุมการนําเข้าทั้งทางท่าอากาศยาน ท่าเรือ และ
ชายแดน
 1.7 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ให้ความรู้เรื่องอีโบลา แก่อสม. เพื่อสื่อสารกับประชาชน
2. การดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล สถานพยาบาลมีห้องแยกผู้ป่วยสําหรับการติดเชื้อทางสารคัดหลั่ง
และการติดเชื้อทางเดินหายใจทุกจังหวัด และให้ปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลเหมือนผู้ป่วย
โรคติดต่ออันตรายสูง เช่น โรคซาร์ส อย่างเคร่งครัด และตามคําแนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสอีโบ
ลา ผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง สําหรับบุคลากรและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ของสถาบันบําราศนราดูร ส่วนการรักษา
ผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามแนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษา และควบคุมป้องกันการติดเชื้อจากกรมการแพทย์ ทั้งนี้มีการ
คําปรึกษาแก่แพทย์พยาบาลในการรักษาตลอด 24 ชั่วโมง
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั่วประเทศ เพื่อให้มีการเตรียม
ความพร้อมทางห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล- 3 - 
4. การบริหารจัดการ
 4.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ 1. เพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อและอาการสําคัญ 
2. เพิ่มเติมโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ 3. เพิ่มเติมชื่อโรคติดต่ออันตราย 4. ประเทศหรือเมืองที่เป็นเขตติดโรคติดเชื้อ
ไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease - EVD) โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 
 4.2 กรมควบคุมโรค และกระทรวงสาธารณสุข เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และบูรณาการ
การทํางานของทุกหน่วยงานและสั่งการไปยังหน่วยปฏิบัติทั่วประเทศ
 4.3 จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสถานการณ์และความเสี่ยง พร้อมทั้งปรับมาตรการในการป้องกัน
ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาให้เหมาะสม เป็นระยะ
สรุปและข้อเสนอ
1. ปรับมาตรการการเตรียมพร้อมรับมือเหตการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยแบ่งออกเป็น
3 ระยะ คือ 1.พื้นที่ที่ยังไม่พบผู้ป่วย 2. พบผู้เดินทางไปจากประเทศที่มีการระบาด รวมทั้งประเทศที่มี
พรมแดนติดกับพื้นที่ที่มีการระบาด 3. พบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศ
2. กรมควบคุมโรค จัดประชุมคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อมป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่อ
อุบัติใหม่แห่งชาติครั้งที่ 1/2557 ในวันที่ 20 สิงหาคม 2557 เพื่อระดมความร่วมมือจาก
ทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อมรับโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยมีมติที่ประชุมสําคัญ คือ เตรียมความ
พร้อมรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาตามฉากทัศน์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในประเทศ ทั้งขณะที่ยังไม่พบ
ผู้ป่วยในประเทศ พบผู้ป่วยยืนยันในประเทศ และมีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่ที่พบการระบาดของโรค
รวมทั้งประเทศที่มีพรมแดนติดกับพื้นที่ที่พบการระบาด พบการแพร่ระบาดของโรคในประเทศ ซึ่งได้
แต่งตั้งคณะทํางาน 3 คณะ ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อมด้านห้องปฏิบัติการ 2) ระบบการ
บริหารจัดการ 3) ด้านการประชาสัมพันธ์
3. เผยแพร่คําแนะนําผู้เดินทางไปต่างประเทศให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด
4. ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่ในเว็บไซต์ทั้งในระดับกรม และกระทรวง
สาธารณสุข
5. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรโดยจัดการประชุมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข
เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ภายในเดือนสิงหาคม 
6. กระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคเอกชน เพื่อร่วมกันเตรียมความพร้อม
รับมือ 
ติดตามข้อมลขู ่าวสารได้ทเวี่ บไซต ็ ์สานํ ักโรคติดต่ออบุ ัติใหม่กรมควบคมโรค ุ
http://beid.ddc.moph.go.th และสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 
--------------------------------------------------------- 


เข้าชม : 608


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      ประชุมการขับเคลื่อนการนิเทศ และการประกันคุณภาพสถานศึกษาประจำปีงบประมาณ 2563 12 / พ.ค. / 2563
      การขับเคลื่อนศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง กศน.อำเภอวังวิเศษ 5 / มิ.ย. / 2561
      การประชุมประจำสัปดาห์ ในวันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2561 5 / มิ.ย. / 2561
      นางสาวมนธญา แสงสิทธิ์ ผอ.กศน.อำเภอวังวิเศษ พร้อมบุคลากร กศน.อำเภอวังวิเศษ ได้เข้าร่วมประชุม การทำแผนประจำปี 61 ณ.ห้องประชุมกศน.อำเภอวังวิเศษ วันที่ 28 พ.ย 60 29 / พ.ย. / 2560
      กศน.อำเภอวังวิเศษ จัดกิจกรรม \"วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า\" ประจำปี 2560 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ.กศน.อำเภอวังวิเศษ 29 / พ.ย. / 2560




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ถนนเพชรเกษม 16 หมู่ 7 ตำบลวังมะปรางเหนือ  อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โทรศัพท์ 075 - 291743 
โทรสาร 075-291743
nfe 14@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05