[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

ข้อมูลทั่วไปตำบลนาเกลือ 

 

 

     ๑. ประวัติความเป็นมาของตำบลนาเกลือ

จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่าต่อกันมาว่า  มีครอบครัวหนึ่งได้อพยพมาจากไหนไม่ทราบ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านบริเวณท่าเรือบ้านนาเกลือใต้ ครอบครัวนี้เข้ามาบุกเบิกพื้นที่ประกอบอาชีพทำนาข้าว แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมักมีน้ำทะเลท่วมถึงไม่สามารถทำนาได้ เมื่อน้ำในพื้นที่นาลดลง แห้งลง จะปรากฏเกล็ดเกลืออยู่ตามพื้นที่ ดังนั้นบริเวณดังกล่าวนี้ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า "นาเกลือ" จึงเป็นที่มาของตำบลนากลือตลอดมา

 

๒. ที่ตั้ง

ตำบลนาเกลือ  มีเนื้อที่ทั้งหมด  ประมาณ  ๖,๘๗๕  ไร่  หรือ  ๑๐.๙  ตารางกิโลเมตร ตำบลนาเกลือเป็นตำบลหนึ่งใน  ๑๓  ตำบลของอำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง  ห่างจากที่ว่าการอำเภอกันตังมาทางทิศตะวันตกของอำเภอกันตัง  ระยะห่างจากอำเภอกันตังประมาณ  ๒๖  กิโลเมตร

 

      ๓. อาณาเขต

            ตำบลนาเกลือ    มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง  ดังนี้

          ทิศเหนือ           มีอาณาเขตติดต่อกับ  ตำบลบางสัก,  ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

          ทิศใต้             มีอาณาเขตติดต่อกับ  ตำบลเกาะลิบง  อำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง

          ทิศตะวันออก     มีอาณาเขตติดต่อกับ  ตำบลกันตังใต้  อำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง

          ทิศตะวันตก      มีอาณาเขตติดต่อกับ  ตำบลบางสัก  อำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง

 

 ๔. เนื้อที่

ตำบลนาเกลือ  มีเนื้อที่ทั้งหมด  ประมาณ  ๖,๘๗๕  ไร่ 

 

       ๕. ภูมิประเทศ

ตำบลนาเกลือ  มีลักษณะพื้นที่เป็นชายฝั่งทะเลอันดามันซึ่งมีพื้นที่ริมฝั่งทะเลอันดามันและพื้นที่ทั่วไปเป็นเนินเตี้ย ๆ  ราษฎรประกอบอาชีพทำสวนยาง  สวนปาล์ม  และประกอบอาชีพ  การประมง  โดยเฉพาะหมู่ที่  ๑  บ้านหาดทรายขาวมีลักษณะเป็นเกาะ  ต้องสัญจรไปมาทางเรือเป็นส่วนใหญ่  สภาพอากาศโดยทั่วไปเป็นลักษณะภูมิอากาศ  แบ่งเป็น  ๒  ฤดู

 

                   - ฤดูฝน     ประมาณ  ๘  เดือน

                   - ฤดูร้อน    ประมาณ  ๔  เดือน


๑.      การปกครอง    ตำบลนาเกลือ  แบ่งการปกครองออกเป็น  ๖  หมู่บ้าน

                   หมู่ที่  ๑ บ้านหาดทรายขาว

                   หมู่ที่  ๒ บ้านนาเกลือเหนือ

                   หมู่ที่  ๓ บ้านนาเกลือใต้

                   หมู่ที่  ๔ บ้านพระม่วง

                   หมู่ที่  ๕ บ้านท่าโต๊ะเมฆ

                   หมู่ที่  ๖ บ้านแหลมสะท้อน

                         ตำบลนาเกลือ  มีประชากรทั้งสิ้น  ๔,๒๓๗  คน  ดังนี้

 
         ตารางจำแนกประชากรตามหมู่บ้าน  เพศ  และจำนวนครัวเรือน 

หมู่ที่

บ้าน

จำนวนประชากร

จำนวน

กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน

ชาย

หญิง

รวม

ครัวเรือน

บ้านหาดทรายขาว

๑๓๘

๑๓๕

๒๗๓

๗๗

นายเจริญ  แซ่อึ่ง

บ้านนาเกลือเหนือ

๓๓๘

๓๕๒

๖๙๐

๑๘๔

นายมนูญ  ช่อเส้ง

บ้านนาเกลือใต้

๕๐๘

๖๒๒

๑,๑๓๐

๒๔๗

นายวิมล  หลีสู

บ้านพระม่วง

๖๓๐

๖๕๓

๑,๒๕๓

๒๘๔

นายสุนทร   รักษ์หิรัญ

บ้านท่าโต๊ะเมฆ

๒๑๙

๒๒๔

๔๔๓

๙๕

นายปรีชา  หาดเด็น

บ้านแหลมสะท้อน

๒๙๔

๒๖๔

๕๕๘

๑๒๐

นายสิ้ม   หลีเอบ(กำนัน)

รวม

๒,๑๒๗

๒,๑๑๐

๔,๓๗๗

๑,๐๐๗

 

 

หมายเหตุ  ข้อมูลจากงานทะเบียนราษฎร   อำเภอกันตัง   เดือน   เมษายน   พ.ศ. ๒๕๕ การเปลี่ยนแปลงประชากร

 

                            จำนวนประชากรตำบลนาเกลือ  ระหว่าง  พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๕

 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

 (ข้อมูลเดือน ธ.ค.๕๕)

 (ข้อมูลเดือน ธ.ค.๕๕)

 (ข้อมูลเดือน ธ.ค.๕๕)

ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

รวม

(คน)

ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

รวม

 (คน)

ชาย

(คน)

หญิง

 (คน)

รวม

(คน)

๑.

บ้านหาดทรายขาว

๑๓๓

๑๓๖

๒๖๙

๑๓๔

๑๔๑

๒๗๕

๑๓๔

๑๔๐

๒๗๔

๒.

บ้านนาเกลือเหนือ

๓๒๖

๓๔๕

๖๗๑

๓๓๘

๓๔๙

๖๘๗

๓๔๐

๓๕๒

๖๙๒

๓.

บ้านนาเกลือใต้

๕๐๖

๕๑๔

๑,๐๒๐

๕๐๕

๕๑๘

๑,๐๒๓

๕๐๙

๕๒๖

๑,๑๓๐

๔.

บ้านพระม่วง

๖๕๙

๖๒๕

๑,๒๘๔

๖๓๒

๖๐๘

๑,๒๔๐

๖๒๙

๖๐๗

๑,๒๕๓

๕.

บ้านท่าโต๊ะเมฆ

๒๐๕

๒๐๙

๔๑๔

๒๑๗

๒๒๐

๔๓๗

๒๑๙

๒๑๗

๔๓๖

๖.

บ้านแหลมสะท้อน

๒๗๗

๒๕๐

๕๒๗

๒๘๘

๒๖๔

๕๕๒

๒๙๗

๒๖๕

๕๖๒

 

รวม

๒,๑๐๖

๒,๐๗๙

๔,๑๘๕

๒,๑๑๔

๒,๑๐๐

๔,๒๑๔

๒,๑๒๘

๒,๑๐๗

๔,๓๗๗

 






















หมายเหตุ  ข้อมูลจากงานทะเบียนราษฎรอำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง

 

        ๗. สภาพทางเศรษฐกิจ

๗.๑  การประกอบอาชีพ

- ประชาชนตำบลนาเกลือ  มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  รับจ้าง  และประกอบอาชีพ  ๒  อย่าง  ขึ้นไปได้แก่รับจ้าง  และเกษตรกรรม

- ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเพียงอย่างเดียว  มีประมาณร้อยละ  ๖๐  ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบลโดยแบ่งออกเป็น

๑.  อาชีพรับจ้าง  มีประมาณร้อยละ  ๓๐  ได้แก่

๑.๑  งานเกษตรกรรม  เช่น  ทำสวนยาง  ทำสวน  เลี้ยงสัตว์

๑.๒  งานช่างฝีมือ  เช่น  ช่างปูน  ช่างไม้

๒.  อาชีพค้าขาย  ประมาณร้อยละ  ๒๐

ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพมากกว่า  ๑  อาชีพ  มีประมาณร้อยละ  ๕๐  ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบล  ได้แก่  อาชีพ รับจ้างและเกษตรกรรม

 

๗.๒  แรงงาน

- แรงงานที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมในตำบลส่วนใหญ่  ใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือนเป็นสำคัญและในบางครัวเรือนที่มีสมาชิกไม่เพียงพอจะทำการจ้างแรงงานที่มีอยู่ในตำบลมาช่วยในฤดูกาลผลิต

๗.๓  ผลผลิต

- ผลผลิตทางการเกษตรของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลนาเกลือ  มีดังนี้

                   - ยางพารา       ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ            ๒๕๐    กิโลกรัม/ไร่

                   - ปาล์ม           ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ            ๓,๕๐๐  กิโลกรัม/ไร่

          ๗.๔  รายได้

- รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในตำบลนาเกลือ  จำแนกได้ดังนี้

                   - รายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  เฉลี่ยประมาณ  ๒๕,๐๐๐  บาท

                   - รายได้จากการประกอบอาชีพรับจ้างและเกษตรกรรม เฉลี่ยประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท

         ๘. การใช้ที่ดิน

 

ตำบลนาเกลือ  มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๐.๙ ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  ๖,๘๗๕  ไร่  มีการใช้ที่ดิน  แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ  ดังนี้

           ๘.๑  พื้นที่ชุมชน

พื้นที่ชุมชนในตำบลประกอบด้วยที่อยู่อาศัย  พาณิชกรรม  สถาบันการศึกษา  สถาบัน  ศาสนา  และสถานที่ราชการ ประมาณ  ๒,๐๐๐  ไร่บริเวณที่อยู่อาศัยมีการตั้งบ้านเรือนเรียงรายไปตามเส้นทางคมนาคม  ที่ผ่านในหมู่บ้านและกระจายพื้นที่ไปตามพื้นที่ทำกินของแต่ละครัวเรือน  ซึ่งแต่ละครัวเรือนของประชาชนในตำบลมีพื้นที่เฉลี่ยประมาณ  ๒  งาน  เมื่อมีการขยายครัวเรือนเพิ่มขึ้นอีกจะทำการปลูกสร้างบ้านเรือนภายในบริเวณเดียวกัน  นอกจากนี้บางครัวเรือนอาศัยพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับการพาณิชกรรม

๘.๑.๑  การใช้พื้นที่สถาบันการศึกษา  มีโรงเรียนประถมศึกษา  ๓  แห่ง  นอกจากอาคารเรียนแล้วยังมีพื้นที่ว่างในโรงเรียนเป็นสนามกีฬา  และจัดกิจกรรมต่าง ๆ  ดังนี้

                   -  โรงเรียนบ้านนาเกลือ    ตั้งอยู่หมู่ที่  ๓  มีพื้นที่ประมาณ  ๑๐  ไร่

                   -  โรงเรียนบ้านพระม่วง    ตั้งอยู่หมู่ที่  ๔  มีพื้นที่ประมาณ  ๕  ไร่

                   -  โรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆ  ตั้งอยู่หมู่ที่  ๕  มีพื้นที่ประมาณ  ๘  ไร่

๘.๑.๒  การใช้พื้นที่ของสถาบันศาสนา  มัสยิด, สำนักสงฆ์  จำนวน  ๖  แห่ง

                   -  มัสยิด          ตั้งอยู่หมู่ที่    ๓,๔,๕,๖     มีพื้นที่ ประมาณ           ๑๕      ไร่

                   - สำนักสงฆ์      ตั้งอยู่หมู่ที่   ๒,๓           มีพื้นที่ ประมาณ           ๗        ไร่

                   ๘.๑.๓  สถานที่ราชการอื่น ๆ  มี  ๒  แห่ง

                    - สถานีอนามัยตำบลนาเกลือ       ตั้งอยู่หมู่ที่  ๔      มีพื้นที่ประมาณ     ๑     ไร่

                   - สถานีอนามัยบ้านนาเกลือใต้      ตั้งอยู่หมู่ที่  ๓       มีพื้นที่ประมาณ  ๑.๕     ไร่

๘.๒  พื้นที่เกษตรกรรม  พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ปลูกยางพารา

บริเวณพื้นที่เกษตรกรรมของตำบลนาเกลือ  ประมาณ  ๒,๗๕๐  ไร่  ส่วนใหญ่จะปลูกยางพารา  สามารถ  จำแนกพื้นที่ได้ดังนี้

                   -  พื้นที่ปลูกไม้ผล  ไม้ยืนต้น  ยางพารา      ประมาณ         ๒,๐๐๐  ไร่

                   -  พื้นที่ปลูกปาล์ม                             ประมาณ         ๓๐๐    ไร่

                   -  พื้นที่ปลูกพืชไร่  พืชผัก                     ประมาณ         ๕๐      ไร่

                   -  พื้นที่ทำนากุ้ง                               ประมาณ         ๔๐๐    ไร่

            ๘.๓  พื้นที่สาธารณประโยชน์

ตำบลนาเกลือ  มีพื้นที่สาธารณประโยชน์  ประมาณ  ๑,๓๐๐  ไร่  ซึ่งเป็นหนองน้ำ

สระน้ำ  สาธารณประโยชน์

           ๘.๔  พื้นที่อื่น ๆ

 พื้นที่อื่น ๆ  ในตำบลนาเกลือ  เช่น  ที่ว่างเปล่า  แหล่งน้ำ  ลำคลอง  เส้นทางคมนาคมประมาณ  ๒๐  ไร่

 

       ๙. การไฟฟ้า

 

                   - หมู่ที่ ๑                   อัตราการใช้ไฟฟ้า          ร้อยละ  ๙๙

                   - หมู่ที่ ๒                   อัตราการใช้ไฟฟ้า          ร้อยละ  ๙๖

                   - หมู่ที่ ๓                   อัตราการใช้ไฟฟ้า          ร้อยละ  ๘๔.๖๐

                   - หมู่ที่ ๔                   อัตราการใช้ไฟฟ้า          ร้อยละ  ๑๐๐

                   - หมู่ที่ ๕                   อัตราการใช้ไฟฟ้า          ร้อยละ ๙๙

                   - หมู่ที่ ๖                   อัตราการใช้ไฟฟ้า          ร้อยละ ๙๙

 

      ๑๐. แหล่งน้ำธรรมชาติ

 

                             -  ฝั่งแม่น้ำตรังติดทะเลเป็นปากน้ำ

      ๑๑. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

 

                   -  บ่อน้ำตื้น                ๑๐๐              แห่ง

                   -  บ่อโยค                     ๑๑              แห่ง

                   -  ประปาหมู่บ้าน              ๓              แห่ง

                   -  ถังเก็บน้ำ                    ๓              แห่ง

                   -  สระ                          ๔              แห่ง

     ๑๒. มวลชนจัดตั้ง

                   -  ลูกเสือชาวบ้าน  ๑  รุ่น           ประมาณ           ๑๓๐   คน

                   -  อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)   ประมาณ           ๑๒๐   คน

                   -  กลุ่มประมงหมู่บ้าน  ๒  กลุ่ม     ประมาณ             ๔๕    คน

                   -  กองทุนหมู่บ้าน  ๖  กลุ่ม          ประมาณ           ๑๘๐   คน

                   -  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ๖ กลุ่ม ประมาณ           ๓๐   คน

                   -  คณะกรรมการพัฒนาสตรี ๖ กลุ่ม ประมาณ            ๓๐   คน

 


เข้าชม : 1447
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง
ถนนตรังคภูมิ  ตำบลกันตัง  อำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง 92110 โทรศัพท์ 075-252726 โทรสาร 075-252755 

kantang nfe@gmail.com
สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05